วิศวฯ มั่นใจกลับมาทำงานอย่างปลอดภัยจากโควิด-19

ตามที่จุฬาฯ เริ่มผ่อนปรนให้บุคลากรกลับมาทำงาน โดยแบ่งการทำงานเป็น 2 ระยะ
– ระยะแรก วันที่ 4-21 มิถุนายน 2563 บุคลากรทำงานที่สำนักงานเท่าที่จำเป็น ไม่เกินร้อยละ 40
– ระยะที่สอง วันที่ 22-30 มิถุนายน 2563 บุคลากรทำงานที่สำนักงานเท่าที่จำเป็น ไม่เกินร้อยละ 50

คณะวิศวฯ ได้เตรียมพร้อมเพื่อให้บุคลากรทุกท่านกลับมาทำงานอย่างปลอดภัย โดยมีมาตรการ ดังนี้

ก่อนเข้าสำนักงาน (3S)
– Scan QR Code ไทยชนะ ในการเข้า-ออกอาคาร
– Show แสดงผลการประเมินสุขภาพออนไลน์หรือใบรับรองแพทย์
– Screen ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ผู้ใดมีอุณหภูมิเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ไม่อนุญาตให้เข้าภายในอาคาร
– จัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ล้างมือก่อนเข้าทำงาน

ระหว่างการทำงาน
– จัดเตรียม face shield ให้กับบุคลากร (face shield จัดทำโดย รศ. ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ และคณะ)
– จัดทำฉากกั้นโต๊ะ

iCanteen โรงอาหารคณะวิศวฯ (ยังไม่เปิดให้บริการ)
– Scan QR Code ไทยชนะ ในการเข้า-ออก
– จัดทำฉากกั้นร้านอาหาร และโต๊ะอาหาร
– จัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ล้างมือตามจุดต่าง ๆ

ประกาศคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง การขยายเวลาปิดที่ทำการเป็นการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 (ฉบับที่ 3)

ประกาศคณะวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง การขยายเวลาปิดที่ทำการเป็นการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 (ฉบับที่ 3)

คณะวิศวฯ จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะฯ ครบรอบ 107 ปี

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวฯ ครบรอบ 107 ปี ในช่วงเช้าได้มีพิธีทำบุญถวายสังฆทาน เครื่องจตุปัจจัยไทยธรรม และถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์จำนวน 9 รูป โดยมี ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีเป็นประธานในพิธี

ในช่วงบ่าย ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร นิสิตเก่า และบุคลากรคณะวิศวฯ ได้นำข้าวสารและถุงปันน้ำใจซึ่งประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคไปมอบให้กับชุมชนจุฬานิวาส ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19

บันทึกความทรงจำในการทำงานร่วมกันภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ด้วยความใส่ใจ ฉบับที่ 2 : ผลงานนวัตกรรมจากคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในช่วงสถานการณ์ COVID-19

บทความ : วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสีกับโรคระบาดโควิด-19 (Nuclear and Radiological Engineering with COVID-19 Pandemic)

บทความ : วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสีกับโรคระบาดโควิด-19 (Nuclear and Radiological Engineering with COVID-19 Pandemic)

โดย ผศ. ดร.พรรณี แสงแก้ว อ. ดร.มนัสวี เลาะวิธี ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ อ. ดร.ทวีป แสงแห่งธรรม ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

คณะวิศวฯ ร่วมทดสอบการใช้งานรถความดันบวก CU กองหนุน ณ โรงแรมที่เป็นสถานที่ทำ state quarantine

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 นพ.เอนก มุ่งอ้อมกลาง ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง พร้อมด้วย ผศ. ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และทีมงาน ได้เข้าไปทดสอบการใช้งานรถความดันบวก CU กองหนุน ณ โรงแรมที่เป็นสถานที่ทำ state quarantine เพื่อพัฒนา protocol มาตรฐานไว้สำหรับการทำ swab ใน state quarantine ต่อไป

myCourseVille เปิดฟังก์ชันห้องสอบออนไลน์

myCourseVille เปิดฟังก์ชันห้องสอบออนไลน์

อำนวยความสะดวกในการจัดสอบออนไลน์ ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

– อำนวยความสะดวกในการสื่อสาร
– สามารถแจกข้อสอบได้หลายชุด พร้อมสุ่มชุดข้อสอบ สุ่มลำดับข้อ และสุ่มตัวเลือก
– monitor สถานะการสอบออนไลน์

ทั้งนี้ myCourseVille เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยในการสนับสนุนการจัดสอบทางออนไลน์เท่านั้น สำหรับรายละเอียดความเหมาะสมของวิธีการสอบ และการวัดประสิทธิผลในการสอบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบรายละเอียดการสอบของผู้สอนเป็นสำคัญ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางอินบ๊อกซ์ที่ Facebook page: https://www.facebook.com/mycourseville/

ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตวิศวฯ ร่วมตอบแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2562

ขอเชิญคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตวิศวฯ ร่วมตอบแบบสำรวจความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2562

Satisfaction survey in Academic Year 2019

https://forms.gle/Y5XiAmbaVJcm7BtM7

เริ่มดำเนินการในวันที่ 16 มีนาคม 2563 ขยายเวลาถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ขยายเวลาการปิดที่ทำการเป็นการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 (ฉบับที่ 2)

ตามที่มหาวิทยาลัยได้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การปิดที่ทำการเป็นการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ขยายเวลาการปิดที่ทำการเป็นการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การปิดที่ทำการที่ตั้งนอกเขตกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ นั้น

เนื่องจากรัฐบาลได้มีประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ ๑) ลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ และประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ลงวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้บรรดาข้อกำหนด  ประกาศ  และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้นและประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ประกอบกับนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ให้บรรดาประกาศหรือคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองที่ได้ประกาศหรือสั่งไว้ก่อนวันที่ข้อกำหนดใช้บังคับไม่ว่าจะเป็นการห้าม การให้กระทำ หรือการผ่อนคลายใด ๆ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเช่นเดิมจนกว่าจะได้มีข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ฉะนั้น มหาวิทยาลัยจึงให้ขยายเวลาการปิดที่ทำการที่ตั้งทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและนอกเขตกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวจนถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และขอให้บุคลากรปฏิบัติตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การปิดที่ทำการเป็นการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ต่อไป

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ประกาศ ณ วันที่  ๓๐  เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓

(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์)

อธิการบดี

บทความ : การฆ่าเชื้อบนหน้ากาก N95 เพื่อใช้ซ้ำ

บทความ : การฆ่าเชื้อบนหน้ากาก N95 เพื่อใช้ซ้ำ

โดย อาจารย์ ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์ อรุณ สรเทศน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาวน์โหลดบทความ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า