FACULTY

ทำเนียบ “ศักดิ์อินทาเนีย” : ดร.จิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย เป็นผู้อุทิศตนเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดกับนิสิต และส่วนรวมอย่างเต็มความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทำสื่อการเรียนการสอน เอกสารประกอบการสอน เอกสารคำสอน และหนังสือแบบฝึกหัดในวิชาเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้นและวิชากลศาสตร์การแตกหัก เป็นผู้มีความสามารถในการสอน ถ่ายทอดความรู้ เกื้อหนุนผู้เรียนให้เกิดความรู้ และมีผลงานด้านการสอนดีเด่น เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดีเยี่ยมเป็นที่ประจักษ์แก่วงวิชาการและสังคมทั่วไป

ตำแหน่ง    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8
สังกัด        ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
เริ่มปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ    28 พฤศจิกายน 2539
ประวัติการศึกษา

พ.ศ. 2536 วศ.บ. (เครื่องกล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2539 วศ.ม. (เครื่องกล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2543 D.Eng., The University of Tokyo, Japan

ผลงานด้านการเรียนการสอน
  • สไลด์เพาเวอร์พอยต์ประกอบการสอนวิชาเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้น จำนวน 13 บท (http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~kjirapon/)
  • หนังสือแบบฝึกหัดวิชาเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้น (Fundamental Engineering Drawing : A Workbook) สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 214 หน้า
  • เอกสารประกอบคำสอน วิชา กลศาสตร์การแตกหัก (Fracture Mechanics) จำนวน 450 หน้า “เริ่มเรียนเขียนโปรแกรม : ฉบับวาจาจาวา” , สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
ผลงานด้านวิจัย
  • จิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย ประสบการณ์การปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาเขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้น, การสัมมนาทางวิชาการ วิศวศึกษาครั้งที่ 5, 3-5 พฤษภาคม 2550, พัทยา.
  • ทรงพล เพิ่มทรัพย์ และจิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย การพัฒนาโปรแกรมควบคุมการทดสอบอัตราการเติบโตของรอยร้าวล้า,การประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21, 17-19 ตุลาคม 2550, ชลบุรี.
  • Jirapong Kasivitamnuay J-Integral Estimation for a Semi-Elliptical Surface Crack in Round Bar under Tension. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22, 15-17 ตุลาคม 2551, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต.
  • Jirapong Kasivitamnuay A creep-fatigue damage model in air environment of 2.25Cr-1Mo steel. The Joint Symposium between National Science and Technology Development Agency (NSTDA) and Nagaoka University of Technology (NUT), 22 May 2009.
เคล็ดลับความสำเร็จ / ความนัยจากใจเกี่ยวกับรางวัลนี้

ความตั้งใจที่จะสอนให้ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสอน ถ้าหากข้อความนี้ไม่จริงแล้ว เราก็คงไม่เคยเห็นอาจารย์รุ่นพี่ที่ตั้งใจสอน เพราะเทคโนโลยีการสอนในยุคนั้นเทียบไม่ได้เลยกับทางเลือกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีการสอนนั้นเป็นเครื่องมือสนับสนุนความตั้งใจ เพราะว่ามันช่วยเพิ่มโอกาสที่จะทำให้การสอนดีขึ้น “หากตั้งใจจะสอนให้ดี แต่ยังสอนได้ไม่ดี” ก็ถือว่ามีคุณค่าสูงกว่า “การสอนไปตามหน้าที่” แล้ว นอกจากนี้ ผลตอบแทนจากการสอนที่ดีคือ “ความสุข” ที่ได้ทำให้ผู้เรียนพัฒนาทั้งด้านความรู้ ความคิด (และอาจจิตใจด้วย)