FACULTY

ทำเนียบ “ศักดิ์อินทาเนีย” : รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ลีลารัศมี

รองศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย ลีลารัศมี ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าภาควิชาฝ่ายกิจการนิสิต และหัวหน้าอาจารย์ที่ปรึกษาของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง นานกว่า 10 ปี เป็นผู้อุทิศตนให้กับการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษานิสิตมาโดยตลอดชีวิตการทำงาน ให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่นิสิตมาโดยตลอด ไม่เคยปฏิเสธ และพร้อมที่จะทุ่มเทโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ในทุกด้านและในเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับนิสิต เป็นที่พึ่งของนิสิตในการให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มโครงการ และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมต่าง ๆ อันเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้นิสิตในการดำเนินชีวิต และการอุทิศตนต่อสังคม

ตำแหน่ง    รองศาสตราจารย์ A-3
สังกัด         ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
เริ่มปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ   18 มิถุนายน 2517
ประวัติการศึกษา   

พ.ศ. 2517 วศ.บ.(ไฟฟ้า) (เกียรตินิยมอันดับ 1 ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2521 M.Sc. (Electrical Eng.) Univ. of California, Berkeley, U.S.A.
พ.ศ. 2525 Ph.D. (Electrical Eng.) Univ. of California, Berkeley, U.S.A.

ผลงานด้านการเรียนการสอน
  • เอกสารประกอบการสอน วิชา 2140202 Electrical and Circuit Lab (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวน 8 เรื่อง
ผลงานด้านวิจัย
  • Panuwat Dan-klang and Ekachai Leelarasmee, “Transient Simulation of Voltage and Current Distributions within Transmission Lines”, IEICE Transactions on Fundamentals of Electronics, Communications and Computer Sciences (IEICE Journal), Vol. E92-C, No.4,pp, April 2009
  • Panuwat Dan-klang and Ekachai Leelarasmee, “Simulation of Voltage and Current Distributions in Transmission Lines using State Variables and Exponential Approximation”, Information, Telecommunications & Electronics (ETRI Journal), Volume 31 – Number 1 – February 2009, ISSN 1225-6463, page 42 – 50
  • Torkiat Taithongchai and Ekachai Leelarasmee, “A Wireless Video Surveillance using GPRS and powered by harvested electromagnetic field”, ICESIT 2009, Pattaya Thailand, Feb. 11-13, 2009
  • Kanitpong Pengwon and Ekachai Leelarasmee ,“A Quadrature Generator Based on CMOS Triangular-to-Sine/Cosine Converter with ? Frequency Output”, IEEE International Conference on Circuits & Systems for communications [ICCSC 2008], 26 – 28 May 2008
  • Ekachai Leelarasmee, “A TV Image Expander for the Deaf”, International Convention on Rehabilitation Engineering & Assistive Technology 2008 (ICREATE 2008), Bangkok Thailand, 13 – 15 May 2008
  • Panuwat Dan-klang and Ekachai Leelarasmee, ““Transient Simulation of Coupled Transmission Lines based on Piecewise Exponential Approximation of Voltage and Current Distributions”, Asia-Pacific Microwave Conference (APMC 2007), Bangkok Thailand , December 11 – 14, 2007
  • Ekachai Leelarasmee and Wanchalerm Pora, “An Automatic TOU Meter Reading using ZigBee”, International Conference on Telecommunication, Industry and Regulatory Development (ICTIR 2007), Bangkok Thailand, August 19 – 21, 2007
  • Kobkaew Opasjumruskit, Apisak Worapishet and Ekachai Leelarasmee, “A Design of CMOS Class-AB Differential Log-Companding Amplifier”, ECTI-CON 2007, Mae Fah Luang University, Chiang Rai, THAILAND, May 9 – 12, 2007
  • Kanitpong Pengwon and Ekachai Leelarasmee, “A Modified CMOS Differential-Pair-Based Triangular-and-Trapezoidal to-Sine”, ECTI-CON 2007, Mae Fah Luang University, Chiang Rai, THAILAND, May 9 – 12, 2007
  • Ekachai Leelarasmee and Wanchalerm Pora, “CU-NEC Energy Meter with Secure RF AMR”(Poster), Microelectronics and Embedded Systems Workshop MES 2007, UK Singapore, January 23 – 24, 2007, The Biopolis, Singapore
  • Weerayut Amphaiwikrai, Ekachai Leelarasmee and Boonchuay Suphmonchai,”A 10 Gb/s MCML Multiplexer/Demultiplexer for High Speed Communication”, ECTI-CON 2006, May 10 -13, 2006, Ubon Ratchathani, THAILAND
  • Ohmmarin Sathusen and Ekachai Leelarasmee,”A Low-Voltage and Low-Power Digital Temperature Sensor Unit for RFID Chip”, ECTI-CON 2006, May 10 -13, 2006, Ubon Ratchathani, THAILAND
  • Prapto Nugroho, Ekachai Leelarasmee and Nobuo Fujii, “Tuning Analysis of a CMOS Current Controlled Ring Oscillator”, ITC-CSCC 2006, 10 – 13 July, 2006, Chiang Mai, THAILAND
ผลงานด้านกิจการนิสิต
  • อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมวิศวกรรมไฟฟ้า
  • จัดปฐมนิเทศและทัศนศึกษาดูงานให้ความรู้แก่นิสิต
  • จัดปัจฉิมนิเทศแนะนำการศึกษาต่อ และการทำงานให้แก่นิสิตที่กำลังสำเร็จการศึกษา
  • อาจารย์ที่ปรึกษาค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ (E-Camp)
ผลงานด้านบริหาร
  • 2546 – ปัจจุบัน รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ฝ่ายกิจการนิสิต ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • 2550 – ปัจจุบัน อุปนายก สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเลคโทรนิคส์แห่งประเทศไทย
  • 2550 – 2551 รองผู้อำนวยการ สำนักบริหารหลักสูตรนานาชาติวิศวกรรม จุฬาฯ
รางวัลที่เคยได้รับ
  • รางวัล IEEE R10 Outstanding Volunteer Award 2006 จาก IEEE R10 Director Dr. Janina Mazierska ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2550 ที่ประเทศมาเลเซีย, วันที่ 24 – 25 มีนาคม 2550
  • รางวัลบุคคลดีเด่นที่สนับสนุนงานด้านคนพิการ ประจำปี 2549 จัดโดย สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ, วันที่ 1 ธันวาคม 2549
  • รางวัลอาจารย์ดีเด่น ระดับมหาวิทยาลัย สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2547 โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วันที่ 25 มีนาคม 2548
  • “ระบบการอ่านมิเตอร์แบบอัตโนมัติโดยใช้แสงอินฟราเรดหรือสายโทรศัพท์”, ร่วมกับ ผศ.ดร. วันเฉลิม โปรา และคณะวิจัย รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2548 (รางวัลชมเชย), สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • “ระบบวีดีทัศน์ที่ซ่อนคำบรรยายภาพภาษาไทยและอังกฤษเพื่อคนหูหนวก”, รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2545 (รางวัลชมเชย), สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • “ระบบอ่านออกเสียงภาษาไทยด้วยคอมพิวเตอร์”,ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประจำปี 2541 (รางวัลชมเชย), สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • “ชิพจุฬา-เทเลเท็กซต์ เวอร์ชั่น 1” , สิ่งประดิษฐ์ประเภทฮาร์ดแวร์ รางวัลชมเชย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2538
  • “เครื่องถอดรหัสเทเลเท็กซต์ไทย – อังกฤษ” , สิ่งประดิษฐ์ประเภทฮาร์ดแวร์ รางวัลที่ 2, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
  • “เล็ก 6.0:ซอฟต์แวร์วิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์” , สิ่งประดิษฐ์ประเภทซอฟต์แวร์รางวัลที่ 3, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
  • “เล็ก 5.0:ซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์เชิงเส้นแบบท่อนทั่วไป” , ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประจำปี 2531 รางวัลชมเชย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • “ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับวิเคราะห์ผลตอบสนองเชิงความถี่ของวงจรไฟฟ้าเชิงเส้นทั่วไป” , ผลงานวิจัยคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประจำปี 2528 รางวัลที่ 3, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • “The Waveform Relaxation Method for Time-Domain Analysis of large Integrated Circuits”, Guillemin-Cauer Prize Paper Award for Best Paper, IEEE Circuits and Systems , 2525
  • “RELAX:An MOS Simulator for large Scale Digital Integrated Circuits”, Design Automation Conferrence Best Paper Award, IEEE/ACM Society ,2525
เคล็ดลับความสำเร็จ / ความนัยจากใจเกี่ยวกับรางวัลนี้
  • รับฟังความเห็นของนิสิต
  • สนับสนุนกิจกรรมนิสิตในทางสร้างสรร
  • จัดสถานที่ให้นิสิตได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • ทำงานด้านกิจกรรมนิสิตนายหลายปี นิสิตให้ความคุ้นเคยและเป็นกันเอง