วิศวฯ จุฬาฯ คิดหลักสูตรวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี แก้ปัญหาบุคลากรขาดแคลนทั้งระดับประเทศและนานาชาติ พร้อมตอบสนองนโยบายประเทศไทย 4.0 พัฒนาเกษตรกรรม-สาธารณสุข-อุตสาหกรรม

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี ตอบสนองการขาดแคลนความต้องการบุคลากรด้านนิวเคลียร์ในระดับประเทศและนานาชาติ พร้อมเล็งเห็นความสำคัญเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้การพัฒนาประเทศไทยตามหลักนโยบาย ประเทศไทย 4.0’ ทั้งด้านเกษตรกรรม-สาธารณสุข-อุตสาหกรรม

รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันพลังงานนิวเคลียร์ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถนำมาใช้ประโยชน์นทุกด้านของการดำรงชีวิต ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ด้านการผลิตไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะไม่ทราบถึงประโยชน์ในด้านอื่น ๆ มาก่อน เช่น การตรวจรักษาผู้ป่วย เพิ่มผลผลิตทางอาหาร การควบคุม การตรวจสอบและสำรวจนกิจกรรมของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอีกด้วย ทั้งนี้หลาย ๆ คนอาจจะมองว่าไม่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ แต่ในทางกลับกันเรื่องนิวเคลียร์กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในปัจจุบันของการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์นทางสันติ และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อโลกของเราอย่างแน่นอน

ยกตัวอย่าง ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งประเทศได้นำเทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสีมาช้ในทางการแพทย์เพื่อตรวจรักษาผู้ป่วยมานานกว่า 60 ปีแล้ว ทั้งนี้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ทางการแพทย์มีการพัฒนา ส่งผลให้ตรวจวินิจฉัยโรคมีความถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น โดยที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปก็คือ การฉายรังสีเอ็กซ์ (X-ray) ด้านการเกษตรกรรมและอาหาร มีบทบาทในการช่วยเหลือเกษตรกร คือ การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยรังสีให้ได้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์การเกษตรได้โดยไม่มีการตัดต่อหรือนำยีนจากภายนอกเข้าไป การถนอมเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ โดยการฉายรังสี ด้านอุตสาหกรรม มีบทบาทในการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม เช่น มาตรวัดของเหลวด้วยรังสีในโรงงานอุตสาหกรรมหลอมโลหะ ด้านการผลิตไฟฟ้า การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์นั้น ถูกพัฒนาการใช้งานมาแล้วกว่า 60 ปี ขณะที่ทั่วโลก(ข้อมูล ณ 30 มี.ค.60) มีโรงงานไฟฟ้านอวเคลียร์เดินเครื่องอยู่ 449 โรง 30 ประเทศ และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 60 โรง โดยกำลังก่อสร้างในประเทศจีนมากที่สุด 20 โรง โดยกลุ่มประเทศเศรษฐกิจ หรือ G8 ประกอบด้วย แคนาดา ฝรั่งเศส  เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น รัสเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกลุ่มที่คุมเศรษฐกิจโลกถึง 64 % นั้นใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อการผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ เพราะข้อดีของการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์คือ การตอบสนองความต้องการการใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการความเสถียรในกระบวนการผลิต ด้านสิ่งแวดล้อม สามารถช่วยในการรักษา ตรวจตรา และพัฒนาสภาพของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่น ระบบเฝ้าระวังเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี การใช้รังสีแกมมาฆ่าเชื้อโรคในขยะและตะกอน แล้วนำกลับมาทำเป็นปุ๋ยต่อไป การใช้เทคนิคสารติดตามทางรังสีศึกษามลภาวะในสิ่งแวดล้อมการวัดปริมาณรังสีในสิ่งแวดล้อม ทั้งที่อยู่อาศัย และสถานที่ทำงาน ซึ่งทั่วโลกได้มีการใช้ประโยชน์ดังกล่าวจากพลังงานนิวเคลียร์และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

สำหรับการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในไทย รศ. ดร.สุพจน์ กล่าวว่า ประเทศไทยยังไม่มีการก่อตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ แต่มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย โดยตั้งอยู่ที่บางเขน ใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาตั้งแต่ พ.ศ.2504 ถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการสร้างประโชยน์ต่อประเทศชาติในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการแพทย์ การเกษตร อุตสาหกรรม การศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังที่กล่าวมาข้างต้น

อย่างไรก็ตามความต้องการบุคลากรด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์ของประเทศไทยยังมีความต้องการที่สูง เนื่องจากเครื่องด้านรังสีทางการแพทย์มีแนวโน้มการนำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุที่ประชากรในไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความต้องการเครื่องมือที่มาช่วยในการผลิตเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม ที่มีระบบควบคุมที่ใช้เทคนิคนิวเคลียร์ในงานอุตสาหกรรมการเจาะสำรวจปิโตรเลียม ระบบตรวจสอบ ระบบตรวจสอบ NDT ระบบวัดนิวเคลียร์ด้านความมั่นคงปลอดภัย เครื่องมือวิเคราะห์นระบบปฏิบัติการ เช่น เทคนิคการเรืองรังสีเอ็กซ์ (XRF) เครื่องฉายรังสี ระบบเครื่องเร่งอนุภาคด้านงานวิจัยอุตสาหกรรม ซึ่งการใช้งานเครื่องเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจเช็คความแม่นยำเป็นประจำ โดยที่ผ่านมาผู้ที่ทำการดูแลและซ่อมบำรุงส่วนใหญ่จะเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ นอกจากนี้อุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกกำลังขาดแคลนบุคลากรในการทำงาน ดังนั้นการผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้วิศวฯ จุฬาฯ มีแนวคิดในการพัฒนาและผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี เพื่อตอบสนองการขาดแคลนบุคลากรด้านนี้ให้ระดับประเทศและนานาชาติด้วย เพื่อช่วยพัฒนาการใช้งานด้านพลังงานนิวเคลียร์และรังสี อย่างปลอดภัยและถูกต้อง รวมถึงเป็นมิตรต่อสังคมด้วย ทำให้ประชากรของสังคมมีความมั่นใจในความปลอดภัยกับการใช้งานด้านนิวเคลียร์และรังสีมากขึ้น ขณะนี้ทางวิศวฯ จุฬาฯ ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี  ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกนักเรียนเข้ารับการศึกษาในปีการศึกษาปี 2560 เป็นรุ่นแรก โดยจุดเด่นของหลักสูตรดังกล่าวจะเป็นหลักสูตรแรกที่เปิดสอนด้านนี้ รวมถึงเป็นหลักสูตรแรกที่ครอบคลุมทุกศาสตร์สาขาของหลักสูตรวิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสีในแถบประเทศในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนด้วย โดยการพัฒนามีรายวิชาครบถ้วนเช่นเดียวกับหลักสูตรสาขาวิชานี้ของมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ เช่น   International Atomic Energy Agency (IAEA)

ส่วนมุมมองของวิศวฯ จุฬาฯ ต่อการพัฒนาประเทศไทยด้วยวิศวกรรมนิวเคลียร์นั้น รศ. ดร.สุพจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เทคโนโลยีนิวเคลียร์และรังสี สามารถประยุกต์ช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในกลุ่มต่าง ๆ และถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาประเทศไทยตามหลักนโยบาย ‘ประเทศไทย 4.0’ ได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในด้านช่วยสนับสนุนกระบวนการผลิตหรือสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กลุ่มอุตสาหกรรม 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มอาหาร การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture and Biotechnology) ตัวอย่างการใช้ประโยชน์หลัก ๆ เช่น การฉายรังสีเพื่อพัฒนาพันธุกรรมพืช การปรับปรุงพันธ์ข้าวด้วยการฉายรังสีจนได้สายพันธ์ข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก การปรับปรุงดอกไม้ต่าง ๆ ทำให้ได้ดอกไม้นั้นมีสีสันต์สดใสสวยงามและแปลกใหม่ เป็นต้น 2.กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness & Bio – Med) ตัวอย่างการใช้ประโยชน์หลัก ๆ เช่น การใช้รังสีรักษาทางการแพทย์ โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งมากกว่า 10 ล้านคนต่อปี ซึ่งผู้ป่วยมีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางเพิ่มขึ้นสูงในประเทศ ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีคุณภาพในราคาที่ถูกลง 3.อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics) ตัวอย่างการใช้ประโยชน์หลัก ๆ เช่น การตรวจวัดและควบคุมโดยเทคนิคนิวเคลียร์ในโรงงานอุตสาหกรรม การผลิตใยสังเคราะห์ กระดาษ กระเบื้อง แผ่นเหล็ก เป็นต้น และ 4.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services) ตัวอย่างการใช้ประโยชน์หลัก ๆ เช่น การใช้รังสีในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ ได้แก่ ไม้ ยาง

“นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอีกข้อหนึ่ง หากประเทศไทยต้องการที่จะพัฒนาในทุก ๆ กลุ่มอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดความต้องการไฟฟ้าในปริมาณที่มากยิ่งขึ้น ซึ่งพลังงานจากนิวเคลียร์ก็นับเป็นพลังงานพื้นฐานที่ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกยังเลือกที่จะใช้อยู่เพราะความสามารถในการผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องด้วยต้นทุนต่ำ วิศวกรรมนิวเคลียร์จึงนับว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาของประเทศไทยในอนาคต” รศ. ดร.สุพจน์กล่าวสรุป