กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่พลเมืองแห่งอนาคต: SID” ตอน:หุ่นยนต์ THAILAND 4.0

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่พลเมืองแห่งอนาคต: SID” ตอน : หุ่นยนต์ THAILAND 4.0

สนับสนุนโดยศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรม โครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (Siam Innovation District: SID)

ณ อาคารสยามสแควร์วัน สยามสแควร์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ

 

 

กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ “นวัตกรรมการเรียนรู้ สู่พลเมืองแห่งอนาคต: SID” ตอน:หุ่นยนต์ THAILAND 4.0 เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้บูรณาการความรู้ ทักษะ ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้สื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง มุ่งเน้นทักษะในการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา ตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบ STEM โดยวิทยากรจากที่มีความรู้ความสามารถจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ ทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทีมหุ่นยนต์ มจพ. โดยในกิจกรรมครั้งนี้ได้กำหนดแนวทางการเรียนรู้ ดังนี้

  1. นักเรียนแต่ละกลุ่มจะแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มย่อย โดยนักเรียนในแต่ละกลุ่มย่อยจะแบ่งหน้าที่ในการเรียนที่แตกต่างกัน เช่น หน้าที่ในการประกอบหุ่นยนต์ หน้าที่ในการพัฒนาโปรแกรม,หน้าที่ในการออกแบบและวิเคราะห์ เป็นต้น โดยแต่ละกลุ่มจะมีผู้ช่วยวิทยากรประจำกลุ่มคอยให้ความรู้และคำแนะนำ
  2. การฝึกทักษะในแต่ละวัน จะมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ในภาคทฤษฏีกับทุกกลุ่ม และผู้กำกับดูแลการเรียนการสอนโดยรวมของทุกกลุ่ม
  3. การเรียนแต่ละกลุ่มจะได้รับความรู้โจทย์ปัญหา และสถานการณ์จำลอง ตามหลักการ STEM ให้ช่วยกันสร้างหุ่นยนต์เพื่อแก้ปัญหาตามที่กำหนด โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มคอยให้ความรู้และสอนเทคนิคต่างๆ ในการเรียนรู้
  4. ผู้เรียนจะต้องทำ Pre-test และ Post-test และการทำแบบประเมินการเข้าอบรมฯ เพื่อการประเมินผลการจัดอบรม และเป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อ ๆ ไป

วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้

  1. เพื่อให้ความรู้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และกระบวนการทางวิศวกรรม แก่ นักเรียน นักศึกษา ครู นวัตกร ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม นักลงทุน และประชาชนทั่วไป
  2. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเป็นนักประดิษฐ์ นักพัฒนา สร้างสรรค์ผลงานและเอาชนะอุปสรรค มีความมั่นใจในการพัฒนาตนเอง และสามารถพัฒนาตนเองจนสามารถเป็นตัวแทนโรงเรียนในการแข่งขันหุ่นยนต์ทั้งในและต่างประเทศต่อไป
  3. เพื่อสร้างนวัตกรรม การเรียนรู้แบบปฎิบัติจริง ส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างแรงบันดาล ใจ ด้านนวัตกรรมแก่พลเมืองไทยและนานาชาติ
  4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้สร้างชิ้นงานที่เป็นเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจของตนเองได้
  5. เพื่อขยายผลงานนวัตกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีหุ่นยนต์

ระยะเวลาในการเรียน  เสาร์-อาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.30 น. (2 วัน)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนเรียนรู้เข้าใจเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และกระบวนการทางวิศวกรรม
  2. นักเรียนที่มีประสบการณ์ก่อนค่ายได้ทักษะสูงขึ้น และมีความมั่นใจในการพัฒนาตนเอง
  3. สร้างแรงจูงใจในการเป็นนักประดิษฐ์ นักพัฒนา สร้างสรรค์ผลงานและเอาชนะอุปสรรค และสร้างตัวแทนโรงเรียนในการแข่งขันหุ่นยนต์ทั้งในและต่างประเทศต่อไป
  4. เสริมทักษะการทำงานร่วมกัน การมีน้ำใจนักกีฬา และเตรียมพร้อมในการแข่งขัน
  5. สร้างทางเลือกในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และเปลี่ยนการเล่นให้เป็นการเรียนรู้

 

หลักสูตร เนื้อหาและกิจกรรม

STEM Robotics

Science

  • Energy conversion
  • Friction
  • Designing solutions based on criteria and constraints

Technology

  • Problem-solving
  • Systems thinking
  • Troubleshooting

Engineering

  • Engineering design
  • Prototyping
  • Testing and evaluating a solution

Math

  • Measurements
  • Calculating speed

 

หลักสูตรที่แบ่งตามระดับการเรียนรู้ :

  1. หุ่นยนต์ยานไฟฟ้า/ประถมปลาย: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21และการศึกษาแบบ STEM หุ่นยนต์ที่เน้นประกอบวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย ที่ออกมาในรูปของยานยนต์ไฟฟ้า และยังประกอบหุ่นยนต์พื้นฐานที่บังคับมือ
  2. หุ่นยนต์ขนส่งลำเลียง/มัธยมต้น: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการศึกษาแบบ STEM การเรียนรู้พื้นฐานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์บังคับมือที่ต้องลงอุปกรณ์เอง ทดสอบการขับเคลื่อนและการประกอบหุ่นยนต์พื้นฐานที่วิ่งตามเส้นแบบวงจรไฟฟ้า
  3. หุ่นยนต์สำรวจพื้น ใช้โปรแกรม Arduino)/ มัธยมปลาย : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการศึกษาแบบ STEM หุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยโปรแกรม และการสั่งงานผ่าน Arduino มีความเป็นอัตโนมัติและสามารถตัดสินใจเองได้
  4. หุ่นยนต์อัฉริยะรักษาความปลอดภัย (Arduino)/ อาชีวะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการศึกษาแบบ STEM
  5. หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม โปรแกรมด้วย LabVIEW/ นักศึกษาและบุคคลทั่วไป นโยบายอุตสาหกรรม THAILAND 4.0
  6. หุ่นยนต์นวัตกรรมเชื่อมโยงระบบอัตโนมัติ (LABVIEW + Arduino)/ นักศึกษาและบุคคลทั่วไป นโยบายอุตสาหกรรม THAILAND 4.0

 

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่  ภารกิจยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โทร. 02 218 6382  E-mail: ids.cu.eng@gmail.com

 

ลงทะเบียนสมัครได้ที่ :

นักเรียนประถมและมัธยม    https://goo.gl/forms/OpIJOSmqYcEMXEGN2

นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรอุตสาหกรรม  https://goo.gl/forms/NlSn1mH4vU8d5xat2

 

 

ไฟล์แนบ
 
ไฟล์
ขนาด
ไฟล์
1
ตารางกิจกรรมอบรม SID
650kB