วิศวฯ จุฬาฯ ในสื่อ : วิศวฯ และ แพทย์ จุฬาฯ ผนึก AIS นํา 5G เสริมขีดสามารถหุ่นยนต์อัจฉริยะ เฝ้าระวังเชื้อไวรัส โควิด-19 ครั้งแรกของเมืองไทย

จากสถานการณ์ เชื้อไวรัสโควิด-19 บุคลากรทางการแพทย์เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ถูกเฝ้าระวังและผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมสถานการณ์ในประเทศไทย ตลอด 24 ชั่วโมง คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมถึง AIS เล็งเห็นถึงความสําคัญของพวกเขาเหล่านั้น จึงร่วมพัฒนาเพื่อนําเทคโนโลยี 5G และ 4G มาช่วยเสริมขีดความสามารถการทํางานของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ซึ่งคิดค้นและพัฒนาจาก ฝีมือคนไทย

โดย ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจําภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotics Technology / ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ ผู้อํานวยการศูนย์เชี่ยวชาญครบวงจรโรคหลอดเลือดสมอง / ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นํามาใช้ติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์นี้ เริ่มต้นได้คิดค้นด้วยจุดมุ่งหวังในการสร้างนวัตกรรมเพื่อนํามายกระดับ การให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งแพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องสัมผัสหรืออยู่ใกล้ผู้ป่วย ด้วยการรักษา และให้คําปรึกษาผ่านทางไกลผ่านระบบ Telemedicine ที่ตัวหุ่นยนต์ เพื่อขยายขีดความสามารถในการดูแล และรักษา เมื่อมีปัญหา เชื้อไวรัสโควิต-19

ขอบคุณที่มาจาก MThai

https://news.mthai.com/special-report/796911.html/amp?__twitter_impression=true

#วิศวจุฬาในสื่อ