ABOUT

สิ่งอำนวยความสะดวก

ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์
ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 3 ให้การบริการทางด้านวิชาการ สนับสนุนการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนถึงงานวิจัยขั้นสูงของนิสิตปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก อาจารย์ นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ ศิษย์เก่าคณะฯ และผู้สนใจทั้งภายใน และภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ห้องสมุดฯ มีบริการให้ยืมหนังสือเรียน หนังสืออ่านประกอบการเรียน วารสาร (Journal) วิทยานิพนธ์ (Thesis) สิ่งพิมพ์ต่างๆ สื่อวีดีทัศน์ ไมโครฟิช และเทปบันทึกเสียง นิสิตสามารถค้นคว้าหาข้อมูลผ่านฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงห้องสมุดต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน
ในปัจจุบันเฉพาะห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นก็มีจำนวนหนังสือ ตำรา กว่า 60,000 เล่ม รวมถึงวารสารวิชาการมากกว่า 100 หัวเรื่อง นอกจากนั้นภาควิชาต่างๆ หลายภาควิชายังมีห้องสมุดเฉพาะทางของตนเองอีกด้วย
%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%94
เว็บไซต์ห้องสมุดคณะฯ: http://www.library.eng.chula.ac.th/
ศูนย์คอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์

ศูนย์คอมพิวเตอร์ (หรือ ในชื่ออย่างเป็นทางการว่า ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 โดยเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาการศึกษา การวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทางศูนย์เริ่มต้นขึ้นมาจากการมุ่งเน้นที่การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านงานออกแบบทางวิศวกรรม (CAD) เป็นหลัก ในปัจจุบัน ศูนย์คอมพิวเตอร์ นอกจากจะให้บริการด้านคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนด้านการเรียนการสอน และ การวิจัยต่างๆ ภายในคณะแล้ว ยังเป็นผู้ให้บริการระบบเครือข่าย และข้อมูล online แก่นิสิตและบุคลากรภายในคณะ

ecc01

เว็บไซต์ศูนย์คอมพิวเตอร์: http://www.ecc.eng.chula.ac.th/

ห้อง "ลีฟแอนด์เลิร์น (Live & Learn)" เพื่อกิจกรรมการศึกษาอิสระ
ห้องลีฟแอนด์เลิร์น (Live & Learn) เป็นห้องปรับอากาศพื้นที่ประมาณ 120 ตารางเมตร ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตเลาจน์ ที่ให้บริการนิสิตและบุคคลากรของคณะฯ เพื่อใช้สำหรับนั่งทำงาน ศึกษาค้นคว้าอิสระ ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น พื้นที่ประชุมพร้อมอุปกรณ์โสตทัศนะสำหรับนำเสนองาน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย ChulaWiFi ปลั๊กไฟสำหรับโน้ตบุ้ค ฯลฯ
ห้องลีฟแอนด์เลิร์นนี้มีการนำเทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงานมาใช้เพื่อเป็นตัวอย่างอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปลูกฝังค่านิยมในการประหยัดพลังงานให้แก่ผู้ใช้งาน
ห้องลีฟแอนด์เลิร์นนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทโตชิบา ประเทศไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่ ดร.กร สุริยสัตย์ บัณฑิตวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากคณะฯ
 lnlsmall1 lnlsmall2 lnlsmall3
ห้องสัมมนากลุ่มย่อย

ห้องสัมมนากลุ่มย่อย

ห้องสัมมนากลุ่มย่อยมีจำนวน 10 ห้อง แบ่งเป็น ห้องประชุมกลุ่มย่อย (Seminar Room) ชั้น 3 จำนวน 3 ห้อง  และ ห้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Study Room) ชั้น 4 จำนวน 7 ห้อง

สำหรับการใช้ ผู้ใช้จะต้องจองห้องผ่านระบบจองห้องออนไลน์ ที่หน้าเว็บไซต์ของห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ : www.library.eng.chula.ac.th เลือก Reserve Study Room โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้ครั้ง 2 ชั่วโมง

บริการเครือข่ายไร้สาย (ChulaWiFi)
         นอกจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ที่นิสิตสามารถเชื่อมต่อแลปท้อปส่วนตัวด้วยสายแลน (LAN) ผ่านการ์ดอีเธอร์เน็ต (Ethernet) ทั่วๆ ไปแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีบริการเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย ChulaWiFi สำหรับนิสิตทุกคน โดยนิสิตสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายสูงสุด 3 อุปกรณ์
          เพื่อความมั่นใจในการเชื่อมต่อแบบไร้สาย คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังมีบริการ ChulaWiFi เพิ่มเติมจากบริการพื้นฐานของมหาวิทยาลัย ที่จุดบริการเครือข่ายไร้สาย ChulaWiFi นี้ นิสิตสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายที่มีการตรวจสอบคุณภาพของสัญญาณและสถานะของอุปกรณ์เครือข่าย เพื่อรับประกันการเชื่อมต่อที่หวังผลได้ อันจะนำมาซึ่งการใช้เครือข่ายไร้สายประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย ChulaWiFi นั้น สามารถตั้งค่าอุปกรณ์ประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ http://www.it.chula.ac.th/th/wifi
wireless01-1
คลังสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้ง ศูนย์เพื่อการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  (E-learning Center) หรือศูนย์อีเลิร์นนิ่ง ขึ้นเพื่อสนับสนุนการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการใช้ประกอบการเรียนการสอน และ การแสวงหาความรู้ทั่วไปต่างๆ สื่อเหล่านี้ถูกบริการในรูปแบบแตกต่างกัน เช่น วิดีทัศน์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์  CourseVille เป็นต้น โดยนิสิตสามารถใช้บริการสื่อเหล่านี้เพื่อศึกษาทบทวนรายวิชาต่างๆ ด้วยตนเองในเวลาว่างได้ นอกจากนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังนำโปรแกรมแบล็คบอร์ด (Blackboard, http://blackboard.it.chula.ac.th/) ซึ่งเป็นระบบจัดการเรียนรู้ (LMS) ชั้นนำของโลก มาสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรด้วย

หอพักนิสิต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้บริการหอพักของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ซึ่งเป็นหอพักแยกชาย – หญิง หอพักของมหาวิทยาลัยสามารถรองรับนิสิตได้หลายพันคน หอพักนิสิตจะแบ่งออกเป็น หอพักหญิง 3 หอ ได้แก่ หอพุดตาน หอพุดซ้อน หอชวนชม และ หอพักชาย 2 หอ ได้แก่ หอจำปี และหอพักจำปา นอกจากนี้ ยังมีหอพักพวงชมพู ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ U-Center (หลังตลาดสามย่านเก่า)

นอกจากนี้นิสิตยังสามารถหาหอพักของเอกชนได้ในพื้นที่บริเวณใกล้ๆ กับมหาวิทยาลัยได้อย่างสะดวก ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สำนักงานนิสิตสัมพันธ์ (http://www.sa.chula.ac.th/) และ ฝ่ายกิจการนิสิต (https://student.eng.chula.ac.th/login.php)
ทุนการศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีทุนการศึกษาสำหรับนิสิตที่มีความประพฤติดี มีผลการเรียนดี แต่มีปัญหาทางการเงิน ทุนการศึกษามอบให้เพื่อการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา นอกจากนี้ทุนการศึกษาส่วนหนึ่งของคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นได้รับจากการบริจาคจากภายนอก สำหรับนิสิตซึ่งมีปัญหาทางการเงินเช่นกัน
สำหรับทุนการศึกษาในหลักสูตรนานาชาตินั้น มีสองประเภทสำหรับนิสิตที่มีผลการเรียนดีเยี่ยม คือ ISE100 และ ISE50 ซึ่งสนับสนุนค่าศึกษาทั้งหมดของนิสิตที่ได้รับทุน และ ครึ่งหนึ่งของค่าศึกษาตามลำดับ โดยทั่วไป ทุนการศึกษาดังกล่าวจะมอบให้แก่นิสิตหลักสูตรนานาชาติจำนวนร้อยละ 10 ในแต่ละหลักสูตรนานาชาติ
scholar1
scholar2
กีฬาและสันทนาการ

นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนิยมผ่อนคลายจากการเรียนที่จริงจังด้วยการเลือกเล่นกีฬาในประเภทที่ตนเองชอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีสถานที่สำหรับเล่นกีฬาต่างๆ ที่เพียบพร้อมที่สุดแห่งหนึ่ง อาทิเช่น สนามฟุตบอลมาตรฐานเอเชีย ลู่กรีฑา สนามกีฬาในร่มสำหรับวอลเล่ย์บอล แบตมินตัน ยิมนาสติก สนามเทนนิส สระว่ายน้ำ ศูนย์ฟิตเนส รวมถึงร้านอุปกรณ์กีฬาต่างๆ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ยังมีลานกีฬา วิศวฯ จุฬาฯ 100 ปี และ ศูนย์ฟิตเนส วิศวฯ จุฬาฯ 100 ปี อยู่ที่อาคารวิศวฯ 100 ปี ชั้นที่ 12 สำหรับให้บริการนิสิต และบุคลากรภายในคณะ

นอกจากนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังอยู่ในบริเวณเดียวกับสนามกีฬาแห่งชาติ ที่ประชาชนทั่วไปนิยมใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายยามเย็น ในบรรยากาศที่ครึกครื้นสนุกสนาน

บริการด้านสุขภาพ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหน่วยอนามัยให้บริการยารักษาโรค และการรักษาโรคทั่วๆ ไป สำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัย และนิสิต โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หน่วยอนามัยตั้งอยู่ที่อาคารจามจุรี 9 เปิดบริการตั้งแต่ 9.00 – 16.00 น. ทุกวันราชการ
นอกจากบริการด้านสุขภาพขั้นต้นแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในอาณาบริเวณ
International House

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้บริการบ้านพักนานาชาติภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นที่พักอาศัยของชาวต่าวประเทศ / อาจารย์ต่างประเทศ ที่มาเยือนมหาวิทยาลัย และนักเรียนทุน พร้อมให้บริการ 24 ชม. รวมถึงร้านอาหารด้วย

house

โรงอาหาร

คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นคณะหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีโรงอาหารไว้บริการนิสิตและบุคลากร ด้วยอาหารสะอาด มีคุณภาพ และ ราคาย่อมเยา ระเบียบและการดำเนินงานของร้านค้าต่างๆ ในโรงอาหารได้รับการดูแลโดยคณะกรรมการโรงอาหารของคณะฯ

นอกจากนี้ยังมีโรงอาหารสังกัดคณะอื่นซึ่งอยู่ในระยะเดินภายในไม่เกินสองนาทีคอยให้บริการ รวมถึงร้านสะดวกซื้อที่กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ในคณะ
%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3
การคมนาคม
นอกจากสถานีรถประจำทางแล้ว ทางทิศเหนือของมหาวิทยาลัยเป็นสถานีรถไฟลอยฟ้าบีทีเอส (BTS) ที่อยู่ใกล้กันถึงสองสถานี (สถานีสยามสแควร์ และ สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ) โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีรถโดยสารภายในให้บริการรับส่งผู้โดยสารระหว่างคณะต่างๆ ในบริเวณมหาวิทยาลัยและสถานีรถไฟลอยฟ้าบีทีเอส ในราคาถูก ส่วนทางทิศใต้ของมหาวิทยาลัยเป็นสถานีรถไฟใต้ดินเอ็มอาร์ที (MRT) สถานีสามย่าน
ถึงแม้ว่ามหาวิทยาลัยจะรณรงค์ให้นิสิตใช้ระบบขนส่งสาธารณะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีอาคารจอดรถที่อาคารจามจุรี 9
ศูนย์การค้า

ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีศูนย๋การค้าขนาดใหญ่หลายแห่ง ที่เป็นที่นิยมของชาวกรุงเทพฯ หรือแม้แต่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ได้แก่ จามจุรีสแควร์ สยามสแควร์ สยามเซนเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรีเซ็นเตอร์ มาบุญครองเซ็นเตอร์ สยามพารากอน และยังมีศูนย์การค้าในระยะเดินภายในเวลา 15 นาทีอีกหลายแห่ง เช่น เซ็นทรัลเวิลด์ เกสรพลาซ่า อัมรินทร์พลาซ่า เป็นต้น

mall01