FACULTY

ทำเนียบ “ศักดิ์อินทาเนีย” : นายไพโรจน์ อนันตะเศรษฐกูล

อาจารย์ไพโรจน์ อนันตะเศรษฐกูล เป็นบุคลากรที่ทรงคุณค่าของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการหล่อโลหะและการ machine ทำให้สามารถประดิษฐ์ชิ้นงานที่หลากหลายและเป็นประโยชน์แก่งานวิจัย และงานสอนในห้องปฏิบัติการของหลายภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยผลงานที่เกิดขึ้นเหล่านี้ทำให้เกิดองค์ความรู้อื่นเพิ่มเติมขึ้นมา และยังสามารถประหยัดทรัพยากรของประเทศได้ โดยไม่ต้องพึ่งชิ้นงานนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้อาจารย์ไพโรจน์ยังเป็นผู้มีจิตอาสา ที่พร้อมให้บริการทางวิชาการแก่อาจารย์และคณะฯในทุกโอกาสที่จะเป็นไปได้ เห็นควรได้รับการยกย่องเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรอื่นต่อไป

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา (ครูปฏิบัติการ) P7
สังกัด     ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
เริ่มปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ 8 พฤษภาคม 2522
ประวัติการศึกษา 
พ.ศ. 2523 คอบ. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต) วิชาเอก อุตสาหการ วิชาโท เครื่องมือกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์

ลักษณะงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ

ครูปฏิบัติการวิชางานหล่อโลหะ และวิชาวิศวกรรม Tools and Machine II, Manufacturing Project

ความคิดริเริ่มเพื่อปรับปรุงการทำงานที่ทำให้ผลงานมีความโดดเด่น
  • ปรับปรุงห้องปฏิบัติการหล่อโลหะ(เป็นบุคลากรรุ่นที่ 3 ของห้องปฏิบัติการหล่อโลหะ) โดยได้ริเริ่มสร้างเครื่องมืองานหล่อ เช่น เครื่องมือแต่งแบบแม่พิมพ์ เป้าเทน้ำโลหะ เป้าหลอม เตาหลอม โดยประดิษฐ์ด้วยตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ และปัจจุบันยังใช้งานอยู่ นับเป็นเวลาร่วม 20 ปี
  • การทำสื่อการสอน โดยจัดทำโมเดลการสอน เช่น แม่พิมพ์งานหล่อชนิดต่างๆ เพื่อให้นิสิตเห็นภาพ และเห็นความแตกต่างของแม่พิมพ์แต่ละชนิด
  • ปรับปรุงเทคนิคการประดิษฐ์อุปกรณ์ โดยการเลือกใช้วัสดุให้เหมาะกับชิ้นงานที่ชำรุดเสียหาย เพราะมีแนวคิดว่าถ้าหากใช้วัสดุเดิม ชิ้นส่วนนั้นก็ยังคงปัญหาการชำรุดเสียหายเช่นเดิม เช่น เครื่องทดสอบที่มีชิ้นแตกหัก จะพยายามหาวัสดุชนิดใหม่ที่มีความแข็งแรงทดทานมากกว่านี้ โดยการซื้อวัสดุมาขึ้นรูป machine เอง สามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้ทุกรูปแบบ
ผลงานหรือการปฏิบัติงานที่ได้รับการยกย่องว่าดีเด่นและเป็นที่ประจักษ์ที่อาศัยความรู้ความชำนาญ เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพของตำแหน่ง
  • งานซ่อมบำรุงเครื่องจักรของภาควิชาต่างๆ ในด้านเครื่องกล (งาน machine) ในลักษณะทดแทนชิ้นส่วนที่ชำรุด โดยไม่สามารถสั่งซื้อจากต่างประเทศได้เพราะเป็นเครื่องมือรุ่นเก่าแต่ยังใช้งานได้อยู่ ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณของทางราชการได้มาก เช่น เครื่องมือทดสอบแรงดึง (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา) เครื่องทดสอบทราย (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา) และเครื่องจักรทุกชนิดในห้องปฏิบัติการหล่อโลหะไม่เคยต้องส่งซ่อมเลย เพราะซ่อมแซมเองหมด โดยดำเนินการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2522-ปัจจุบัน
  • งานประดิษฐ์ชิ้นส่วนสำหรับห้องปฏิบัติการ (งานหล่อ และงาน machine) ทั้งหน่วยงานภายในคณะและหน่วยงานภายนอก เช่น เครื่องเหวี่ยง/ดีด (ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ) เครื่องทดสอบความทนทานลูกล้อกระจกบานเลื่อน (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา) เครื่อง catapult (วิศวกรรมอุตสาหการ) สร้างอาคารโมเดลจำลองสำหรับการทดสอบคลื่นซึนามิ (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา) และ ฯลฯ โดยมากเป็นชิ้นส่วนที่มาจากภาพ drawing หรือรูปถ่าย เพื่อแกะแบบมาประดิษฐ์เป็นชิ้นงาน นอกจากนี้ยังให้บริการในหน่วยงานภายนอก คือ สร้างเตาหลอมโลหะให้มหาวิทยาลัยสุรนารี
  • งานประดิษฐ์ชิ้นส่วนโล่รางวัล คือ ออกแบบและประดิษฐ์สัญลักษณ์เกียร์สำหรับรางวัล “ศักดิ์อินทาเนีย” รางวัล “ศรีอินทาเนีย” และรางวัล “เปิดโลกลานเกียร์”
  • เป็นวิทยากรรับเชิญ บรรยายให้นิสิตในวิชาหล่อโลหะของสถาบันการศึกษาอื่น เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตัวอย่างการพัฒนาศักยภาพตนเองเพื่อนำความรู้มาพัฒนาการปฏิบัติงาน
  • พ.ศ. 2551 อบรมงานหล่อโลหะ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (เอกสารแนบ 3)
  • พัฒนาแนวคิดในการทำงานโดยการสร้างความร่วมมือระหว่างสาขาวิชา เช่น การประดิษฐ์เครื่องทดสอบความทนทานของลูกล้อกระจกบานเลื่อน ทำงานร่วมกับช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์จากภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี
เคล็ดลับความสำเร็จ / ความนัยจากใจเกี่ยวกับรางวัลนี้

เคล็ดลับความสำเร็จ

ทำงานด้วยใจรัก สนุกกับงานที่ทำ หมั่นฝึกฝน อดทน มีมานะ ช่างสังเกตุ ปรับปรุงแก้ไข พัฒนาทักษะตนเองอยู่เสมอ ประสานงานระหว่างภาควิชา จดบันทึกข้อมูล

ความนัยจากใจเกี่ยวกับรางวัลนี้

ดีใจที่ได้รับรางวัลนี้ ขอขอบคุณคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ใด้พิจารณามอบรางวัลนี้ให้ รวมทั้งเพื่อนผู้ร่วมงานทุกท่าน และ ภาควิชาฯ ที่มีส่วนช่วยในการสนับสนุนผลงาน ตลอดจนเพื่อนๆ จากภาควิชาต่างๆ เช่น

  • คุณ บัญชา อุนพานิชา ภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี
  • คุณ ธีระ ตาปิง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ซึ่งมีส่วนช่วยให้ผลงานมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพราะบุคคลคนเดียว ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานตามที่ต้องการได้ทั้งหมด ต้องมีส่วนประกอบ อื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ผลงานที่ตั้งเป้าหมายไว้เสร็จสมบูรณ์ได้ การทำงานเป็นทีมมีส่วนสำคัญมากในการดูแลซ่อมแซม-บำรุงรักษา เครื่องมือ-เครื่องจักรกล เพราะในเครื่องจักรแต่ละเครื่องมีระบบต่างๆมากมาย ทั้งระบบไฟฟ้า อีเลคทรอนิค แมคคานิค ไฮโดรลิค และนิวแมติค ซึ่งแต่ละคนมี ความสามารถที่แตกต่างกัน ถ้ามาทำงานร่วมกัน ก็สามารถแบ่งปันประสบการณ์ และเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เพิ่มประสิทธิ์ภาพในการทำงาน ซึ่งเป็นประโยชน์กับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของเราในการพึ่งพาตนเองมากที่สุด เพราะเครื่องมือ- เครื่องจักรที่ใช้ในการเรียนการสอน บางอย่างก็มีอายุไม่น้อยกว่าอายุของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงต้องการ การดูแล-รักษาให้มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดไป ท้ายที่สุดนี้ ต้องขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาท วิชาความรู้ให้จนมีวันนี้ ขอกราบขอบคุณ วิทยาลัยช่างกลพระนครเหนือ วิทยาลัยครูอาชีวศึกษา เทเวศร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์