โครงการสนับสนุนการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ Chula MOOC ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1. หลักการและเหตุผล

ตามที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ตามนโยบายโครงการ Chula MOOC เพื่อเป็นการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัดแก่ผู้ที่สนใจเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ ซึ่งศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการให้การสนับสนุนแก่คณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในการดำเนินการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับเผยแพร่ผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ Chula MOOC เพื่อมอบเป็นของขวัญเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาฯ และสามารถใช้เป็นสื่อหลักสำหรับการการเรียนการสอนของคณาจารย์ได้อีกด้วย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำโครงการร่วมสนับสนุนการผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ขึ้น เพื่อร่วมสนับสนุนให้คณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิศวกรรมศาสตร์จัดทำสื่อการเรียนรู้หรือองค์ความรู้ที่มีประโยชน์และทันสมัย อันเป็นการร่วมสนับสนุนนโยบายการเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัดแก่ นิสิตจุฬาฯ นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้ที่สนใจให้สามารถใช้ประโยชน์จากสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 2. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในรูปแบบวิดีโอเพื่อสนับสนุน CHULA MOOC
  2. เพื่อร่วมสนับสนุนนโยบายการเป็นสื่อกลางในการเปิดโลกแห่งการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัดแก่ผู้ที่สนใจเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สเรียนออนไลน์ CHULA MOOC
  3. เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับคณาจารย์สามารนำมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนได้

 

3. เป้าหมาย

เพื่อผลิตสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ในรูปแบบวิดีโอ จำนวน  12 เรื่อง/ปี

 

4. แผนการทำงานและวิธีการสนับสนุนสร้างสื่อการเรียนรู้ ดังนี้

4.1 การรับสมัครและคัดเลือกรายวิชา/เรื่อง เพื่อสนับสนุนการสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ CHULA MOOC ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์

  • กำหนดประชาสัมพันธ์และรับสมัครเพื่อคัดเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนการสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ CHULA MOOC ภายในวันที่ 19  กุมภาพันธ์ 2561
  • คณาจารย์ที่สนใจสามารถส่ง แบบฟอร์มขอเปิดรายวิชาในรูปแบบ MOOC ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ที่ อีเมล์ strategy@gmail.com โทร.02 218 6382 (ภารกิจยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ อาคาร 3 ชั้น 1 ห้อง 126)
  • กำหนดพิจารณาคัดเลือกเนื้อหารายวิชา เพื่อสนับสนุนการสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ CHULA MOOC จำนวน 12 เรื่อง ภายในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561
  • ประกาศผลคัดเลือกผลเรื่อง/รายวิชา ที่ได้รับการสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ CHULA MOOC จำนวน 12 เรื่อง ภายในวันที่ 5 มีนาคม 2561
  • จัดทำหนังสือขออนุมัติเพื่อเปิดรายวิชาในรูปแบบ MOOC ผ่านศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 7 มีนาคม 2561
  • เริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการผลิตสื่อให้เสร็จสมบูรณ์ในระยะเวลาประมาณ 21-25 สัปดาห์ (ประมาณช่วงเดือน เมษายน-กันยายน 2561) ตามขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

• ทั้งนี้ สำหรับเบิกจ่ายเงินสนับสนุน ภายในเดือนกันยายน 2561

 

4.2 แผนการผลิตสื่อการเรียนรู้ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เจ้าของเนื้อหาสามารถดำเนินการได้ดังนี้

  1. บริการด้านการสร้างขั้นตอนการผลิตสื่อสำหรับการสอน (1 Lesson หมายถึง 1 บทการเรียนรู้ ควรมีอย่างน้อย 3  Module)
  • เจ้าของเนื้อหาจัดเตรียมเนื้อหาที่ต้องการสอนตามวัตถุประสงค์
  • ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้

1.1  ดำเนินการผลิตสื่อตามมาตรฐานของสื่อวิดีโอออนไลน์รูปแบบวิดีโอร่วมกับศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้

1.2 กำหนดการจัดวางรูปแบบการนำเสนอหัวข้อย่อยในแต่ละ Module

1.3 นำวิดีโอชุดสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ทดสอบระบบผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  1. บริการด้านการสร้างเนื้อหาเพื่อการผลิตสื่อสำหรับการสอน

2.1 วัตถุประสงค์ของสื่อการเรียนรู้ออนไลน์รูปแบบวิดีโอ

2.2 การนำเข้าสู่สื่อการเรียนรู้

2.3 หัวข้อย่อย ควรมีความยาวอย่างน้อย 5- 8 นาที /หัวข้อย่อย

  1. บริการด้านการสร้างสื่อการเรียนรู้ (ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาฯ) ประกอบด้วย

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สอนและวัตถุประสงค์ อาทิเช่น ตัวอักษร (Font) และข้อความ (Text), โทนสี (Tone), ภาพนิ่ง (Image) และเสียง (Sound)

3.2 วีดิโอการเรียนรู้รายครั้ง/ Module

3.3 วิดีโอสาธิต ทดลอง ประกอบการเรียนรู้รายครั้ง/Module

 

5. แนวทางการกำหนดโครงสร้างชุดสื่อการเรียนรู้ออนไลน์

 5.1 ชุดสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ประกอบด้วย

– Introduction การแนะนำก่อนเข้าบทเรียน

– Lesson (บทเรียน หรือ หัวข้อหลัก)   อย่างน้อย 3 บท

– Subject (หัวข้อย่อย) ความยาว 5-8 นาที  หรืออย่างน้อย 3 หัวข้อย่อยต่อโมดูลหรือบท

  • Quiz (คำถาม, เกมทดสอบระหว่างบทเรียน  อย่างน้อย 2-3 ข้อ
  • แบบทดสอบก่อน-หลัง อย่างน้อย 10 ข้อต่อบท ในรูปแบบคำถาม True-Falseหรือ Multiple Choice

5.2  การจัดเตรียมข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการผลิตสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบวิดีโอ

เจ้าของเนื้อหาจะต้องจัดเตรียมข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งครอบคลุมหัวข้อต่อไปนี้

  • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สอน วัตถุประสงค์ และการแนะนำสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบวิดีโอ (Introduction)
  • โครงสร้างเนื้อหาบทเรียนสำหรับการผลิตสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบวิดีโอ (Course Outline)
  • เนื้อหาบทเรียน (Content) และคำถามหรือเกมทดสอบระหว่างบทเรียน (Quiz)
  • กิจกรรมการสอนที่ต้องการนำเสนอในรูปแบบพิเศษ เช่น นำเสนอในรูปแบบ Animation หรือ ถ่ายทำการทดลอง เป็นต้น หรือบทเรียนพิเศษที่เจ้าของเนื้อหามีความประสงค์จะผลิตเพิ่มเติมจากสื่อบทเรียนที่เปิดสอนใน CHULA MOOC เพื่อนำไปใช้ประกอบการสอนในรายวิชาปกติของคณะ
  • แบบทดสอบก่อน-หลัง อย่างน้อย 10 ข้อต่อบท ในรูปแบบคำถาม True-Falseหรือ Multiple Choice
  • เวลาเรียนที่ใช้ในการเรียนรู้แต่ละหัวข้อย่อย (โดยประมาณ) และตารางนัดหมายในการถ่ายทำการสอน

 

5.3   การเตรียมพร้อมเนื้อหาการสอนสำหรับบทเรียน (Content)

เจ้าของเนื้อหาควรจัดเตรียมลักษณะเนื้อหาของสื่อการเรียนรู้ ดังนี้

1)   สื่อเนื้อหาจะต้องมีความสมบูรณ์เพียงพอที่จะให้ผู้เรียนได้ความรู้ตามวัตถุประสงค์

  • เนื้อหามีความถูกต้อง มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ชัดเจน เชื่อถือได้
  • เนื้อหาต้องมีความชัดเจน ข้อความกระชับ เข้าใจได้ง่าย
  • เนื้อหามีความเหมาะสมกับผู้เรียน (ระดับความยาก วัย ภาษาที่ใช้)
  • แบ่งเนื้อหาเป็นหัวข้อย่อยๆ ที่มีความชัดเจนและเนื้อหาแต่ละหัวข้อย่อยจบในตัวเอง
  • การเรียบเรียงข้อความในเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับและพื้นฐานผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย
  • เนื้อหาน่าสนใจดึงดูดความสนใจผู้เรียน และน่าสนุก
  • ระมัดระวัง ไม่ให้มีเนื้อหาที่เป็นการกีดกันสีผิว เชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม รวมทั้งเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมแก่วัยและวัฒนธรรมอันดีงาม
  • เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย
  • สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์จะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆเลย

 

5.4 คุณสมบัติของสื่อที่ใช้ในการประกอบการดำเนินการผลิต ประกอบด้วย

  • หลักการใช้สื่อมัลติมีเดีย
    • “ภาพ” เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเห็นรูปธรรมของเนื้อหา และ/หรือสร้าง
      ความ น่าสนใจให้เนื้อหา ภาพต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหา (ถ้ามี)
    • “วีดีทัศน์” เพื่อแสดงประเด็นเนื้อหาที่เป็นค่อนข้างซับซ้อนให้เข้าใจง่าย (ถ้ามี)
    • “ภาพเคลื่อนไหว” เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของภาพ และ/หรือดึงดูด น่าสนใจ ไม่มากเกินไปจนผู้เรียนเกิดความรำคาญ (ถ้ามี)
    • “เสียง” เพื่ออธิบายรายละเอียดเนื้อหาและภาพที่แสดง

 

เกณฑ์การคัดเลือกเพื่อสนับสนุน

  1. เนื้อหามีผลกระทบต่อสังคม 30%
  2. ศักยภาพในการผลิตสื่อการเรียนรู้สำเร็จ 30%
  3. ความเชี่ยวชาญในเนื้อหาการสอน 20%
  4. การนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มเติม 20%

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภารกิจยุทธศาสตร์และโครงการพิเศษ โทร.86382

อีเมล์ cue.strategy@gmail.com

ไฟล์แนบ
 
ไฟล์
ขนาด
ไฟล์
1
แบบฟอร์มขอเปิดรายวิชา MOOC
139kB