ปม ICAO ให้ไทยสอบตกกรณีขนส่งสินค้าอันตราย
ช่องโหว่หน่วยตรวจสอบ ไม่มีคู่มือปฏิบัติ
โดย รศ. ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากที่กรมการบินพลเรือน (บพ.) สอบไม่ผ่านในข้อสำคัญ ของกรมการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization :ICAO) หรือที่เรียกว่า “ข้อบกพร่องที่มีนัยยะสำคัญต่อความปลอดภัย” (Significant Safety Concerns : SSC) และเมื่อไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามกรอบเวลา 90 วันที่ ICAO วางไว้ ข้อมูลการติดธงแดงหน้าชื่อประเทศไทยจึงถูกเผยแพร่แก่สาธารณะ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ไทยเร่งแก้ปัญหา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ร่วมกับอีก 12 ประเทศในสมาชิกภาคีที่เคยได้รับธงแดงไปก่อนหน้า
หนึ่งในข้อบกพร่องที่มีนัยยะสำคัญคือเรื่องของ “การขนส่งสินค้าอันตราย” (Dangerous Goods) แหล่งข่าวจากกรมการบินพลเรือน ได้ให้ข้อมูลกรณีดังกล่าวเพิ่มเติมถึงข้อบกพร่องในกระบวนการดำเนินการเรื่องการขนส่งอันตรายของไทยว่า ในข้อบกพร่องที่เป็น SSC ในประเด็นการอนุญาตให้สายการบินขนส่งสินค้าอันตราย โดย ICAO ตรวจพบว่า บพ.อนุญาตให้สายการบินทำการขนส่งสินค้าอันตรายโดยไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ให้อนุญาตโดยไม่รู้ว่าตรวจอะไรบ้าง ซึ่งตามกำหนดของ ANEX 18 ภาคผนวกที่รวมข้อปฏิบัติไว้นั้น ได้กำหนดขั้นตอน และกระบวนการต่างๆ ทั้งการตรวจสอบ การอบรม โดยแยกทั้งนักบิน ลูกเรือ เจ้าหน้าที่ภาคสนาม และวิธีปฏิบัติในกรณีฉุกเฉิน ฯลฯ ก่อนที่สายการบินที่จะทำการขนส่งสินค้าอันตรายได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ThaiPublica http://thaipublica.org/2015/06/icao-4/