อีกสามปีคนไทยหลายล้านคนจะได้ใช้นวัตกรรมของวิศวฯ จุฬาฯ

จากแนวคิดของ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สร้างแนวรุกใหม่ของวิศวฯ จุฬาฯ จากเดิมที่มุ่งเน้นการเรียนการสอน และการวิจัย จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ตามการจัดอันดับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของโลก มาปลุกเร้าให้นิสิต อาจารย์ และบุคลากรของคณะ มีแนวคิดในการสร้างนวัตกรรมเพื่อมุ่งสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนและมุ่งแก้ปัญหาให้กับสังคมไทย ตามวิสัยทัศน์ มุ่งสู่การเป็น “สถาบันที่สร้างวิศกรและนวัตกรรมชั้นเลิศเพื่อสังคมโลก (Top engineering & innovation for world society)” สร้างผลงานทางวิชาการในด้านวิศวกรรมที่เป็นต้นแบบจากภูมิปัญญาของสังคมไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล  โดยมีเป้าหมาย “จากนี้อีกสามปี…คนไทยหลายล้านคนจะได้ใช้ผลงานของชาววิศวฯ จุฬาฯ” จากแนวคิดดังกล่าว จึงทำให้เกิดหน่วยงานเล็ก ๆ ในคณะ ที่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมสิ่งจำเป็นต่าง ๆ สำหรับการสร้างนวัตกรรม ในชื่อ “Innovation Hub”  โดยกิจกรรมแรกที่ทางคณะฯ ได้ดำเนินการ คือ โครงการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมในสี่ด้าน คือ 1) นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน 2) นวัตกรรมจากนิสิต 3) นวัตกรรมกระบวนงานและบริการในองค์กร 4) นวัตกรรมและสังคม ซึ่งโครงการนี้จะแตกต่างจากการประกวดโครงการทั่วไปตรงที่จุดมุ่งหมายในโครงการนี้ไม่ใช่เป็นการเอาโครงการมาประชันกัน พอได้รางวัลแล้วก็จบกันไป แต่ในโครงการ เป็นการให้เงินทุนแก่ผู้ผ่านเข้ารอบจำนวน 32 โครงการ เพื่อเป็นเงินทุนสนับสนุนในการสร้างนวัตกรรม นำไปสร้างเป็นต้นแบบที่มีผู้ใช้จริงมาร่วมเวิร์กช็อป มีกลุ่มผู้ซื้อ หรือกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นหน่วยงาน มาชี้แนะแนวทาง เพื่อให้สามารถนำไปดำเนินการให้ยั่งยืนต่อไปได้ มีการอบรมให้ความรู้และมุมมองที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรม ทั้งความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การเขียนแผนธุรกิจ การคำนวณตัวเลขที่จำเป็นต่าง ๆ การแสวงหาเงินทุน นอกจากนี้แล้ว ผู้ผ่านเข้ารอบยังได้มีโอกาสไปดูงานตามที่ต่าง ๆ ที่มีการสร้างนวัตกรรมจริงในทุกด้านของประเทศอีกด้วย ไม่เพียงแต่เท่านั้น Innovation Hub ของวิศวฯ จุฬาฯ ยังเป็นแหล่งรวบรวมผู้ผลิต ผู้ขาย หน่วยงานผู้รับผิดชอบ เพื่อให้นวัตกรรมดี ๆ ที่เกิดขึ้นในโครงการ สามารถถูกส่งต่อเป็นผลิตภัณฑ์ ไปสร้างประโยชน์ให้แก่คนไทยอีกหลายล้านคนได้ในที่สุด แม้ว่าในช่วงแรก Innovation Hub จะตั้งเป้าหมายที่เป็นกลุ่มผู้ใช้ในประเทศ และมุ่งเน้นการแก้ปัญหาที่มีอยู่มากมายในประเทศนี้ แต่วันหนึ่งข้างหน้า เป้าหมายนี้จะเติบโตขึ้นจนกลายเป็น “การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแข่งขันในสังคมโลก” ในที่สุด

โดยในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 12.00 – 13.00 น. ณ ห้อง 209 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ผ่านมา โครงการ Chula Engineering Innovation Hub นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกรี สินธุภิญโญ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ได้จัดกิจกรรมแนะนำแนวทางสร้างนวัตกรรม เพียงแค่เป็นกระบวนงานหลักหรือสอดคล้องกับภารกิจหลักของคณะ ได้แก่  การเรียนการสอน วิจัย พัฒนานิสิต บริหาร บริการวิชาการหรือสร้างประโยชน์ให้สังคม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ใหม่/ปรับปรุง/ต่อยอด/พัฒนาจากสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้ว และมีการยอมรับ มีประโยชน์  สามารถนำไปใช้ได้จริง หรือสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในเชิงพาณิชย์หรือสังคม และมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน  งานนี้ ทั้งนิสิตปัจจุบันและนิสิตเก่า คณาจารย์และบุคลากรทั้งปัจจุบันหรือเคยเป็นบุคลากรในสังกัดก็สามารถมาร่วมสร้างนวัตกรรมของวิศวฯ จุฬาฯ เพื่อคณะและสังคมไทยได้ตามฝัน  โดยมีทุนสร้างนวัตกรรมและทุนพัฒนานวัตกรรม เป็นจำนวนรวมถึง 100,000 บาทต่อทีมต่อโครงการ พร้อมรางวัล Chula Engineering Innovation  Awards ในแต่ละกลุ่มนวัตกรรม และลุ้นรางวัลสุดยอดนวัตกรรมอีกรวมทั้งสิ้น 650,000 บาท โดยในงานดังกล่าวมีนิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า บุคลากร รวมถึงคณาจารย์ได้ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หากท่านใดสนใจร่วมสร้างนวัตกรรมดังกล่าว สามารถติดตามข้อมูลและโหลดใบสมัครได้ที่https://www.facebook.com/ChulaEngineeringInnovationHub

February 20, 2015 Written by pr

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า