วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะรัฐการวางนโยบายพัฒนาการขนส่งระบบรางของไทย ต้องดำเนินการเชิงกลยุทธ์อย่างครบวงจร อย่ามองเพียงการพัฒนาเชิงกายภาพ พร้อมหนุนผลักดันสู่ “นโยบายวาระแห่งชาติ” ที่ต้องได้รับการพิจารณาเตรียมการอย่างรอบด้าน ทั้งมิติการบริหารจัดการ การค้า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การปฏิรูปองค์กร การเตรียมการด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรที่จําเป็น ล่าสุดเร่งหารือ กระทรวงคมนาคมร่างข้อเสนอแก่รัฐบาล โดยได้จัดแถลงข่าวขึ้นและมีผู้ร่วมนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ศ. นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดี ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ. ดร.สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์ รศ. ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ผศ. ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ทั้งนี้ จากอดีตจนถึงปัจจุบันรัฐบาลไทยภายใต้การดําเนินการของกระทรวงคมนาคม ได้มีความพยายาม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศไทย โดยมีแนวทางที่จะใช้งบประมาณสูงถึงราว 3 ล้านล้านบาทเพื่อลงทุนในโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะส่วนของการลงทุนในโครงการระบบรางต่างๆ ทั้งโครงการที่พัฒนาขึ้นใหม่ และโครงการที่ปรับปรุงระบบรางที่มีอยู่เดิม โครงการเหล่านี้ล้วนเป็นที่สนใจของสังคมในวงกว้าง ทั้งในและต่างประเทศ และจําเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลตลอดจนสังคมไทยควรจะได้ตระหนักและเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระมัดระวัง การเตรียมการ การใช้ประโยชน์ ตลอดจนข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ดังกล่าวอย่างรอบด้าน เพื่อประกอบการพิจารณาว่าควรจะดำเนินการพัฒนาไปในทิศทางใดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีรายละเอียดข้อตกลงให้ รัฐบาลจีนดําเนินการก่อสร้างและพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน (Standard gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 133 กม. เนื่องจากโครงการดังกล่าว จะสร้างภาระผูกพัน และอาจกลายเป็นตัวกําหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว นอกจากนี้ การขาดการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก่อนดำเนินการอย่างเหมาะสม ตลอดจนการจัดการปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เรียบร้อยเสียก่อน ก็อาจก่อให้เกิดความสิ้นเปลือง ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังอาจมีปัญหาเรื้อรังต่อเนื่องในอนาคต
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีนักวิชาการที่ติดตาม ศึกษา ตลอดจนดําเนินการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาการขนส่งระบบรางของไทย ทั้งในส่วนนโยบายของรัฐ การบริหารจัดการโครงการ การพัฒนาโครงการ ตลอดจนการพัฒนาด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี จึงต้องการนําเสนอข้อมูลจากมุมมองภาควิชาการ ทั้งต่อสังคมและรัฐบาลเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป โดยมีประเด็นหลักที่ต้องการนําเสนอ 3 ประเด็น คือ
ประเด็นด้านนโยบายการค้า และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1. ไทยจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในลักษณะที่เป็นเพียงทางผ่านเหมือนคลองสุเอซ หรือเป็นศูนย์กลางการ เพิ่มคุณค่าด้วยการนําสินค้าเข้าและทําการเพิ่มมูลค่าในไทยก่อนที่จะส่งออกไปอีกทอดหนึ่งเหมือนสิงคโปร์ และ นอกจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแล้ว เราได้เตรียมความพร้อมในด้านอื่นอย่างไรบ้าง ในอันที่จะผลักดันให้ ไทยเป็นศูนย์กลางการเพิ่มคุณค่า เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องใช้งบลงทุนจํานวนมากก่อประโยชน์สูงสุดกับ ประเทศ
2. จากการเชื่อมโยงไทย-จีนด้วยทางรถไฟ สินค้าไทยประเภทใดมีศักยภาพที่จะเข้าไปแข่งขันและขายในตลาดจีน และเราได้เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการด้านการผลิตและการค้าของไทยอย่างไร เพื่อให้สินค้าไทยมีโอกาสเข้าไป แข่งขันในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดที่มีการแข่งขันสูงมาก
3. จากการเชื่อมโยงไทย-จีนด้วยทางรถไฟ สินค้าจีนประเภทใดที่จะเข้ามาในประเทศไทย ทั้งที่นํามาบริโภค ในประเทศไทยและใช้ไทยเป็นทางผ่านส่งออกไปยังต่างประเทศ และสินค้าเหล่านี้จะซ้อนทับกับสินค้าที่ผลิต ในประเทศไทยและเกิดการแย่งตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศไปจากสินค้าไทยมากน้อยเพียงใด ผู้ประกอบการ ด้านการผลิตและการค้า SME กลุ่มใดจะได้รับผลกระทบจากการแย่งตลาด และได้มีการเตรียมความพร้อมให้กับ ผู้ประกอบการกลุ่มนี้อย่างไร
ประเด็นด้านการบริหาร การจัดเตรียมและปฏิรูปองค์กรด้านขนส่งระบบราง
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยเฉพาะการพัฒนาระบบราง จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปฏิรูป หน่วยงานรับผิดชอบการวางแผนพัฒนาและให้บริการขนส่งระบบรางควบคู่ไปด้วย เนื่องจากมีภารกิจที่ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาทิ
• การวางยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบรางในภาพรวมของประเทศ
• ความรับผิดชอบการก่อสร้างและบํารุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน
• ความรับผิดชอบการเดินรถโดยสาร และรถขนส่งสินค้า
• การกํากับดูแลประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้ให้บริการเดินรถ การรับรองมาตรฐาน โครงสร้างพื้นฐาน
• การประสานงานระหว่างผู้ให้บริการเดินรถ ผู้ก่อสร้างและบํารุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน อปท. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
• หน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางใหม่จะต้องมีบทบาทใดบ้าง
2. องค์กรที่รับผิดชอบในภารกิจแต่ละส่วนมีทรัพยากรเพียงพอที่จะดําเนินการตามแผนพัฒนาหรือไม่ ต้องมีการเตรียม ความพร้อมอย่างไรในด้านต่างๆ อาทิ บุคลากร งบประมาณ อย่างไร
ประเด็นด้านการเตรียมความพร้อมด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ตลอดจนบุคลากร
1. รัฐบาลมีแผนรองรับการจัดการและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบรถไฟอย่างไร กรอบระยะเวลาดําเนินการเป็น อย่างไรหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบตั้งแต่การออกแบบระบบการก่อสร้างและติดต้งั การให้บริการการซ่อมบํารุง การจัดหาอะไหล่ การใช้อะไหล่ในประเทศทดแทน การส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ อุตสาหกรรมการ ประกอบรถไฟในประเทศไทย การปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยี
2. รัฐบาลมีการเตรียมบุคลากรทั้งในระดับบริหารจัดการ วิศวกร ช่างเทคนิค ตลอดจนแรงงาน ตลอดแผนการพัฒนา โครงการตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไร หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ
3. รัฐบาลมีแนวนโยบายอย่างไรที่จะทําให้การควบคุมมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ให้บริการเดินรถ มาตรฐานงาน ซ่อมบํารุง มาตรฐานชิ้นส่วน มาตรฐานการผลิตชิ้นส่วน มาตรฐานการตรวจติดตามระบบ เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
4. รัฐบาลมีแผนรองรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและก่อสร้างระบบงานต่างๆ ในช่วงระยะเวลาพัฒนา โครงการอย่างไร วัสดุ-อุปกรณ์-เครื่องมือต่างๆ ผลิตในประเทศ หรือนําเข้า
5. รัฐบาลมีแผนรองรับการจัดการแรงงานต่างชาติและการพัฒนาช่างฝีมือในประเทศ ในช่วงระยะเวลาพัฒนาโครงการ อย่างไร อาทิ ด้านการจดทะเบียน การสาธารณสุข ความมั่นคง อาชญากรรม ฯลฯ
February 17, 2015