พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรรมศาสตร์ และ SN Group โดย บริษัท ส. นภา (ประเทศไทย) จำกัด

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นางเกตุวลี นภาศัพท์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ส. นภา (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรรมศาสตร์ และ SN Group โดย บริษัท ส. นภา (ประเทศไทย) จำกัด ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้บริหาร คณาจารย์คณะวิศวฯ ร่วมเป็นสักขีพยาน
รศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์มีนโยบายที่จะผลักดันให้เกิดการนำองค์ความรู้ ผลงานวิจัย ไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย ความร่วมมือในครั้งนี้ระหว่างบริษัท ส. นภา (ประเทศไทย) จำกัด กับ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ถือเป็นก้าวสำคัญในการรังสรรค์เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมของประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์มีผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรที่มีความพร้อมทำงานร่วมกับบริษัทฯ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ทางคณะฯ จะได้มีโอกาสเรียนรู้และรับทราบปัญหาการทำงานจริงจากมุมมองของบริษัทชั้นนำด้านการบริหารจัดการน้ำในอุตสาหกรรมไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการมีส่วนร่วมยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการให้มีมาตรฐานการให้การบริการในระดับสากล เป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้าและผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
 
ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีความเข้มแข็งในการทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมรอบด้าน โดยมีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านน้ำ อากาศ ตลอดจนการบำบัดของเสียอื่นในอุตสาหกรรม ภาควิชาฯ ยังมีประสบการณ์การทำงานกับภาคเอกชนและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการออกไปแก้ปัญหาชุมชน การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่สังคม ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้แก่ประเทศไทย ซึ่งผลงานของภาควิชา ฯ ก็เป็นที่ประจักษ์ยอมรับในมาตรฐานระดับสากล
 
นอกจากนั้นคณะวิศวกรรมศาสตร์มีการจัดตั้งโครงการ ILP – Industrial Liaison Program เพื่อให้การเชื่อมโยงระหว่างคณะฯ กับภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคอยสนับสนุนการบริการด้านวิศวกรรมต่าง ๆ แก่บริษัทสมาชิกอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น การทดสอบ การวิจัย และการให้คำปรึกษาด้วยทีมคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญหลากหลายแขนงที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นโครงการ ILP ยังมีการจัดอบรมสัมมนา ในหัวข้อเทคโนโลยีที่จะมีผลกระทบต่อภาคธุรกิจและสังคมโดยรวม เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหลากหลายมิติ ทั้งความรู้จากวิทยากรสู่ผู้ร่วมสัมมนา หรือจากผู้ร่วมสัมมนาสู่วิทยากร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้ร่วมสัมมนาด้วยกันเอง
 
การร่วมมือกันระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กับ บริษัท ส. นภา (ประเทศไทย) จำกัด ในครั้งนี้ นับเป็นการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรตลอดจนองค์ความรู้ของประเทศไทย ก่อให้เกิดการผนึกพลังในการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต ตลอดจนสามารถพัฒนาศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ ยกระดับผู้ประกอบการไทยก้าวสู่ระดับนานาชาติต่อไป
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า