การประชุม Joint Coordinating Committee ครั้งที่ 2 โครงการ “Regional Resilience Enhancement through Establishment of Area-BCM at Industry Complexes in Thailand”

เมื่อวันศุกร์ ที่ 31 พฤษภาคม 2562 เวลา 13:00 น. ได้มีการจัดประชุม Joint Coordinating Committee (JCC) Meeting ครั้งที่ 2 เพื่อหารือโครงการ “Regional Resilience Enhancement through Establishment of Area-BCM at Industry Complexes in Thailand” ณ ห้องประชุมแมนดาริน ซี โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานและสถาบันการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น อันประกอบไปด้วย องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA), Japan Science and Technology (JST), สถาบันเทคโนโลยีแห่งนาโกย่า (Nagoya Institute of Technology: NIT), ศูนย์นานาชาติด้านอุทกภัยและการจัดการความเสี่ยงนานาชาติ (International Centre for Water Hazard and Risk Management: ICHARM), National Research Institute for Earth Science and Disaster Resilience (NIED), และ มหาวิทยาลัยเคโอ รวมทั้งหน่วยงานจากฝั่งไทย ได้แก่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (DDPM), กรมโรงงานอุตสาหกรรม (DIW), กรมโยธาธิการและผังเมือง (DDPT), การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT), กรมชลประทาน (RID), กรมอุตุนิยมวิทยา (TMD), กรมการปกครอง (DOPA), สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (TISI), สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO), สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (HII), ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC), มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์, วิทยาลัยประชากรศาสตร์, สถาบันขนส่ง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, และหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ บัณฑิตวิทยาลัย

งานประชุมได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นพ. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม (รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรองประธานโครงการฯ) และ นาย KAZUO, Takeuchi (ผู้แทนอาวุโส JICA) ในการกล่าวเปิดการประชุม โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล (คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์) และ รองศาสตราจารย์ ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ (คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการฯ เข้าร่วมงานประชุมด้วย

อาจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหลักสูตรสหสาขาวิชาการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติ รับหน้าที่เป็นพิธีกรดำเนินการประชุม จากนั้น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัตติยา ภูละออ อาจารย์ประจำวิทยาลัยประชากรศาสตร์ ผู้จัดการโครงการ และผู้ประสานงานด้านเทคนิค ได้นำเสนอโครงสร้างการดำเนินงานต่อผู้เข้าร่วมประชุม ตามด้วย ข้อสรุปโครงการซึ่งนำเสนอโดย Professor Watanabe, Kenji และรายงานความคืบหน้าของโครงการโดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ Item 0 Community Survey โดย ดร. NAKASU, Tadashi นักวิจัยประจำวิทยาลัยประชากรศาสตร์, Item 1 Hazard Analysis โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ ดร. MIYAMOTO, Mamoru จาก ICHARM, Item 2 Business Impact Analysis โดย ดร. KAMIMERA, Hideyuki จาก NIED และ คุณ TOBISHIMA, Yoriko จาก NIT, และ Item 3 Area-BCM โดย Assistant Professor KODAKA, Akira และ อาจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ตามลำดับ
หลังจากนั้น อาจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ผู้จัดการโครงการ ได้นำเสนอสรุปข้อมูลจากฝั่งไทย โดยเป็นการแนะนำความคืบหน้าการจัดตั้ง กลุ่มวิจัยระบบสารสนเทศการจัดการภัยพิบัติและความเสี่ยง (DRMIS Research Group) ต่อด้วย Associate Professor INO, Eri นำเสนอสรุปข้อมูลและแผนงานจากฝั่งญี่ปุ่น

เมื่อเข้าสู่ช่วง Q&A ผู้เข้าร่วมประชุมได้ถามคำถามและรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ต่อโครงการ
คุณ MIURA, Yoshiaki ผู้ประสานงานโครงการ JICA ได้นำเสนอร่างรายงานการประชุมต่อผู้เข้าร่วมประชุม และงานประชุมได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. วิพรรณ ประจวบเหมาะ (คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์) เป็นผู้กล่าวปิดประชุมอย่างเป็นทางการ

บทสรุป
การประชุม JCC ครั้งที่ 2 ถือว่าสัมฤทธิ์ผล คณะกรรมการ JCC มีความหวังที่จะได้ทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเจตนารมณ์ของโครงการ Area-BCM ไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดย อาจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์
แปลโดย น.ส. สิริน สำเภาทิพย์

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ:
ดร. NAKASU, Tadashi
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อีเมล: tadashi.nakasu@gmail.com
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัตติยา ภูละออ
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อีเมล: ruttiya.b@chula.ac.th
อาจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อีเมลล์: natt.l@chula.ac.th

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า