ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับเชิญจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้เป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ การจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยแนวทาง Green recovery & Green new deal Environmental Transformation ในงาน IP Fair 2020 : Innovate for a Green Future
สรุปประเด็นจากการบรรยาย
จากการให้ความสำคัญของ IP โลก ในด้าน “Innovate for a green future” ในแนวทางที่มีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมเพื่ออนาคตสีเขียว
คำสำคัญเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีการพูดถึงกันมาก ได้แก่ แนวทาง Green Recovery
“Green Recovery คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม”
โดยช่วงหลังจากการเกิดวิกฤต COVID-19 ก็เป็นโอกาสที่ดีที่ภาครัฐจะหันมาทบทวนนโยบายทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อสร้างนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีเกิดผลอย่างยาวนานและยั่งยืน
โดยผลที่จะได้รับจาก Green Recovery ให้ผลดีในหลาย ๆ ส่วน โดยเฉพาะการลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (ซึ่งให้ผลที่ดีกว่าวิธีการ NDCs ที่เป็นข้อตกลงในปัจจุบัน [ภาพที่ 2]) สร้างความยั่งยืนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การลงทุนอย่างยั่งยืน การสร้างนวัตกรรม การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสุขภาวะของประชาชน [ภาพที่ 3]
Green Recovery ประกอบด้วยการพัฒนาในหลายภาคส่วน [ภาพที่ 4] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
1) Green Infrastructure เช่น ความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนารถพลังงานไฟฟ้าและระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ
2) Food System แม้เราจะได้ชื่อว่าเป็นครัวโลก แต่ในด้านความมั่นคงทางอาหาร เราอยู่ในอันดับที่ 51 ของโลก ซึ่งการทำ Green Recovery จะทำให้ความมั่นคงทางอาหารของเราดียิ่งขึ้น
3) Next-generation People การสร้าง mind-set ให้คนรุ่นใหม่ มีความตระหนักในสิ่งแวดล้อม
4) Innovation หรือนวัตกรรม ในที่นี้ ไม่ได้ต้องเป็นหุ่นยนต์หรือแอพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคยกัน หากเป็นของที่ใหม่ ดี และมีคนอยากใช้ อาจจะเป็นการ redesign ผลิตภัณฑ์ ให้มีความ Green มากขึ้น เช่น การผลิตเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถรวมน้ำจากความชื้นในอากาศและนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ [ภาพที่ 5] และการผลิตสีสำหรับงานศิลปะจากอนุภาคจากท่อไอเสีย [ภาพที่ 6]





