วิศวฯ จุฬาฯ ในสื่อ : อนุทิน ชมสาธิตเครื่องดึงวัคซีนอัตโนมัติ 4 นาที ดึงแอสตร้าฯ ได้ 12 เข็ม แม่นยำ! โดย มติชนออนไลน์

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ สธ. ชมการสาธิตกระบวนการทำงานของเครื่องดึงวัคซีนโควิด-19 อัตโนมัติ ที่พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อลดเวลาการทำงานและลดภาระงานของบุคลากรที่ทำหน้าที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อประชาชน

นายอนุทิน กล่าวว่า มีโอกาสได้พบกับ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในครั้งที่เข้ารับพระราชทานอุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมกันเมื่อ 2-3 เดือนก่อน จึงขอความอนุเคราะห์กับอธิการบดีฯ และคณบดีฯ ช่วยพัฒนาเครื่องดึงวัคซีนอัตโนมัติ เนื่องจากในปี 2564 ประเทศไทยจะมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 61 ล้านโดส โดย 1 ขวด บรรจุมาปริมาณ 6.5 ซีซี ดังนั้น หากมีวิธีที่แม่นยำ จะสามารถดึงวัคซีนได้ถึง 12 โดส ซึ่งจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนที่จะได้รับวัคซีนครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ นายอนุทิน กล่าวว่า คนไทยมีความสามารถด้านการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อย่างมาก โดยหากนำมาใช้ดึงวัคซีนก็จะช่วยลดเวลาการทำงานของบุคลากร และเพิ่มความแม่นยำสูง จึงมอบหมายให้ทาง นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ.หาแนวทางการจัดหาเครื่องดึงวัคซีนอัตโนมัติ มาช่วยสนับสนุนการฉีดวัคซีนของหน่วยบริการ และเป็นการสนับสนุนเครื่องมือที่คิดค้นโดยคนไทยอีกด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การทำงานของเครื่องดึงวัคซีนดังกล่าว สามารถปรับความถี่ของเครื่องสำหรับการดึงวัคซีนได้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ เครื่องต้นแบบและการดึงวัคซีนต้นแบบ เป็นการกำหนดสำหรับดึงวัคซีนแอส ตร้าฯ ให้ได้ปริมาณโดสละ 0.5 ซีซี ซึ่งทำให้ 1 ขวดวัคซีน สามารถดึงได้ถึง 12 โดสอย่างแม่นยำ เป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ สธ. ในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท แอสตร้าฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่ 12 โดสต่อขวด เพื่อให้เป้าหมายการฉีดวัคซีนเพื่อประชาชนให้ได้ 100 ล้านโดส ภายในปี 2564 เกิดผลสำเร็จ

สำหรับตัวเครื่องต้นแบบในการดึงวัคซีนแอสตร้าฯ จะใช้เวลาการทำงานตั้งแต่ดึงวัคซีนออกจากขวดใหญ่ที่มีปริมาณ 6.5 ซีซี หลังจากนั้น จะมีกระบวนการบรรจุวัคซีนลงไปในกระบอกฉีดทั้ง 12 กระบอก ซึ่งใช้เวลาเพียง 4 นาที นอกจากนั้น ยังสามารถปรับความถี่ของเครื่องให้สามารถใช้ได้กับการดึงวัคซีนอื่นๆ เช่น วัคซีนไฟเซอร์ ที่ต้องเจือจางความเข้มข้นด้วยน้ำเกลือก่อน เครื่องก็จะตั้งค่าให้เกิดการทำงานส่วนนี้ขึ้น เพื่อลดเวลาการทำงานของบุคลากร และมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นด้วย

ทั้งนี้ เครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ (Automate Vaccine) พัฒนาโดย ผศ. ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมวิจัย ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน

ขอขอบคุณที่มา : มติชนออนไลน์
https://www.matichon.co.th/local/news_2865375

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า