วิศวฯ จุฬาฯ ในสื่อ : น้ำมันรั่วรดอ่าวไทย มหันตภัยสิ่งแวดล้อม โดยไทยรัฐ

วิศวฯ จุฬาฯ ในสื่อ : น้ำมันรั่วรดอ่าวไทย มหันตภัยสิ่งแวดล้อม โดยไทยรัฐ
.
ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี ด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะแนวทางจัดการน้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเล โดยรวมเอาไว้ 8 ขั้นตอน

ขั้นที่หนึ่ง…การหยุดการรั่วไหลของน้ำมันให้ได้โดยเร็วที่สุด โดยดำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ อาทิ การหยุดการส่งน้ำมันและควบคุมด้วยการปิดวาล์วทันที
ขั้นที่สอง…การแจ้งเตือนและให้ข้อมูลกับภาคส่วนต่างๆ โดยทันทีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น
เจ้าหน้าที่หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบดำเนินการแจ้งเตือน…ให้ข้อมูลโดยด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจประกอบไปด้วย…เจ้าหน้าที่ที่กำลังปฏิบัติงาน เรือประมง เรือโดยสารบริเวณโดยรอบ
“การดำเนินข้างต้นอย่างเหมาะสม ทันท่วงทีจะส่งผลดีต่อการป้องกันผลกระทบทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย นั่นก็คือปัญหาต่อสุขภาพของประชากรในระยะยาวที่เกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของน้ำมันที่รั่วไหลลงในสภาพแวดล้อม…สัตว์น้ำ พืชน้ำ คุณภาพน้ำทะเล”
ขั้นที่สาม…การเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ ได้แก่ ข้อมูลด้านปริมาณ…ปริมาณและอัตราการไหลของน้ำมันที่รั่วไหลลงสู่ทะเล รวมถึงความเข้มข้นของน้ำมันในเฟสของเหลว, ข้อมูลด้านคุณภาพ…คุณภาพแหล่งน้ำ ลักษณะของสัตว์น้ำ, ข้อมูลด้านปัจจัยทางกายภาพ…สภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศ ลักษณะคลื่น ฯลฯ
ปัจจุบันกล่าวได้ว่า ข้อมูลทางดาวเทียมจัดเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำเนินการในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับน้ำมันทางทะเล
สี่…การควบคุมและจำกัดพื้นที่ของการปนเปื้อนน้ำมัน ห้า…การแยกน้ำมันปนเปื้อน ทำควบคู่ไปกับขั้นตอนการควบคุมและจำกัดพื้นที่ จากนั้นจะใช้เครื่องมือเก็บคราบน้ำมัน หรือที่เรียกว่าสกิมเมอร์ หก…การบำบัดและกำจัด เจ็ด…การติดตามตรวจสอบ และขั้นตอนข้อสุดท้าย…การฟื้นฟูสภาพ
ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ ย้ำว่า ข้อสุดท้ายนี้สำคัญ…ก่อนที่จะเริ่มฟื้นฟูสภาพเราควรที่จะทราบให้แน่ชัดถึงข้อมูล โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า เราสามารถหยุดการรั่วไหลของน้ำมันจากแหล่งกำเนิดได้แล้วหรือยัง?…ยังมีปริมาณน้ำมันอีกเท่าไหร่ที่แขวนลอยอยู่ในทะเล? …ประสิทธิภาพการแยก การบำบัด และกำจัดเป็นอย่างไร?
.
อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่
https://www.thairath.co.th/news/local/east/2299826
.

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 29 มกราคม 2565


ขอขอบคุณที่มา : ไทยรัฐ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า