พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ กับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ นางสุชิน อุดมสมพร รองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์แพทย์ เพ่งวาณิชย์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ และผู้บริหารทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน

บันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวิจัยและพัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพงานวิจัย พัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยจากการดำเนินกิจกรรมด้านนิวเคลียร์และรังสี และมุ่งหวังขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและศาสตร์ทางด้านนิวเคลียร์และรังสีต่อการพัฒนาที่ยั่งยื่นของประเทศ ทั้งในเชิงอุตสาหกรรม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และศักยภาพในการเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกแห่งอนาคต ภายใต้การใช้งานที่เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรทางด้านนี้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา

ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้มีกิจกรรมความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างองค์กรมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะระหว่างบุคลากรจากภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหน่วยงานต่าง ๆ ของสำนักงานฯ ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา การฝึกอบรม และงานวิจัยร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการทำงานร่วมกันในระดับบุคลากรและนักวิจัยมากยิ่งขึ้น สร้างความชัดเจนให้กับเป้าหมายของความร่วมมือที่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของทั้งสององค์กร และขยายความร่วมมือด้านการวิจัยทางด้านนี้ไปยังห้องปฏิบัติการ และภาคส่วนอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยให้เกิดความหลากหลายมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ อันจะเกิดขึ้นจากบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ทั้งในส่วนของบุคลากร สถานที่ อุปกรณ์ และงบประมาณ เพื่อความยั่งยืนด้านการพัฒนาการกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีต่อไป

นางสุชิน อุดมสมพร เปิดเผยว่า ความร่วมมือในวันนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนางานด้านกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อาทิ การพัฒนาเทคนิคการตรวจวัดและการวิเคราะห์กัมมันตภาพรังสีในสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์กัมมันตภาพรังสีเพื่อความปลอดภัยในสินค้าอุปโภคบริโภค การตรวจวิเคราะห์ก๊าซกัมมันตรังสีเรดอน-222 การพัฒนาทักษะบุคลากรและระบบเครือข่ายห้องปฏิบัติการให้เป็นตามมาตรฐานสากล เพื่อให้การวิเคราะห์มีความความแม่นยำสูงสุด รวมถึงการสนับสนุนความร่วมมือในการทดสอบความรู้และอบรมเกี่ยวกับการต่อใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า