คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงทุนบริษัท spin-off แห่งแรก นำนวัตกรรมหน้ากากรางวัลระดับโลกประสิทธิภาพการกรอง 99% ออกสู่ตลาด

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงทุนบริษัท spin-off แห่งแรก นำนวัตกรรมหน้ากากรางวัลระดับโลกประสิทธิภาพการกรอง 99% ออกสู่ตลาด

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าถึงเรื่องนี้ว่า “จากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนให้จัดตั้ง Club Chula Spin-Off ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก Deep Tech Startup กว่า 50 บริษัท ที่นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเมื่อช่วงปลายปี 2564 ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีมูลค่าตลาดรวมแล้วกว่า 1.67 หมื่นล้านบาท ในขณะนี้ ตัวอย่างได้แก่ บริษัท ใบยา Phytopharm Haxter Robotics Nabsolute Tann D และ Innofood เป็นต้น

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการในการจัดตั้งบริษัท University Holding Company ตามนโยบายของทางมหาวิทยาลัยโดยเร็วเพื่อลงทุนในกิจการ start up ด้วยเป้าประสงค์ที่จะนำเทคโนโลยีมาสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงที่พร้อมจะนำออกไปใช้ในโลกจริง การตั้ง CU Engineering Enterprise เป็น Holding Company จึงเกิดขึ้นเพื่อเข้าลงทุนงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยต่อเนื่องจนถึงการผลิตและการจัดการ

Startup แรกที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เข้าลงทุนผ่านโครงสร้างนี้คือ บริษัท CURE Enterprise ซึ่งมีผลงานผลิตภัณฑ์ที่เริ่มผลิตจริงแล้วสำหรับการกรองอากาศหายใจ เป็นหน้ากาก respirator ประสิทธิภาพสูงสุด จากการร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ (MMRI) และ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา  สร้างนวัตกรรมจากกองทุนศตวรรษที่สองของจุฬาฯ ซึ่งในแล็บนี้ประกอบไปด้วยคณาจารย์นักวิจัยกว่าสิบท่านจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ MMRI เป็นหลักเพื่อทดสอบ วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสาธารณสุขสำหรับคนไทยอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต”

ทางด้าน นายพรเลิศ ลัธธนันท์ CEO และประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท CU Engineering Enterprise ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้

“คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีคณาจารย์ที่มีความสามารถอยู่เป็นจำนวนมากที่งานวิจัยมีความพร้อมจะก้าวไปสู่ขั้นการผลิตและนำออกสู่มือประชาชนและลูกค้าระดับองค์กรแต่ยังขาดเพียงการบริหารและการลงทุน ซึ่ง CU Engineering Enterprise หรือนามย่อ CUEE จะเข้ามาสนับสนุน startup เหล่านี้ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงยั่งยืนเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน ซึ่งในอนาคตอาจทำให้เกิด valuation หรือแม้แต่การออก IPO ก็เป็นไปได้

CUEE จะเน้นในการทำงาน Research to Reality อย่างรวดเร็ว บริหารงานเป็นขั้นเป็นตอน ให้นวัตกรรมต่าง ๆ ที่ออกสู่ตลาดมีคุณภาพสูงสุดและสามารถแข่งขันได้ทางด้านธุรกิจทั้งในประเทศไทยและในตลาดโลก โดยเฉพาะในด้านที่ทางนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีความพร้อม เช่น ด้านผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพและสาธารณสุข, AI Platform ด้านการเรียนการสอน, Nano technology เป็นต้น

ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้กล่าวถึงผลิตภัณฑ์แรกของ spin-off จาก CUEE Holding Company ดังนี้

“ทาง CURE Enterprise บริษัท spin-off แรกของเราได้สร้างนวัตกรรมหน้ากาก CUre AIR SURE ซึ่งเป็นผลงานจากการร่วมมือกันทำงานเป็นระยะเวลานับปีโดยสามสถาบันภายในของจุฬาฯ และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชนเช่น SCG Packaging เครือบริษัท TCP เครือสหพัฒน์และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตั้งแต่การออกแบบ ผลิตชิ้นส่วน และประกอบผลิตภัณฑ์ได้สำเร็จในประเทศไทย จนได้รับรางวัล G Mark ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่รางวัลระดับโลกด้านการออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพจากประเทศญี่ปุ่น

โดยหน้ากาก CUre AIR SURE มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.1 micron สูงถึง 99% กระชับใบหน้า อากาศไม่รั่วไหล หายใจสะดวก ดูแลรักษาง่าย ใช้งานซ้ำได้นานนับปี เหมาะที่จะใช้งานได้ในทุกพื้นที่ โดยมีต้นทุนการใช้งานประมาณวันละห้าบาท นอกจากนี้แล้วผลประกอบการของบริษัท CURE Enterprise กว่า 60% จะถูกนำกลับสู่จุฬาฯ เพื่อส่งเสริมงานวิจัยอื่นของทางมหาวิทยาลัยต่อไป”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า