พิธีเปิดศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering Research Center)

เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดพิธีเปิดศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering Research Center) ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับทุน “สร้างเสริมพลังจุฬาฯ” ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ช่วงที่ 2 ณ หอประชุม 117 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชผ่านระบบ Metaverse ที่จำลองสถานที่ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช ที่ตั้งอยู่ที่ชั้น 10 อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับชมผ่านโลกเสมือน ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากทีมคณาจารย์และนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าในการจัดทำระบบ Metaverse นับเป็นนวัตกรรมการเปิดงานในยุค New Normal ที่ช่วยลดความเสี่ยงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19  

นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก. ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานแผนงานกองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) และ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวถึงความสำคัญในการผลักดันให้เกิดการจัดตั้งศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชในครั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการยกระดับมหาวิทยาลัย สร้างเสาหลักสำคัญของมหาวิทยาลัยเพื่อให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและโลกในศตวรรษใหม่ คือ BAScii, Siam innovation District และ University Technology Center โดยหนึ่งในเป้ายุทธศาสตร์หลัก คือ การผลักดันและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านชีวการแพทย์ สร้างผลกระทบต่อสังคมและสังคมสูงวัย การจัดตั้งศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวชเป็นกลยุทธที่สำคัญของจุฬาฯ ที่จะสร้างเครือข่าย และผนึกกำลังของคณาจารย์และนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ เข้าด้วยกัน มุ่งเน้นการดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง สร้างผลกระทบในวงกว้างให้กับประเทศไทยและต่างประเทศ

ภายในงานได้จัดให้มีการนำเสนอผลงานโครงการนวัตกรรมวิศวกรรมชีวเวช จำนวน 5 โครงการ ได้แก่

  1. โครงการการขอรับรอง CE Mark ระบบริหารคุณภาพ (ISO 13485) และการทดสอบทางคลินิกของเท้าเทียมไดนามิกส์สำหรับผู้พิการขาขาด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ
  2. โครงการพัฒนาอนุภาคกระดูกเทียมจากโปรตีนไหมไทย และแคลเซี่ยมฟอสเฟต โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โศรดา กนกพานนท์
  3. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุปกรณ์นำทางเข็มสำหรับเครื่องอัลตร้าซาวน์และต้นแบบอุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดไมครอน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวาณิช
  4. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดูกไทเทเนียมสั่งตัดเฉพาะบุคคล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน / ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร
  5. โครงการนวัตกรรมช่วยสังคมในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์

ปัจจุบันศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช (Biomedical Engineering Research Center) มีคณะกรรมการบริหารศูนย์วิจัยที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหลายหน่วยงาน อาทิเช่น ผู้แทนกรรมการบริหารหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช ผู้แทนจากสำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ ผู้แทนจากคณะแพทยศาสตร์ เป็นต้น

ภายในงานยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญ คือ พิธีลงนาม MOU ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และบริษัท เมติคูลี่ โดย คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ กรรมการบริษัท เมติคูลี่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ร่วมกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า