สามหน่วยงานจุฬาฯ รวมพลังพัฒนานวัตกรรมหน้ากากรางวัลระดับโลกมาให้ชาวไทยได้ใช้เพื่อช่วยป้องกันภัยทางสาธารณสุข

หน้ากาก CUre Air Sure ซึ่งมีประสิทธิภาพการกรองอากาศสูงถึง 99% เกิดจากความร่วมมือภายในสถาบันต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันมีบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศได้นำไปใช้งานแล้วกว่าแล้วกว่า 18,000 ราย รวมถึงในโรงพยาบาลจุฬาฯ และหน้ากากดังกล่าวได้รับรางวัลระดับโลกด้านนวัตกรรมการดีไซน์ทางสุขภาพจากเวที Good Design Award 2021 ประเทศญี่ปุ่น วันนี้พร้อมแล้วที่จะนำมาให้ประชาชนได้ใช้ในการป้องกันตนเองในช่วงระยะเวลาที่มีความเสี่ยงสูงในประเทศไทย

รศ. นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า

“คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักดีถึงปัญหาทางสุขภาพของคนไทยที่เกิดได้จากทางอากาศหายใจ  จึงได้ร่วมมือพัฒนานวัตกรรมหน้ากาก CUre AIR SURE โดยความร่วมมือกันในครั้งนี้เกิดจากคณาจารย์จากภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์เป็นผู้ร่วมทำการวิจัยในโครงการดังกล่าวกับสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ (MMRI) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จากความสนับสนุนอย่างดีจากทุกฝ่ายจนได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีเลิศ จนเกิดนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเสริมสร้างความปลอดภัยและใช้งานง่าย

ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์มีความตั้งใจที่จะร่วมพัฒนาและนำผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงที่เป็นนวัตกรรมทางสุขภาพจากจุฬาลงกรณ์หมาวิทยาลัย ออกสู่การใช้งานของประชาชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนไทยอย่างต่อเนื่องต่อไป ดังเช่นหน้ากาก Cure Air Sure นี้เป็นต้น”

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสริมว่า

“ความสำเร็จของนวัตกรรมหน้ากาก CUre AIR SURE นั้น เกิดจากการการผนึกกำลังกันเป็นระยะเวลากว่าปีของสามสถาบันภายในของจุฬาฯ แบบ cross discipline พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชนเช่น SCG Packaging, เครือบริษัทTCP เครือสหพัฒน์ และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ  ที่ร่วมแรงและร่วมใจใจตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตชิ้นส่วน จนถึงกระบวนการประกอบ ซึ่งล้วนเกิดขึ้นในประเทศ

สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือกันในครั้งนี้ก็คือผลิตภัณฑ์ที่ ผ่านการทดสอบจากห้องแล็บมาตรฐานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศตามมาตรฐานสากล ASTM ที่พบว่าเป็นหน้ากากที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าหน้ากาก N95 เนื่องจาก

  • ประสิทธิภาพการกรองอานุภาคขนาด 0.1 micron สูงถึงประมาณ 99%
  • Fit Test Score ความกระชับไม่รั่วไหล 192 คะแนน ให้ปลอดภัยสูงแม้ในพื้นที่เสี่ยง
  • หายใจสะดวกกว่าหน้ากาก N95 หรือหน้ากากสองชั้น ทั้งยังดูแลรักษาง่าย
  • ประหยัดและลดมลภาวะเพราะตัวหน้ากากใช้ซ้ำได้นานนับปี เพียงเปลี่ยนแผ่นกรองอาทิตย์ละครั้ง

จากความมั่นใจที่เกิดขึ้นกับผู้ที่ผนึกกำลังกันในครั้งนี้จากทุกภาคส่วน สู่ความต้องการที่จะให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง จุฬาฯ จึงได้ส่งมอบหน้ากาก CUre AIR SURE กว่า 18,000 ชุดให้บุคลากรในโรงพยาบาลและผู้ที่ทำงานในแนวหน้า กว่า 300 แห่งทั่วประเทศ และพบว่าผลตอบรับจากการใช้งานจริงเป็นที่ประทับใจ เนื่องจากหายใจสะดวก ดูแลรักษาง่าย เหมาะที่จะใช้งานได้ในทุกพื้นที่ และใช้ได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัยได้นับปี ทำให้ต้นทุนในการใช้ต่อวันนั้นค่อนข้างต่ำในขณะที่ได้รับการปกป้องในระดับสูงที่สุด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยีในการป้องกันคนไทยจากอันตรายต่าง ๆ ที่มาทางอากาศที่หายใจ  จึงได้อนุมัติงบประมาณจากกองทุน C2F (กองทุนเพื่อศตวรรษที่สองของจุฬาฯ) เพื่อจัดตั้งแล็บพิเศษโดยเฉพาะสำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการกรองขึ้น ซึ่งแล็บนี้ประกอบไปด้วยนักวิจัยมากกว่าสิบท่านจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ เพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและวิทยาการทางด้านการกรองอนุภาคต่าง ๆ ในหลากหลายวิธีการใช้งานต่อไป”

CUre AIR SURE พัฒนาโดยบริษัท CUre Enterprise ซึ่งเป็นหน่วยงาน spin-off ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผลประกอบการกว่าครี่งจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพสำหรับประชาชนไทยอย่างต่อเนื่อง

หน้ากาก CUre AIR SURE มีวางจำหน่ายแล้วที่

  • ร้านโอสถศาลา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ
  • ร้านขายยาในเครือ Pharmax
  • Shopee และ LAZADA

ราคาชุดลละ 500 บาท พร้อมแผ่นกรองกรองสำหรับการใช้งานหนึ่งเดือน และชุดแผ่นกรองกรองราคา 100 บาท (สำหรับใช้งานหนึ่งเดือน)