วิศวฯ จุฬาฯ จับมือหน่วยงานรัฐฯ ทดสอบระบบ 5G เชื่อมต่อเทคโนโลยีรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ยานยนต์แห่งอนาคต พร้อมเพิ่มศักยภาพความปลอดภัยในการเดินทาง

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดแพลทฟอร์มวิจัยและทดสอบระบบรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ (Autonomous Shuttle pod) โดยนำเทคโนโลยี CAV ที่เห็นในต่างประเทศ มาพัฒนาและทดสอบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก  โดยวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี เป็นประธานเปิดตัวรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ร่วมกับหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พร้อมผู้แทนจากกรรมการบริหารของคณะฯ ดำเนินการทดสอบความสามารถของรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับในการตรวจจับวัตถุต่าง ๆ ขณะขับขี่แบบไร้คนขับ เพื่อนำไปพัฒนาการควบคุมรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับในอนาคต ซึ่งรถประเภทนี้จะใช้รับส่งผู้โดยสารในช่วงต้นและท้ายของการเดินทาง (First-last mile) โดยเชื่อมต่อกับการเดินทางโหมดอื่น ๆ เช่น รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถเมล์และการเดินทางอื่น ๆ โดยวิศวฯ จุฬาฯ มีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาและนำรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับมาให้บริการรับส่ง หรือ เปิดให้บริการเรียกผ่านแอปไร้คนขับเพื่อช่วยแก้ปัญหาการจราจรในอนาคต

เทคโนโลยีรถไร้คนขับ ยานยนต์แห่งอนาคต เป็นหนึ่งใน 4 ส่วนประกอบสำคัญของยานยนต์สมัยใหม่ ที่ประกอบด้วย C-A-S-E กล่าวคือ Connected, Automated, Shared และ Electric vehicle ซึ่งถ้าเทียบกับส่วนประกอบอื่นแล้ว รถไร้คนขับต้องการความพร้อมและการผนวกรวมในระดับสูงสุด ของทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารและคมนาคม  ดังนั้นภายใต้โครงการการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถรับส่งโดยสารไร้คนขับนี้  คณะวิศวฯ จุฬาฯ จึงมีเป้าประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อมาร่วมวิจัยและทดสอบระบบรถไร้คนขับในระดับต่าง ๆ โดยที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนจาก กสทช. และ กทปส. ซึ่งในจุดเริ่มต้นนี้ทีมงานของโครงการจึงเกิดจากความร่วมมือของคณาจารย์ภายในคณะวิศวฯ จากภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

อุบัติเหตุทางถนนมีโอกาสลดลงได้หากการพัฒนาเทคโนโลยีรถไร้คนขับประสบผลสำเร็จ การจัดทำการทดลองไม่ได้ช่วยแค่ควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น แต่การทดสอบนี้ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพความปลอดภัยในการเดินทางด้วย ซึ่งการทดลองนี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart MOB) เป็นศูนย์วิจัยบูรณาการแห่งแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่มีการศึกษาและพัฒนาด้านระบบขนส่งอัจฉริยะ ยานยนต์ไฟฟ้า ระบบความปลอดภัยทางถนน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านการเดินทางขนส่งของสังคมผู้สูงวัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวถึงการทดลองครั้งนี้ว่า ศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility Research Center) มุ่งหวังให้แพลทฟอร์มรถไร้คนขับที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้ เป็นแพลทฟอร์มกลางเพื่อให้นักวิจัยจากภาควิชาต่าง ๆ หรือแม้แต่จากคณะต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมใช้ประโยชน์ อันจะเป็นการขยายผลการทดสอบ use case ของรถไร้คนขับเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้บริโภคและผู้ใช้ท้องถนนในอนาคตต่อไป ซึ่งในการจัดงานครั้งนี้ยังได้มีการพูดคุยถึงแนวทางการทดสอบระบบรถไร้คนขับที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีหลายส่วน ให้สามาถใช้ได้จริงในอนาคต โดยใช้ระบบสื่อสาร 5G มาใช้งานระหว่างรถไร้คนขับกับระบบอื่น ๆ ด้วย

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวฯ จุฬาฯ นำทีมหัวหน้าโครงการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ หัวหน้าศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เปิดแพลทฟอร์มวิจัยและทดสอบระบบรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ (Autonomous Shuttle pod)
คณบดี พร้อมกับทีมงานโครงการโครงการทดลองการสื่อสารด้วยระบบ 5G สำหรับรถไร้คนขับ ร่วมเปิดแพลทฟอร์มวิจัยและทดสอบระบบรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีนำทีมหัวหน้าโครงการรถไร้คนขับและหัวหน้าศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะเปิดแพลทฟอร์มวิจัยและทดสอบระบบรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ (Autonomous Shuttle pod)

ภาพเรียงจากซ้ายไปขวา : รศ. ดร.สรวิศ นฤปิติ หัวหน้าโครงการทดลองฯ ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวฯ และ รศ. ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ
คณบดีและคณะดำเนินโครงการร่วมทดลองนั่งรถรับส่งโดยสารไร้คนขับ

ภาพเรียงจากซ้ายไปขวา : ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวฯ รศ. ดร.สรวิศ นฤปิติ หัวหน้าโครงการทดลองฯ รศ. ดร.แนบบุญ หุนเจริญ และ รศ. ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ
ภาพขณะทำการทดสอบระบบ 5G เชื่อมต่อเทคโนโลยีรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ยานยนต์แห่งอนาคต
ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาพขณะทำการทดสอบระบบ 5G เชื่อมต่อเทคโนโลยีรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ยานยนต์แห่งอนาคต
ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาพขณะทำการทดสอบระบบ 5G เชื่อมต่อเทคโนโลยีรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ยานยนต์แห่งอนาคต
ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาพขณะทำการทดสอบระบบ 5G เชื่อมต่อเทคโนโลยีรถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ยานยนต์แห่งอนาคต
ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย