คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดกิจกรรม CSR มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน พร้อมทั้งมอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ จังหวัดพังงา

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดี พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล กิตติศุภกร รองคณบดี รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ ผู้ช่วยคณบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดี นางสงวน ภู่ระหงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร และบุคลากร ได้ไปทำกิจกรรม CSR มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน พร้อมทั้งมอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ จังหวัดพังงา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม CSR เพื่อลดปัญหามลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือสังคมอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ Sensor for all ตลอดจนสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างหน่วยงานและองค์กรที่แข็งแกร่งในอนาคต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ ศูนย์ราชการจังหวัดพังงา โดยมีนายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา และนายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ สถานีตำรวจชุมชนวังหม้อแกง
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน พร้อมทั้งมอบและติดตั้งเครื่อง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ภายใต้โครงการ Sensor for all ปีที่ 4 ณ โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง โดยมี นางศุภรัตน์ ทรายทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์มอบอุปกรณ์กีฬาและอุปกรณ์การเรียน ณ โรงเรียนเกาะปันหยี โดยมีนางพนารัตน์ สุรียพันธุ์ รักษาราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะปันหยี และนายไพศาล วารีศรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเกาะปันหยี เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ
  • กิจกรรมปล่อยปูสู่ทะเล ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เกาะปันหยี

โดยกิจกรรม CSR ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดขึ้นเป็นกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริม Sustainable Development Goals (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 : การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมายที่ 4 : รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และเป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน

ทั้งนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้สอบถามความคิดเห็นของคนในชุมชนต่อกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ซึ่งสรุปความเห็นโดยรวมได้ ดังนี้

การติดตั้ง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 ให้กับสถานที่ทั้ง 7 แห่ง นั้น สมาชิกในชุมชนมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของการติดตั้ง Sensor ตรวจวัดสภาพอากาศ มลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5  ซึ่งจะทำให้มีข้อมูลสำหรับวางแผนพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศได้ เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนในชุมชนให้ดีขึ้น

เนื่องจากสภาพแวดล้อมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ทรัพยากรทางทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างมากและรวดเร็ว ส่งผลกระทบให้ปูในทะเลมีการขยายพันธุ์น้อยลง เนื่องจากกสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย  ดังนั้น การปล่อยพันธุ์ปูสู่ทะเลจึงเป็นการเพิ่มจำนวนปูให้มีปริมาณมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล ประชาชนได้มีปูไว้บริโภคและสร้างรายได้  อีกทั้ง เพื่อให้บุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเล็งเห็นถึงความสำคัญของทรัพยากรทางทะเล จึงจัดกิจกรรมปล่อยปูสู่ทะเล ณ บริเวณพื้นฐานของศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เกาะปันหยี จ.พังงา

บุคลากรและนักเรียนโรงเรียนทั้ง 4 แห่ง มีความประทับใจต่อกิจกรรมการมอบอุปกรณ์การเรียนและอุปกรณ์กีฬาเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และนักเรียนเห็นคุณค่าของการออกกำลังกาย ส่งเสริมให้พัฒนาทักษะด้านวิชาการและด้านกีฬา  อีกทั้งยังได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องมลภาวะและค่าฝุ่น PM 2.5 อีกด้วย

#ChulaEngineering #InnovationTowardSustainability
#SensorForAll