คณะกรรมการกำหนดแผนงานกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรม (iSPEED) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติ “การระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนางานวิจัยสนับสนุนการเรียนการสอน และการอบรมเทคนิคการแสดงเพื่อการสอน”

คณะกรรมการกำหนดแผนงานกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรม (Intania Strategic Platform for Engineering Education Development) หรือ iSPEED สังกัดภายใต้ฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติ “การระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนางานวิจัยสนับสนุนการเรียนการสอน และการอบรมเทคนิคการแสดงเพื่อการสอน” เมื่อวันที่ 1 – 3 มิถุนายน 2566 ณ บ้านอัมพวารีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวเปิดงานสัมมนาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร ประธานฯ คณะกรรมการ iSPEED กล่าววัตถุประสงค์ในการจัดงานพร้อมให้ข้อมูลกิจกรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร ผู้แทนคณาจารย์จากภาควิชาที่เป็นคณะทำงานฯ ได้แก่ ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล (ผู้ช่วยคณบดี) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณี แสงแก้ว (ผู้ช่วยคณบดี) รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนชัย สมิทธากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์ พุ่มรินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร.กุณฑินี มณีรัตน์ รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญารัตน์ สิงหนาท รองศาสตราจารย์ ดร.รัชทิน จันทร์เจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชญ์ ภัคโชตานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ อาจารย์ ดร.จรัสพัฒน์ พฤกษารัตนวุฒิ อาจารย์ ดร.จตุพล โอภาไพบูลย์ และคุณกรรณิการ์ สวรรค์โพธิพันธุ์ (หัวหน้าภารกิจบูรณาการการศึกษา) ตลอดจนบุคลากรภารกิจบูรณาการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้ง

 

 

โดยวันที่ 1 เริ่มกิจกรรมในหัวข้อเรื่อง Teaching &  Learning Research Class ซึ่งเป็นกิจกรรมช่วงที่ 1 “การเลือก PO (Program Objective) Professional skills” ประจำกลุ่ม จากนั้นระดมความคิดระบุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม พร้อมแนวทางการวัดผลเพื่อให้ได้มา โดยมีการนำ CDIO Syllabus มาเป็น guideline ในเชิงทฤษฎี รวมถึงการใช้แนวทางจากประสบการณ์จริงของอาจารย์แต่ละท่านในการสอนมาผสมผสานในการทำกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมนี้จึงเน้นการเขียนและกำหนดแนวทางการวัดประเมินวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของ outcomes เป็นหลัก

กิจกรรมช่วงที่ 2 “วิเคราะห์รากของปัญหา : การสื่อสารของนิสิตกับอาจารย์” โดยระบุอาการ และ 5 WHY เป็น tools เพื่อหารากของปัญหา ซึ่งสกัดอาการและสาเหตุได้จากปัญหาที่อาจารย์ได้พบเป็นหลักและสามารถนำผลจาก MyCourseVille ที่นิสิตได้มีการประเมินบางส่วนมาประกอบการทำกิจกรรมนี้

กิจกรรมที่ 3 “วิเคราะห์รากของปัญหา : เทคนิคการสอน & feedback จากนิสิตที่ได้รับมา” เราได้แบ่งลักษณะของกลุ่มวิชาออกเป็นวิชาในรูปแบบ Lecture / Project / Lab/ lecture & Project และมาระดมความคิดเห็นเพื่อสกัดอาการ/ สาเหตุของปัญหา รวมถึงสามารถนำผลจาก MyCourseVille ที่นิสิตได้มีการประเมินบางส่วนมาประกอบการทำกิจกรรมนี้

ซึ่งในทุกช่วงกิจกรรมได้มี world tour สำหรับการเดินรับฟังการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม

 

กิจกรรมในวันที่ 2 ในหัวข้อ “Teaching Character & Creating Positive Classroom” โดยได้เกียรติจากครูต้า วิทวัส สังสะกิจ อาจารย์พิเศษจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการสายการผลิต รวมถึงเป็นครูสอนการแสดงให้กับศิลปินหน้าใหม่ ภายใต้บริษัท สตาร์ ฮันเตอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นส์ จำกัด มาร่วมเป็นวิทยากรพิเศษในกิจกรรม อาทิเช่น

– How to build a Character: The Acting Process (External / Internal Character)

– Voice Projection: Laban Technique

– Creating Positive Classroom: Reverse Thinking Technique

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า