วิศวฯ จุฬาฯ ในสื่อ : นวัตกรรมทางการแพทย์จากไหมไทย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมกับโปรตีนไหมไทย จนเกิดเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยา ของการรักษาโรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม การผลิตหลอดเลือดเทียม เส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม การพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติ การทำเปลือกตาเทียม ทำแผ่นปิดแผลนำส่งยา การทำผิวหนังเทียม และกระดูกเทียม
.
นวัตกรรมทางการแพทย์จากไหมไทยนี้ นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ดำรงค์ศักดิ์กุล และ รองศาสตราจารย์ ดร.โศรดา กนกพานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการวิจัยเนื่องจากเห็นว่าไหมไทยเป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญ และมีสมบัติที่ดีเหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ทางการแพทย์ จึงได้ดำเนินงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง จนประสบความสำเร็จสามารถนำมาใช้เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ในการรักษาโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ ได้
.
ความร่วมมือในโครงการ “ไหมไทย” จากอุตสาหกรรมสิ่งทอสู่นวัตกรรมเพื่อการแพทย์นี้ ดำเนินการโดย บริษัท เอนจินไลฟ์ จากัด (EngineLife) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้การบ่มเพาะของ CU Engineering Enterprise ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก CU Innovation Hub ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
ขอบขอบคุณที่มา : ไทยโพสต์
ฉบับวันที่ 26 กรกฎาคม 2566