วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ สถานีวิทยุจุฬาฯ จัดการประกวดนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมรอบชนะเลิศ (Final Pitching) ภายใต้โครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 “Decode the Pipeline : Electrify the Future รวมพลังคิด(ส์) ฝ่าวิกฤตพลังงาน”

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประกวดนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมรอบชนะเลิศ (Final Pitching) ภายใต้โครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 “ Decode the Pipeline : Electrify the Future รวมพลังคิด(ส์) ฝ่าวิกฤตพลังงาน ” ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา อาคารมงกฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

.
ก่อนเริ่มการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (Final Pitching) ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวต้อนรับและสรุปผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ที่ผ่านมา
.

ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล กล่าวว่า สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสื่อมวลชนได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ทั้งด้านการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ (awareness) ผ่านรายการ Envi Insider หนึ่งในรายการวิทยุของสถานีฯ โดยมีคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแขกรับเชิญ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชาและจากหลากหลายภาคส่วนมาร่วมรายการเพื่อแพร่ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนทั่วไป นำไปสู่ความร่วมมือระหว่างสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดโครงการ ENVI Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว สำหรับโครงการ ENVI Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 นี้ได้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Decode the Pipeline: Electrify the Future รวมพลังคิด(ส์) ฝ่าวิกฤตพลังงาน” โดยมีเป้าหมายเพื่อปลูกฝังแนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนของตนเองผ่านการทำโครงงานนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จากการคัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนกว่า 800 ทีมจากโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีเพียง 20 ทีมเท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก และได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรีเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน และจากทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 20 ทีมนี้มีเพียง 8 ทีมเท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ และได้เข้าร่วมกิจกรรมเหลาคม (sharpening session) เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นก่อนเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในวันนี้
.
ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ (Final Pitching) แต่ละทีมได้นำเสนอโครงงานนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของตนเองและตอบคำถามจากคณะกรรมการรวมเป็นเวลา 10 นาที โดยผลการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศมีรายละเอียดดังนี้

รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ทีม MVSK SMA BOYZ จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “ทุ่นลอยน้ำไดนาโม”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายหาญพล พรหมสมบัติ (2) นายศักดิ์นที อ่อนรักษ์ และ (3) นายจักรวัฒน์ ชูเกิด โดยมีครูสมศักดิ์ คงสกุล เป็นครูที่ปรึกษา
.
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ทีม ACS ENVI YAISON จากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “ฉนวนกันความร้อนจากใยสน”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายเสฏฐนันท์ พลคำ (2) นายกรวิชญ์ สุรฤทธิ์โยธิน และ (3) นายศิวัจน์ เวชสวัสดิ์ โดยมีครูเดชา ขันธจิตต์ เป็นครูที่ปรึกษา
.
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ ทีมเอิ้ดเอิ้ดพร้อมติด จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานคลื่นสำหรับเรือประมง”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายพันธุ์ธัช ปราการรัตน์ (2) นางสาวโรสลิล เมฆทวีพงศ์ และ (3) นายภัทรพล สีเที่ยงธรรม โดยมีครูนาอีม บินอิบรอเฮง เป็นครูที่ปรึกษา
.
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท ได้แก่
– ทีม Care Energy Care World จากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “ร่ม Solar Cell ติดพัดลม”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายนัทธพงศ์ เทพบุรี (2) นางสาวกฤติยาภรณ์ แซ่อึ้ง และ (3) นางสาวกัญญาวีร์ กาญจนกุล โดยมีครูสุกัญญา นาคอ้น เป็นครูที่ปรึกษา
– ทีม INFINIX จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้นำเสนอนวัตกรรม “การผลิตไฟฟ้าจากลมของแอร์ คอมเพรสเซอร์”
สมาชิกในทีมประกอบด้วย (1) นายธีรภัทร สอาดสุด (2) นายอติคุณ ชัยวรรณะ และ (3) นายโชติวัฒนา ทองสะอาด โดยมีครูกฤติพงศ์ วชิรางกุล เป็นครูที่ปรึกษา
.
หลังจากการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศเสร็จสิ้น ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวแสดงความยินดีและกล่าวปิดโครงการฯ
.
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าวว่า จากการดำเนินโครงการฯ ตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา เราได้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจและศักยภาพของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการเรียนรู้และนำเสนอแนวคิดและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งประเด็นความยั่งยืนเป็นสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้กันไปแล้วจากการเข้าร่วมโครงการฯ นี้ นอกเหนือจากความยั่งยืนแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะมีบทบาทสำคัญในวันข้างหน้าคือปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก สำหรับแนวคิดและนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่นักเรียนได้นำเสนอในวันนี้ หากทีมใด (ไม่จำเพาะว่าต้องเป็นทีมที่ได้รับรางวัลเท่านั้น) ต้องการต่อยอดนวัตกรรมของตนเอง ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้เตรียมทุนการศึกษาไว้จำนวนหนึ่งสำหรับการพัฒนาต่อยอดโครงงานฯ ของนักเรียนด้วย หลังจากโครงการฯ นี้ได้ดำเนินงานเสร็จสิ้นลงไปแล้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่ได้ผ่านการเข้าร่วมโครงการฯ นี้กับเราจะยังคงพัฒนาและต่อยอดแนวความคิดของทีมตนเองไปสู่การปฏิบัติ อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่ Thailand Inclusive Growth ไปด้วยกันต่อไป

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า