งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส” (Wireless Communication Networks and Services in AI and Metaverse Era)

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ร่วมกับศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส” (Wireless Communication Networks and Services in AI and Metaverse Era) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัดบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
.
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเปิดงานและกล่าวรายงานการสนับสนุนความร่วมมือในการจัดกิจกรรมระหว่างหน่วยงาน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไป
.
รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้ร่วมต้อนรับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อดังนี้
– คุณสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) หัวข้อ “การกำกับดูแลการใช้งานคลื่นความถี่”
– ดร.พีรเดช ณ น่าน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ หัวข้อ “The AI Revolution: How It’s Shaping the Future of 6G Networks”
– ร้อยโท ดร. เจษฎา ศิวรักษ์ หัวหน้างานฝ่ายรัฐกิจและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด หัวข้อ “5G Private Networks”
– ดร.ธัชภร สงวนพวก Senior Specialist Radio Research (Standardization) Nokia, Oulu, Finland หัวข้อ “3GPP standardization Rel 18 (5G advanced) and 6G based machine learning”
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรัล ศาลากิจ ผู้อำนวยการศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (SMSS) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อ “Smart Mechanical Systems for Sustainability (SMSS)”
– รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษฎา พนมเชิง รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อ “CU-Verse”
– คุณสุณี บุญเทวี ผู้แทนจากบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หัวข้อ “การสาธิตโครงการสร้างศูนย์บริการในโลกเสมือน”

พร้อมทั้งเวทีการเสวนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในหัวข้อ “ความร่วมมือของหน่วยงานกำกับดูแลภาคเอกชน และภาคการศึกษาในการขับเคลื่อนระบบสื่อสารโทรคมนาคมของชาติในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส” โดย คุณรังสรรค์ จันทร์นฤกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจลูกค้าองค์กร บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พสุ แก้วปลั่ง ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และผู้บริหาร ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาร่วมให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกรณีศึกษาในการพัฒนาการขับเคลื่อนระบบสื่อสารโทรคมนาคมของชาติในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส อีกทั้งแนวทางการส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน และโอกาสในการร่วมมือกันเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศต่อไปในอนาคต

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า