ผู้เรียนรายวิชาแนวโน้ม เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสิ่งแวดล้อม (ETTI) ในโครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) รอบที่ 3 ปี 2566 เข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจให้มีความยั่งยืนและนำเสนองานกลุ่มเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ณ ณ BRANDi and Companies HopeQuarter

เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ผู้เรียนรายวิชาแนวโน้ม เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางสิ่งแวดล้อม (ETTI) ในโครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) รอบที่ 3 ปี 2566 ภายใต้หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตวิศวกรรมเพื่อความยั่งยืน (Innovative Engineering for Sustainability: IES) ในแขนงวิชาความยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการ REskill-Upskill จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) กว่า 50 ท่าน ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจให้มีความยั่งยืนและนำเสนองานกลุ่มเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ณ ณ BRANDi and Companies HopeQuarter
.
กิจกรรมในช่วงเช้า ได้รับเกียรติจากคุณปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ แอนด์ คอมพานีส์ จํากัด ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจให้มีความยั่งยืน ผ่านหัวข้อ ESG in Action: Transforming into a Sustainable Business หลังจากนั้น ในช่วงบ่าย ผู้เรียนทั้ง 10 กลุ่ม ได้ร่วมนำเสนองานกลุ่มเกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยี/นวัตกรรมที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ซึ่งมีหัวข้อ ดังนี้
.
กลุ่มที่ 1 AI For Smart Building
กลุ่มที่ 2 My Carbon Footprint Tracking App
กลุ่มที่ 3 Climate Smart Agriculture
กลุ่มที่ 4 EV ECO Charging Station
กลุ่มที่ 5 Waste For Life
กลุ่มที่ 6 ECO Terra (Green Roof & Walls)
กลุ่มที่ 7 Sustainable Energy from Plants
กลุ่มที่ 8 GROB Community Waste Management
กลุ่มที่ 9 Agroforestry (Mixed Forestry)
กลุ่มที่ 10 Green Energy Industrial Park
.
โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า