งานเสวนา Chula ลองก่อน! ในหัวข้อ “อยู่ให้รอดในยุค AI”
วันที่ 18 กันยายน 2566
“AI มาอยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้น คนที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางจะถูก Disrupt โดย AI ก่อน ภาคการศึกษาก็จะต้องมีการปรับตัวให้ก้าวทันได้มากขึ้น ไม่ใช่แค่เฉพาะนักวิจัย นิสิต บุคลากร ทุกคนจะต้องมีความเข้าใจและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการอยู่รอดในยุค AI”
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“หาประสบการณ์ และอย่ากลัวที่จะมีประสบการณ์กับสิ่งใหม่ โดยเฉพาะเรื่อง AI เราล้มเหลวได้ ผิดพลาดได้ แต่ต้องรู้จักการกำจัดผลกระทบและเริ่มต้นใหม่ เสริมเรื่องการทำงานในทุกศาสตร์จะต้องมีความสามารถในเรื่องของตนอย่างแท้จริง เพื่อที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น ส่งเสริมกัน องค์กรก็จะเติบโตได้เร็วขึ้น”
พี่ต้อง กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร CEO at Purple Ventures (Robinhood)
“AI จะเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับทุกอาชีพ ในยุคก่อนผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สอน AI จนออกมาเป็น predictive AI แต่ในยุคนี้ก่อเกิดเป็น Generative AI ซึ่งจะมีความเข้าใจภาษา เนื้อหาต่าง ๆ และนำไปต่อยอด AI จึงจะทำให้ขอบเขตของอาชีพบางลงเรื่อย ๆ Programmer/coder ในอนาคตอาจไม่ใช่วิศวกรคอมพิวเตอร์ และภาพที่สวยงามอาจไม่ใช่จากศิลปิน”
พี่ต้า วิโรจน์ จิรพัฒนกุล Founder & Managing Director of Skooldio
“Critical thinking, Adaptation to AI and human touch ที่จะต้องเข้าใจผู้คนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำงานร่วมกับผู้อิ่นให้เป็น คือทางรอดของคนยุคใหม่ ”
พี่ตูน โชติมา สิทธิชัยวิเศษ CEO Venture Lab
#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #ActNow #Chula #MOVE