งานเสวนาในหัวข้อ “ยุค AI มาถึงแล้ว สายศิลป์ปรับตัวอย่างไร?” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2566

งานเสวนาในหัวข้อ “ยุค AI มาถึงแล้ว สายศิลป์ปรับตัวอย่างไร?”
วันที่ 27 ตุลาคม 2566


“บทสรุปที่ได้จากท่านคณบดีทั้ง 4 ท่านคือ AI ทำให้เกิดการหลอมรวมอย่างน้อย 3 เรื่องด้วยกัน คือ
1. AI ทำให้เกิดการหลอมรวมของเทคโนโลยีทางดิจิตอลเกือบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเขียน code การจัดการข้อมูล ความปลอดภัยทาง cyber และทักษะทางดิจิตอลอื่นๆ ทำให้ทักษะทางดิจิตอลแทบทุกด้านสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ง่ายขึ้นจากคนทั่วไป
2. AI ทำให้เกิดการหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ากับทักษะทางวิชาชีพเกือบทุกสาขาวิชาชีพ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การหลอมรวม ข้อความ (Text) ภาพ (Image) และ เสียง (Sound) เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน และในอนาคตจะหลอมรวม การกระทำของคน (Action) เข้าไปด้วย
3. AI ทำให้การหลอมรวมระหว่างคนจากสายวิทย์ และ สายศิลป์ เส้นแบ่งระหว่างศาสตร์ทั้งสองจะจางหายไปเรื่อยๆ ในอนาคตที่ไม่นานนี้ จะมีศิลปินที่เขียนโปรแกรมหรือสร้าง website ได้เอง และจะมีวิศวกรที่สร้างสรรงานศิลป์

ในความเห็นของวิทยากรทั้ง 4 ท่าน เชื่อว่าการสร้าง Human Touch จะเป็นทางอยู่รอดของมนุษยชาติ ซึ่งควรเน้นให้เกิดการหลอมรวมผู้คนที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันใน 2 ด้านได้แก่ การหลอมรวมเชิงพฤติกรรม และ การหลอมรวมทำงาน โดยให้คุณค่ากับการคิดในเชิงกว้างและเชิงลึก ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้กับความเป็นมนุษย์ โดยเน้นว่า มี AI เป็นผู้ช่วย

ในนามของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอกราบขอบพระคุณท่านวิทยากรทั้ง 4 ท่านที่กรุณามาแบ่งปันมุมมองให้กับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ครับ”

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


“แต่ก่อนนั้นการสื่อสาร สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยี แต่ในปัจจุบัน AI เป็นตัวช่วยได้ตั้งแต่การตั้งต้นทางความคิด จนถึงขั้นเสร็จสิ้นกระบวนการ production”

รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


“การฉุกคิด การตั้งประเด็นทางความคิดเชิงปรัชญาและจริยธรรมถึงความก้าวหน้าของสมองกล จะทำให้เราเตรียมความพร้อมถึงบางเรื่องที่อาจจะ disrupt ถึงเราได้”

รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


“สิ่งที่เราเรียนรู้จาก AI คือกระบวนการสั่งสม data base ทั้งหมดเพื่อประกอบการเป็นตัวช่วยสำหรับการออกแบบและการวางแผน”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สรายุทธ ทรัพย์สุข
คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


“สายศิลป์ และสายวิทย์ไม่ได้ตัดขาดอย่างสิ้นเชิงอีกต่อไป กระบวนการเรียนรู้ถูกส่งเสริมซึ่งกันและกัน วิศวกรเข้าใจเรื่องศิลปะ ศิลปินก็เข้าใจเรื่องระบบต่าง ๆ”

ศาสตราจารย์ ดร.บุษกร บิณฑสันต์
ผู้แทนคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #ActNow #Chula #Move #MoveforChula

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า