“สาเหตุหลักที่รวมเกือบทุกคณะมาเสวนาร่วมกันในครั้งนี้ เพื่อให้ทราบว่า ในฐานะที่วิศวฯ เป็นคนกลาง เป็นตัวกลาง เป็นผู้ผลิตเครื่องมือต่าง ๆ คงไม่เพียงพออีกต่อไป จำเป็นต้องมี ปรัชญา แรงบันดาลใจ และความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องหลอมรวมเพื่อเป็นทางรอดในยุคที่เปลี่ยนไป” – ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
“ในอนาคตประเทศไทยจะต้องมีจุดยืนสำหรับ เรื่อง AI ให้ได้ แต่ในปัจจุบันทักษะหนึ่งที่เป็นที่ต้องการมากขึ้น คือ การตัดสินใจ โดยฝึกใช้ AI ให้เป็นเสมือนตัวช่วยในการเตรียมความพร้อมในเรื่องอื่น ๆ แทน” – รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
“AI เป็น opportunities ที่เราจะเข้าถึงกฎหมายได้ ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น และแม่นยำขึ้น ส่งผลให้การบริการด้านกฎหมายก็จะมีมากขึ้น ตลาดแรงงานก็จะคึกคักยิ่งขึ้น” – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
“การทำงานกับคนจะยากขึ้น ต้องเริ่มเกิดการบูรณาการจากหลายศาสตร์ และ ภาครัฐจะต้องปรับตัวให้เป็น e-governmentเพื่อการจัดการข้อมูลทั้งเรื่อง data และ transparency ต่าง ๆ ในภาครัฐให้ชัดเจนยิ่งขึ้น – รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ ศิริประกอบ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
“โอกาสเรื่อง AI ไม่ใช่เพียงเข้าไปอยู่ใน ecosystem นั้น ๆ เราต้องปรับตัวโดยการสร้างของที่ลึกไปกว่าอย่าง EI (emotional intelligence) จะทำได้ ดังนั้นเรียนรู้ที่จะใช้ ประยุกต์ให้เป็น และทำให้ดีกว่า” – ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
“AI ยังขาด empathy ซึ่งจุดนี้เป็นโอกาสสำคัญที่เราสามารถพัฒนาและต่อยอดให้ Innovation ตรงใจกับมนุษย์มากขึ้น” – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุ่นเรือน เล็กน้อย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย










