คณะวิศวฯ จุฬาฯ โดย สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) ร่วมพัฒนาหลักสูตรอบรม “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรภาคการเงินให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : #SEEDs

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) ร่วมพัฒนาหลักสูตรอบรม “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรภาคการเงินให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : #SEEDs
.
.
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. บุคลากรของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ทั้งสิ้น 70 ท่าน ได้เข้าร่วมพิธีเปิดหลักสูตรอบรม “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” ณ KBank Co-working Space ชั้น 1 ธนาคารกสิกรไทยสำนักงานใหญ่ สาขาสำนักพหลโยธิน
.
หลักสูตรอบรม “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน” เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืนและธนาคารกสิกรไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลากหลายมิติให้กับบุคลากรของธนาคารกสิกรไทย สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เกิดการพัฒนาต่อยอดภาคธุรกิจสู่การสร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน รวมถึงสามารถส่งต่อองค์ความรู้สู่กลุ่มลูกค้าให้สามารถปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กรและประเทศไทย โดยมีระยะเวลาหลักสูตรทั้งสิ้น 64 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ 21 พฤศจิกายน 2566 – 16 กุมภาพันธ์ 2567
.
ภายในงานพิธีเปิดหลักสูตร ฯ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี ด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) ร่วมกล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการอบรม
.
ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรฯ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เดินหน้าส่งต่อความรู้และนวัตกรรมทางวิศวกรรม เพื่อเสริมสร้างประชาคมโลกที่ยั่งยืนผ่าน 1 ในโครงการสำคัญของคณะฯ “#MOVEtowardSustainability”รวมถึงการร่วมจัดตั้งสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นในการพัฒนาศักยภาพกลุ่มคน Green talent อันเป็นกำลังสำคัญในร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย และหวังว่า การพัฒนาหลักสูตรฯ นี้ จะช่วยให้บุคลากรของธนาคารกสิกรไทย สามารถนำความรู้ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน เกิดการพัฒนาต่อยอดภาคธุรกิจสู่การสร้างสังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
.
ด้าน ดร. กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้เล่าถึงวิสัยทัศน์ของธนาคารที่ต้องการก้าวสู่การเป็นธนาคารแห่งความยั่งยืน ที่พร้อมสนับสนุนให้ประเทศไทยและถูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาหลักสูตร ฯ นี้ในการสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกให้แก่บุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงเป็นรากฐานสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนองค์กร ประเทศและโลกสู่เป้าหมายความยั่งยืนที่วางไว้ได้ และเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของธนาคารที่ต้องการ
ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี ด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) กล่าวเกี่ยวกับที่มาของสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืนในการเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตามหลักวิศวกรรรมผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้และร่วมพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม และเล่าถึงการร่วมพัฒนาองค์ความรู้ ควบคู่ไปกับการแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย ในการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร สร้างคนเก่งที่มีทักษะความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความพร้อมต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
.
นอกจากนี้ ภายในงานมีการบรรยายในหัวข้อ “สถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันและความสำคัญของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในชีวิตประจำวัน” รวมถึงการแนะนำและดำเนินกิจกรรมผ่านแอปพลิเคชัน CFiD โดยศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี ด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) ซึ่ง CFiD เป็นแอปพลิเคชันที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืนและบริษัท อโยเดีย จำกัด ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ช่วยประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายบุคคล นำไปสู่การสนับสนุนการขับเคลื่อนดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างยั่งยืน
.
สุดท้ายนี้ หลักสูตรฯ นี้จะสิ้นสุดการฝึกอบรมในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 (รวมระยะเวลาอบรมกว่า 64 ชั่วโมง) โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นหลักสูตรฯ ที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065 ของประเทศไทยผ่านการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรที่เป็นแรงสำคัญในการดำเนินงานของภาคธุรกิจและภาคการเงินต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า