บทความ: การทำนายสถานการณ์น้ำล่วงหน้า เขาทำกันอย่างไร โดย รศ. ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวฯ จุฬาฯ

การทำนายสถานการณ์น้ำล่วงหน้า เขาทำกันอย่างไร
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์
ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.


.
สถานการณ์น้ำปัจจุบันมีความแปรปรวน ทั้งในช่วงระยะสั้นและระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วม น้ำแล้ง สลับกันไป ที่มีความถี่ และความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ความสนใจในการติดตามดูการทำนายสภาพอากาศมีมากขึ้น มีคำถามว่า งานวิจัยจะช่วยในการเพิ่มความถูกต้องในการทำนาย และจำลองสภาพล่วงหน้าในหลายภาพได้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และเตรียมตัว รับมือกับ ภัยแล้ง และภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะในระยะยาวมากขึ้นได้ดียิ่งขึ้นได้ไหม นอกจากการใช้ค่าทำนายอุณหภูมิและฝนระยะสั้น 3 ชั่วโมง 3 วัน 10 วันที่ใช้อยู่ และมีการปรับปรุงให้ถูกต้องมากขึ้นมาตลอด
.
ในการตอบคำถามดังกล่าว ได้เชิญคณะวิจัยและผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำและภูมิอากาศนำเสนอการติดตามการเปลี่ยนแปลง สภาพอากาศ แนวโน้มของสภาพน้ำท่า และทางออกของการจัดการปัญหาด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มานำเสนอผลการคาดการณ์ และทางออกของการจัดการปัญหาด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำ โดยมีเป้าหมาย ลดความเสี่ยง ลดความเสียหาย ยั่งยืนแบบยืดหยุ่น รวมทั้งสร้างการรับรู้และเข้าใจแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในการปรับพฤติกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสถานการณ์น้ำใน ของปี พ.ศ. 2567 – 2568 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บทความนี้อธิบายแนวทางการทำนายสภาพฝน และน้ำ และสรุปผลจากการจัดเสวนาดังกล่าวโดยสังเขป เพื่อเป็นข้อมูลและความรู้ประกอบการวางแผนและจัดการน้ำของผู้เกี่ยวข้องได้ต่อไป
.
อ่านบทความ ได้ที่ https://anyflip.com/dfaj/xsng/