คณะวิศวฯ จุฬาฯ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “พัฒนาสมรรถนะสำคัญเพื่อความยั่งยืนด้าน Sustainability key competencies (SKC) เพื่อการปรับใช้ในหลักสูตรให้กับคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์”

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะกรรมการกำหนดแผนงานกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรม (Intania Strategic Platform for Education Development (iSPEED) สังกัดภารกิจบูรณาการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “พัฒนาสมรรถนะสำคัญเพื่อความยั่งยืนด้าน Sustainability key competencies (SKC) เพื่อการปรับใช้ในหลักสูตรให้กับคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล ผู้ช่วยคณบดีด้านวิชาการ ร่วมกล่าวเปิดงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร คณะกรรมการกำหนดแผนงานกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรม (iSPEED), ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ, หัวหน้าภารกิจบริหารการศึกษา ฝ่ายวิชาการ ร่วมต้อนรับวิทยากรพิเศษ อาจารย์วิทวัส สังสะกิจ กรรมการผู้จัดการสายการผลิต บริษัท สตาร์ ฮันเตอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นส์ จำกัด และอาจารย์พิเศษประจำภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรในหัวข้อดังกล่าว
.
โดยในช่วงแรก รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร ได้กล่าววัตถุประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ เพื่อให้คณาจารย์เข้าใจองค์ประกอบและความสำคัญของ sustainability key competencies และได้รับการพัฒนาทักษะบางส่วนของ sustainability key competencies ในการเชื่อมโยงทักษะเหล่านั้นเข้าสู่การพัฒนานิสิต อีกทั้ง sustainability key competencies ในหลักสูตรของตนเองได้ ตลอดจนให้คณะผู้บริหารสามารถกำหนดแผนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาต่อไป ซึ่งวิทยากรได้เริ่มต้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านสุนทรียสนทนา (Dialogue), การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening), การเขียนบันทึก (Journaling) ซึ่งเป็นส่วนหนึงของสมรรถนะสำคัญเพื่อความยั่งยืน และเชื่อมโยงไปสู่ภาพรวมของเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนของ SDG ได้ ตลอดจนเพื่อเป็นการสร้าง Self Awareness ให้กับคณาจารย์ผู้แทนภาควิชาที่เข้าร่วมกิจกรรมต่อไป
.
และในช่วงที่สองวิทยากรได้ให้คณาจารย์ผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมดแบ่งกลุ่มย่อยในการทำกิจกรรมสะท้อนความคิดรายบุคคลและรายกลุ่ม (Self and Group Reflection ในหัวข้อ Collaborative Work Groups ร่วมกัน เพื่อเป็นการระดมสมองในการพัฒนาฐานข้อมูลผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ทางด้าน Sustainability key competencies และปิดท้ายด้วยกิจกรรม Competency Reflections ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหา Systems Thinking Competency, Anticipatory Competency, Strategic Competency และ Collaboration Competency โดย คณะกรรมการกำหนดแผนงานกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาการศึกษาด้านวิศวกรรม (Intania Strategic Platform for Education Development: iSPEED) หวังว่าการจัดงานในครั้งนี้จะสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับผู้สอนจากภาควิชาให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถเป็นต้นแบบเพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนการนำไปสู่งานวิจัยทางด้านวิชาการต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า