คณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ Tokyo Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการภายใต้รายวิชาความตระหนักต่อโลกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เป็นปีที่ 9

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Tokyo Institute of Technology จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 2567 ซึ่งเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในรายวิชา 2100310 ความตระหนักต่อโลกในการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยี เพื่อให้นิสิตของทั้ง 2 ประเทศ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำกิจกรรมร่วมกัน รวมถึงเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี กฎหมาย ข้อบังคับ กฎระเบียบ ความเชื่อ แนวคิด แนวทางปฏิบัติ ค่านิยมของสังคม ภายใต้ธีม “Resilient City”
.
โดยเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์ (ผู้ช่วยคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ) อาจารย์ ดร.จิง ถาง (อาจารย์ประจำสำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ) และรักษาการหัวหน้าภารกิจบูรณาการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ เข้าร่วมต้อนรับคณาจารย์ บุคลากร และนิสิตจาก Tokyo Institute of Technology และ รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ (รองคณบดี) กล่าวเปิดงานโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการในครั้งนี้ ณ โซน Auditorium ห้อง True Lab @ Chula Engineering : 5G & Innovative Solution Center
.
อีกทั้งยังได้ร่วมศึกษาดูงานด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม หลักสูตรนานาชาติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (CommDe ID Chula) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ ตั้งสันติกุล หัวหน้าภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.เถกิง พัฒโนภาษ ผู้อำนวยการหลักสูตร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวไนย ทรรทรานนท์ ประธานหลักสูตร ศป.บ.สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ (หลักสูตรนานาชาติ) มาร่วมให้ข้อมูลความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการออกแบบเชิงนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม และพาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของสาขาวิชาอีกด้วย
.
รวมถึงการเข้าร่วมศึกษาดูงานหน่วยงานภายนอก อาทิ เช่น พื้นที่การเรียนรู้ของ FutureTales LAB Exhibition โดย ทีมงานจากบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวลลอปเม้นท์คอร์ปอเรชั่น จำกัด และพื้นที่การเรียนรู้ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (บางนา) ซึ่งเป็นข้อมูลการดำเนินงานทางด้าน Resilient โดย ผู้แทนจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และห้องปฏิบัติการชลศาสตร์และชายฝั่งทะเล (Coastal Hydraulics Laboratory) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
ตลอดจนการเข้าร่วมศึกษาดูงานทางด้าน Resilient และ Carbon Credit ณ เกาะจิก จ.จันทบุรี ซึ่งได้รับการต้อนรับพร้อมทั้งบรรยายให้ความรู้ และพาเยี่ยมชมพื้นที่การเรียนรู้ในพื้นที่ โดย คุณณรงค์ชัย เหมสุวรรณ ผู้ใหญ่บ้านและประธานคณะกรรมการหมู่บ้านเกาะจิก, แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์นิเวศและวัฒนธรรมการทำเหมืองพลอย ณ วิสาหกิจชุมชนนิเวศพิพิธภัณฑ์ชองบ้านช้างทูน จ.ตราด โดย คุณสมชาย เปรื่องเวช ผู้ดูแลกลุ่มนิเวศพิพิธภัณฑ์บ้านช้างทูน, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบสหวิทยาการ (INTERDISCIPINARY) และการอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 2 กันยายน 2567

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า