มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน iTIC Forum 2024 ครั้งที่ 5 สำเร็จลุล่วง ด้วยการเน้นย้ำความสำคัญของการสร้างวินัยจราจรด้วยเทคโนโลยี AI

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย (iTIC) ประสบความสำเร็จในการจัดงานสัมมนา “iTIC Forum 2024: Safe & Smart Mobility by Traffic Discipline” ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะในการพัฒนาวินัยจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนน
.
iTIC Forum ครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการสร้างวินัยจราจรและการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อพัฒนาความปลอดภัยในการเดินทางและการสัญจรอย่างยั่งยืน โดยมีการนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดในการควบคุมวินัยจราจร เช่น การใช้ระบบ AI เพื่อตรวจจับผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัย นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีสำคัญในการเสวนาเรื่องความปลอดภัยทางการจราจร โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมเสวนาอย่างหลากหลาย
.
งานสัมมนาฯ ได้รับเกียรติกล่าวต้อนรับโดย ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.อาคม เติมพิทยาไพสิฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเปิดงานและกล่าวแสดงความยินดี ในโอกาสที่วงการระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะของประเทศไทย โดยคุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานมูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยะไทย ซึ่งได้พัฒนาการคมนาคมขนส่งอย่างปลอดภัย และยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยี่อัจฉริยะ และปัญญาประดิษฐ์ เช่น ข้อมูลจราจรแบบเรียลไทม์ และเชื่อมต่อกล้องวงจรปิด จากหน่วยงานต่าง ๆ อันมีส่วนสำคัญทำให้กรุงเทพฯ เป็น “เมืองอัจฉริยะ” ผลงานที่คุณนินนาท ได้ทุ่มเทมาตลอด จนได้เป็นคนไทยคนแรก ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดรางวัลหนึ่งในโลก แห่งวงการระบบขนส่งอัจฉริยะ Hall of Fame – Lifetime Achievement Award ในระหว่างงานประชุม ITS World Congress (Intelligent Transport System World Congress) ครั้งที่ 30 วันที่ 16 กันยายน ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ งานระดับโลกนี้จัดขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยสามหน่วยงานนานาชาติ ได้แก่ ITS Asia-Pacific, ERTICO (ITS Europe) และ ITS America รางวัล ITS Hall of Fame – Lifetime Achievement Award เป็นรางวัลหอเกียรติยศ ผู้นำทรงคุณวุฒิ ประสบความสำเร็จสูงสุดในด้าน ITS มีส่วนร่วมขับเคลื่อน และบรรลุผลของวิสัยทัศน์ในวงการ ITS (Intelligent Transport System) ในแต่ละภูมิภาค
.
ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงความยินดีแด่คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ในโอกาสที่เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล ITS World Congress Hall of Fame ‘Lifetime Achievement Award
.
หนึ่งในไฮไลท์ของงาน iTIC Forum คือการบรรยายพิเศษโดย พันโท ดร.ต้องการ แก้วเฉลิมทอง นายกสมาคมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะไทย ซึ่งได้นำเสนอหัวข้อ “ระบบขนส่งอัจฉริยะ เพื่อการคมนาคมที่ชาญฉลาดและปลอดภัย” ซึ่งสะท้อนถึงการนำระบบ ITS (Intelligent Transport System) มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงความปลอดภัยและการจัดการจราจรในประเทศไทย
.
อีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจคือการบรรยายเรื่อง “อุบัติเหตุจากการไม่สวมหมวกนิรภัย และแนวทางการแก้ไข” โดย นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้เน้นถึงความเสี่ยงของการไม่สวมหมวกนิรภัยและมาตรการเชิงรุกในการแก้ปัญหานี้
.
นอกจากนี้ยังมีการเสวนาอันมีประโยชน์ในหัวข้อ “การสร้างวินัยจราจร โดยใช้เทคโนโลยี AI ตรวจจับผู้ไม่สวมหมวกนิรภัย” ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วน
– พล.ต.ท.ปิยะ ต๊ะวิชัย “ความสำคัญของวิธีการสร้างระเบียบวินัยขับขี่ให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน”
– ดร.ภาสกร ประถมบุตร “การใช้เทคโนโลยีในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ”
– นายแพทย์ธนะพงศ์ จินวงษ์ “เล่าถึงประสบการณ์ 4 Step ที่เคยทำมา”
– คุณประยูร ภู่แส “เล่าบทเรียนและประสบการณ์ในการช่วยเหลือด้านความปลอดภัย”
– ศ. ดร.เกษม ชูจารุกุล “การทำ Road Star Ratings ช่วยลดอุบัติได้อย่างไร”
– ดร.ศิวัช บุญเกิด “เล่าบทเรียนและประสบการณ์การจัดการจราจรและอุบัติเหตุเมืองพัทยา”
โดยมี ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี ผู้อำนวยการสำนักธุรกิจบัตรโดยสาร (MRTA) เป็นผู้ดำเนินรายการในช่วงเสวนา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า