พิธีส่งมอบระบบประปาโซล่าเซลล์ชุมชน และฝายกักเก็บน้ำ และระบบกระจายน้ำ “ค่ายวิศวพัฒน์ 10” เพื่อรองรับการปลูกป่าแบบผสมผสาน “ป่าสร้างรายได้” ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ณ ห้วยน้ำเพี้ยโมเดล บ้านเชตวัน ต.สันทะ อ.นาน้อย จ.น่าน

พิธีส่งมอบระบบประปาโซล่าเซลล์ชุมชน และฝายกักเก็บน้ำ และระบบกระจายน้ำ “ค่ายวิศวพัฒน์ 10” เพื่อรองรับการปลูกป่าแบบผสมผสาน “ป่าสร้างรายได้” ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย ณ ห้วยน้ำเพี้ยโมเดล บ้านเชตวัน ต.สันทะ อ.นาน้อย จ.น่าน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567
.
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล อาจารย์ที่ปรึกษาค่าย และ จ.ส.อ.ธงชัย ใจดอนมูล ปลัด อบต.สันทะ กล่าวถึงความเป็นมาของค่ายและรายงานผลการดำเนินงาน และ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวส่งมอบโครงการ โดยนางวจิราภรณ์ อามาตยกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีรับมอบโครงการ เพื่อให้อบต.สันทะ ผู้นำชุมชน และเกษตรกรในพื้นที่ ได้บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์ต่อไป
.
ทั้งนี้ “ค่ายวิศวพัฒน์” ของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ห้วยน้ำเพื่อโมเดลมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน และครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 10 แล้ว ทำให้พัฒนาพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง
.
โครงการพัฒนาห้วยน้ำเพี้ยโมเดล มีพื้นที่ต้นแบบ 250 ไร่และพื้นที่ขยายผลอีก 250 ไร่ รวมประมาณ 500 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เกษตรกรปลูกพืชเชิงเดี่ยว พืชล้มลุก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นหลัก มีการใช้สารเคมี ยาฆ่าหญ้า/แมลง มีต้นทุนในการผลิตสูง ไม่ยั่งยืน และมีหนี้สินสะสม
.
ในปี 2559 เป็นต้นมา อบต.สันทะ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น ป่าไม้นาน้อย อุทยานแห่งชาติขุนสถาน สถาบันพัฒนาพื้นที่สูง(โครงการหลวงแบบขุนสถาน) ผู้นำชุม และเกษตรกร ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ โดยการก่อสร้างฝายกักเก็บน้ำ ฝายชลอน้ำ ฝายดักตะกอน สำเร็จแล้วรวม จำนวน 19 จุด, ก่อสร้างระบบกระจากน้ำ/ประปาภูเขาครอบคลุมทุกแปลงในพื้นที่ต้นแบบ 250 ไร่, ขุดบ่อพวงเพื่อกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง จำนวน 13 บ่อ, ก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ 1 แห่ง, ศาลาเนกประสงค์ 17แห่ง, ก่อสร้างบ้านดิน 2 หลัง และปรับปรุงให้มีที่พักเพื่อรองรับการก้าวสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 5 หลัง, ก่อสร้างระบบประปาโซล่าเชลชุมชน เพื่อส่งน้ำขึ้นพื้นที่สูงรองรับการปลูกป่าชุมชน และป่าเศรษฐกิจ จำนวน 2 จุด
จนถึงปัจจุบัน ได้ขอคืนพื้นที่จากเกษตรกรบางส่วน ดำเนินการปลูกป่าชุมชนตามกลยุทย์ “ป่ากินได้ เห็ดไมคอร์ไรซ่าในป่าชุมชน” แล้ว จำนวน 50 ไร่ และปรับเปลี่ยนพื้นที่จากข้าวโพด เปลี่ยนเป็นไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ตามกลยุทย์ป่าสร้างรายได้ สำเร็จแล้ว ร้อยละ 70 ของพื้นที่ดำเนินงาน
และนับเป็นโอกาสอันดียิ่ง ที่เร็ว ๆ นี้ พื้นที่โครงการพัฒนาห้วยน้ำเพี้ยโมเดล จะได้รับกล้าไม้มะริด สายพันธุ์ ”มะริดสมเด็จพระกนิษฐา“ ที่สนับสนุนโดยสมาคมน้องใหม่จุฬา 17 และศูนย์เพาะกล้าจุฬาไกล่น่าน นำมาปลูกในพื้นที่โครงการพัฒนาห้วยน้ำเพี้ยโมเดล เพื่อเป็นพื้นที่ขยายผลการปลูกไม้มะริด ให้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ตามความตั้งใจของ CU17 และตามปฏิทานอันแน่วแน่ของคุณอาทิตย์ “สวนอาดาว” ผู้ที่นำเมล็ดพันธุ์มาจากประเทศฟิลิบปินส์ต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า