คณะวิศวฯ จุฬาฯ ผนึกกำลัง สถานีควบคุมไฟป่าวังน้ำเขียวและอุทยานแห่งชาติทับลาน จัด “โครงการทดสอบต้นแบบอากาศยานไร้คนขับและกิจกรรมจิตอาสา เพื่อสนับสนุนการจัดการไฟป่า ณ อุทยานแห่งชาติทับลาน” เพื่อการจัดการปัญหาไฟป่าอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 3-5 มกราคม 2568 นิสิตชมรมนักประดิษฐ์วิศวกรรม (EIC) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมโดย นายวิษุวัต กะลิมพันธ์ ประธานโครงการแผนกพัฒนานวัตกรรมอากาศยานไร้คนขับ ร่วมกับ เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าวังน้ำเขียวและอุทยานแห่งชาติทับลาน จัดกิจกรรม “โครงการทดสอบต้นแบบอากาศยานไร้คนขับและกิจกรรมจิตอาสา เพื่อสนับสนุนการจัดการไฟป่า ณ อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมา ปีการศึกษา 2567”
.
ชมรมนักประดิษฐ์วิศวกรรม (EIC) เป็นหนึ่งในชมรมของนิสิตคณะวิศวฯ จุฬาฯ ซึ่งเป็นพื้นที่รวมตัวสำหรับนิสิตที่มีความชื่นชอบในการพัฒนานวัตกรรมที่ทันสมัย โดยชมรมได้มี “โครงการพัฒนาต้นแบบอากาศยานไร้คนขับด้วยการควบคุมคำสั่งผ่านระบบเครือข่าย 5G” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2566 นอกจากเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรในชมรมให้มีความเป็นเลิศทางด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมแล้วนั้น การนำเทคโนโลยีที่มีอยู่ของชมรมมาสร้างคุณค่าให้กับสังคมด้วยการช่วยเหลืองานบรรเทาสาธารณภัย ก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ชมรมมีความตั้งใจจะผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นจริง
.
ชมรม EIC เล็งเห็นว่า “ปัญหาไฟป่า” ก่อให้เกิดความเสียหายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อประชาชนในประเทศ อย่างไรก็ตามการวางแผนรับมือและการวางการจัดการไฟป่าของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังคงมีข้อจำกัดเนื่องด้วยอุปสรรคและปัญหาต่าง ๆ เช่น ความล่าช้าในการรับรู้ข้อมูลสถานการณ์ในพื้นที่เกิดเหตุ ข้อจำกัดทางด้านการสื่อสารและรายงานข้อมูลระหว่างทีมปฏิบัติการ เป็นต้น
.
ทางชมรม EIC ได้เห็นถึงศักยภาพของสมาชิกและเทคโนโลยีการรับรู้ข้อมูลระยะไกลด้วยอากาศยานไร้คนขับที่มีความสามารถในการสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการไฟป่าได้ จึงได้ใช้โอกาสนี้ในการนำต้นแบบอากาศยานไร้คนขับดังกล่าว มาทดสอบการทำงานในสถานที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลที่สำคัญจากการทดสอบมาปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมรุ่นต่อไปในอนาคต
.
นอกจากนี้ ชมรมได้ตระหนักถึงปัญหาและความต้องการของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญ เพื่อที่จะสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์และสามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง ชมรมจึงได้มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับข้อเสนอและแนวทางในการแก้ไขปัญหากับเจ้าหน้าที่ที่จะสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้จริง รวมถึงการพูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่าง ๆ ในการพัฒนาโครงการต่อไปในอนาคต
.
ทั้งนี้ ชมรมนักประดิษฐ์วิศวกรรม (EIC) และกรรมการนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนช่วยทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จและดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
– ขอขอบพระคุณ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทับลาน ผู้อนุมัติการจัดกิจกรรม, เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลานและสถานีควบคุมไฟป่าวังน้ำเขียว ผู้บรรยายความรู้และดูแลความปลอดภัยตลอดระยะเวลาในการจัดกิจกรรม
– ขอขอบพระคุณ AIS ผู้สนับสนุนโครงข่าย 5G สำหรับการวิจัยใน “โครงการพัฒนาต้นแบบอากาศยานไร้คนขับ ด้วยการควบคุมคำสั่งผ่านระบบเครือข่าย 5G ระยะที่ 1”
– ขอขอบพระคุณ บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และ มูลนิธิ ป้าทองคำ เอ็มเค ผู้สนับสนุนเงินทุน สำหรับการดำเนินกิจกรรม “โครงการพัฒนาต้นแบบอากาศยานไร้คนขับ ด้วยการควบคุมคำสั่งผ่านระบบเครือข่าย 5G ระยะที่ 1”
– ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัญญวัชร์ วังยาว อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการผู้ให้คำปรึกษาการดำเนินโครงการ
– ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมผู้ให้คำแนะนำด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและกระบวนการด้านงานวิศวกรรม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า