การจัดกิจกรรม การวิ่ง ไม่เพียงแค่เป็นโอกาสในการส่งเสริมสุขภาพและความสนุกสนาน แต่ยังเป็นการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่ควรมองข้าม
.
โดยเฉพาะในเรื่องของ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ในการจัดงานวิ่ง ปัจจัยหลักในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นมาจากกิจกรรมของผู้ร่วมงาน เช่น การเดินทาง การใช้ไฟฟ้า อาหาร และปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นหนึ่งในการดำเนินงานที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม
.
ดังนั้น การจัดงาน วิศวะ จุฬาฯ มินิมาราธอน ปี 2025 ครั้งที่ 6 จึงมีเป้าหมายเพื่อมุ่งสู่กิจกรรมที่เป็นการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับศูนย์ โดยการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการจัดงานตามแนวทางขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
.
ซึ่งจากการอนุมานพบว่า การจัดงานวิ่งครั้งนี้ จะเกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 147.14 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ขอบเขตที่ 3) ซึ่งประกอบด้วย การเดินทาง การพักแรม ของแจก ของเสียที่เกิดขึ้น และการขนส่งอุปกรณ์ มีสัดส่วนมากที่สุดเท่ากับ 59.01% รองลงมา คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (ขอบเขตที่ 1) ได้แก่ การปรุงอาหาร คิดเป็น 40.93% และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) ได้แก่ การใช้พลังงานไฟฟ้า มีสัดส่วนน้อยที่สุดเท่ากับ 0.06% โดยจะมีการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลโดยหน่วยงานภายนอก เทียบกับข้อมูลที่ได้อนุมานก่อนเริ่มงาน และดำเนินการชดเชยก๊าซเรือนกระจกตามปริมาณที่เกิดขึ้นจริงตามกลไกตลาดคาร์บอนของประเทศไทย เพื่อทำให้ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดเท่ากับศูนย์
.
โดยการชดเชยก๊าซเรือนกระจกของงานนี้ ได้รับการสนับสนุนคาร์บอนเครดิตจาก บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ในการชดเชยด้วยโครงการ หรือกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของบริษัท โดยเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้พัฒนาโครงการหรือกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย
.
คลิกเพื่ออ่านและดาวน์โหลดบทความ
#chulaengineering #INTANIA #Chula #CU #CBIS
#วิศวจุฬา #111ปีวิศวจุฬา #ICMM2025