วิศวฯ จุฬาฯ ในสื่อ:การพัฒนาเครื่องมือตรวจสอบโพรงภายในต้นไม้ด้วยเทคนิคการส่งผ่านรังสีแกมมา
.
อาจารย์ ดร.มนัสวี เลาะวิธี ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์กับ Bangkok Post เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 ในหัวข้อ การพัฒนาเครื่องมือตรวจสอบโพรงภายในต้นไม้ด้วยเทคนิคการส่งผ่านรังสีแกมมา ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีการประยุกต์ใช้สำหรับหลากหลายงานในภาคอุตสาหกรรมมาเป็นระยะเวลายาวนาน
เนื่องจากบริเวณรอบ ๆ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีต้นไม้ใหญ่หลายต้น ซึ่งต้นไม้ส่วนใหญ่มีอายุเก่าแก่ ยืนต้นมาเป็นเวลายาวนาน อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการกัดกินของแมลงศัตรูพืช ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของต้นไม้ ทั้งนี้หากมีปัจจัยภายนอก เช่น ลมและฝนมากระทบกับต้นไม้ อาจทำให้ต้นไม้เกิดความเสียหาย เช่น ลำต้นเอียง กิ่งไม้ฉีกหัก และอาจนำไปสู่การโค่นล้ม ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนแวดล้อม คณะอาจารย์และทีมงานวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ จึงได้ประยุกต์ใช้เทคนิคนี้ และออกแบบเครื่องมือตรวจสอบโพรงภายในต้นไม้ เพื่อพิจารณาโครงสร้างภายในของลำต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขนาดและตำแหน่งของโพรงภายในต้นไม้ อันเป็นข้อมูลสำคัญต่อการประเมินสุขภาพโดยรวมของต้นไม้ เพื่อรักษาดูแลต้นไม้ และป้องกันอันตรายจากการโค่นล้มของต้นไม้ใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นได้
.
รับชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=W_C19Oa8L-E
.
ขอขอบคุณที่มา: Bangkok Post
#ChulaEngineering #วิศวจุฬา #Chula #111ปีวิศวจุฬา
#วิศวกรรมนิวเคลียร์ #intania #นิวเคลียร์และรังสี