จุฬาฯ จัดงานแสดงความยินดีบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้จุฬาฯ ประจำปี 2567

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานแสดงความยินดีบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงให้จุฬาฯ ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 ณ โรงแรมโอกุระ เพรสทีจ เพื่อเชิดชูเกียรติและแสดงความยินดีแก่อาจารย์และนักวิจัยของจุฬาฯ ที่สร้างชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนเป็นการสร้างขวัญกำลังใจและกระตุ้นให้บุคลากรทางวิชาการมุ่งมั่นสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ร่วมแสดงความยินดี บรรยากาศภายในงานมีคณะผู้บริหาร คณบดี คณาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรผู้สร้างชื่อเสียงให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปี 2567 มาร่วมงานอย่างอบอุ่น
.
ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีและมอบช่อดอกไม้แก่คณาจารย์คณะวิศวฯ ที่สร้างชื่อเสียงให้จุฬาฯ
.
โดยในปี 2567 คณาจารย์คณะวิศวฯ สร้างผลงานและได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้
.
รางวัลระดับชาติ ประเภทบุคคล
– รองศาสตราจารย์ ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์ ผลงาน หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายผสานการขับเคลื่อนด้วยล้อสนับสนุนการเคลื่อนไหวมนุษย์
รางวัลรองชนะเลิศ นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
.
รางวัลระดับชาติ ประเภทผลงาน
– ศาสตราจารย์ ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง
ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส) ประจำปีงบประมาณ 2567 จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
– รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์
รางวัล Gold Prize SilkLife: Transforming Healthcare with Cutting-Edge Biomaterial Solutions จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
– รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์
ผลงาน SilkLife: Transforming Healthcare with Cutting-Edge Biomaterial Solutions
รางวัลชนะเลิศ ประเภท Innovation product งานประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประจำปี 2567 (KMUTNB Innovation Awards 2024)
– รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์
ผลงาน แผ่นแปะโปรตีนไหมไทยควบคุมการปลดปล่อยสารสกัดจากกัญชงผ่านผิวหนัง
รางวัลผลงานคุณภาพ NRCT Quality Achievement Award ประจำปีงบประมาณ 2568 : ประเภทผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
– รองศาสตราจารย์ ดร.อมรชัย อาภรณ์วิชานพ
ผลงาน การพัฒนาและทำนายวัสดุขั้วไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าสะอาด
รางวัลการวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2567 ระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
.
รางวัลระดับนานาชาติ ประเภทบุคคล
– ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด จงสมจิตร
ผลงาน Development in Catalysis Research
รางวัล Catalysis Development Excellence Award จาก Asian-Pacific Asscociation of Catalysis Societies (APACS)
– รองศาสตราจารย์ ดร.รณพีร์ ชัยเชาวรัตน์
IEEE Senior Member จาก Institute of Electrical and Electronics Engineers
.
รางวัลระดับนานาชาติ ประเภทผลงาน
– รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ รัศมี
ผลงาน Development of the Nuclear Accident Consequence Assessment Code (NACAC) in Thailand
รางวัล Technology Development Award จาก Atomic Energy Society of Japan
– รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์
ผลงาน Exploring Human’s Decision Making in Tsunami Disaster Evacuation using Virtual Reality
รางวัล Gold Medal รางวัล Special Award และ รางวัล Special Award จาก The 9 th International Invention Innovation Competition in Canada (iCAN 2024) โดยToronto International Society of Innovation & Advanced Skills (TISIAS) ประเทศแคนาดา
– รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ ลีละวัฒน์
ผลงาน Monitoring Industrial Zone Activities Through Wavelet Analysis of Air Quality Time Series Data
รางลัส Best Paper Award จาก The 23rd International Symposium on Communications and Information Technologies โดย Electrical, Electronics, Computer, Telecommunications, and Information Technology Association of Thailand (ECTI) ประเทศไทย
– อาจารย์ ดร.จิง ถาง
ผลงาน Thai Language Viral Marketing Content Generation using NLP and Generative AI
รางวัล Gold Medal และรางวัล Canadian Special Award of Excellence จาก The 9 th International Invention Innovation Competition in Canada (iCAN 2024) โดย Toronto International Society of Innovation & Advanced Skills (TISIAS) ประเทศแคนาดา และ The 9th International Invention Innovation Competition in Canada โดย Inventors Circle ประเทศแคนาดา
– ศาสตราจารย์ ดร.ปารเมศ ชุติมา
ผลงาน Application of Computerized Six Sigma Approach to Minimize Dewetting defects in a printed circuit board assembly process
รางวัล Best Presentation Award จาก International Conference on Management Science and Industrial Engineering
– รองศาสตราจารย์ ดร.ธนารัตน์ ชลิดาพงศ์
ผลงาน Red Cell Detector
รางวัล Gold Medal จาก Korea University Invention Association (KUIA) and World Invention Intellectual Property Association (WIIPA)
– ศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล
ผลงาน Advanced Oxidation Process for No-touch Automated Disinfection
รางวัล Bronze Medal Award จาก International Invention Fair in the Middle East (IIFME) 2024, Kuwait

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า