คณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยโตเกียว เปิดตัวโครงการ 3DTraffic มุ่งแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานคร (English content body follows Thai’s)

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2568 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมหาวิทยาลัยโตเกียวได้จัดการประชุมคณะกรรมการร่วม (Joint-Coordination Committee) ครั้งที่ 1 สำหรับโครงการวิจัย “การจัดการจราจรในมหานครเชิงพลวัตขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” มีชื่อเล่นว่า “3DTraffic” (สามดีทราฟฟิก) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ไดซุเกะ ฟุคุดะ (Prof. Daisuke Fukuda) จากมหาวิทยาลัยโตเกียว และ ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวฯ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการ
.
งานประชุมครั้งนี้ได้จัดขึ้นแบบ hybrid ณ ห้องประชุม 1106 ชั้น 11 อาคาร 100 ปี คณะวิศวฯ จุฬาฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานการประชุม และมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้แทนจากหน่วยงานราชการไทยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางขนส่งและการจราจรในกรุงเทพฯ ผู้แทนจากหน่วยงานรัฐบาลญี่ปุ่น และคณะนักวิจัยสมาชิกโครงการ 3DTraffic จากสถาบันวิจัยต่าง ๆ
.
งานประชุมคณะกรรมการร่วมจัดขึ้นเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเป้าหมาย แบบแผน และรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับแผนการวิจัย ของโครงการวิจัย 3DTraffic ภายใต้โปรแกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ SATREPS (Science and Technology Research Partnership for Sustainable Development Program) ขององค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศญี่ปุ่น (JST) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) หนึ่งในเป้าหมายของการประชุมครั้งนี้คือการขอความร่วมมือต่าง ๆ โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลการจราจรสำหรับการวิจัย ซึ่งทางโครงการได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากผู้แทนจากหน่วยงานรัฐต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุม อันได้แก่ สำนักการขนส่งและจราจร กรุงเทพมหานคร (สจส.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมทางหลวง (ทล.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กรมโยธาธิการและผังเมือง (ยผ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) นอกเหนือไปจากนี้ ทางโครงการได้ต้อนรับผู้แทนจากหน่วยงานรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) และ องค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศญี่ปุ่น (JST)
.
ในส่วนท้ายของงานประชุมฯ คุณชุนซุเกะ คาวาฮาระ (Mr. Shunsuke Kawahara) Senior Advisor for Transportation Infrastructure จาก JICA ได้กล่าวปิดงานประชุมโดยได้เน้นถึงความสำคัญของโครงการนี้ว่า การทำงานร่วมมือกันระหว่างคณะวิจัยและหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้โครงการ 3DTraffic จะนำไปสู่และความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยซึ่งจะส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย
.
ในวันเดียวกัน โครงการ 3DTraffic ได้จัดงานประชุมสัมมนาเปิดตัวโครงการที่ห้องประชุม ชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวฯ จุฬาฯ โดยเปิดให้ตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาควิชาการได้ทำความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการวิจัยของโครงการ ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล หัวหน้าโครงการวิจัยร่วม ได้กล่าวเปิดงานอย่างเป็นทางการ และแสดงความเชื่อมั่นว่าโครงการที่พร้อมไปด้วยผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยจากหลากหลายภาคส่วนจะสามารถเสริมสร้างสิ่งดี ๆ สามอย่างตามชื่อโครงการ “สามดีทราฟฟิก” ได้แก่ การจราจรที่รวดเร็วยิ่งขึ้น สะอาดยิ่งขึ้น และปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ฟุคุดะ ไดซุเกะ (Prof. Daisuke Fukuda) หัวหน้าโครงการได้แนะนำโครงการให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เข้าใจถึงที่มาและเป้าหมายของโครงการ ผู้เข้าร่วมงานประชุมรวมประมาณ 90 ท่าน อีกทั้งคณะผู้จัดงานได้จัดเตรียมการอภิปรายร่วม (interactive panel discussion) โดยผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็นโดยการตอบคำถามผ่านระบบ real time เกี่ยวกับบทบาทต่าง ๆ ของโครงการ 3DTraffic ซึ่งทางโครงการได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมอย่างดี
.
ทางโครงการได้รับเกียรติต้อนรับคุณฮารุกะ โอซาวะ (Mr. Haruka Ozawa) เลขานุการเอก จากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ซึ่งได้กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเมืองและประเทศ นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากศาสตราภิชาน โยชิทซึงุ ฮายาชิ จากมหาวิทยาลัยโทไคกัคคุเอน (Distinguished Professor Yoshitsugu Hayashi, Tokaigakuen University) บรรยายพิเศษเกี่ยวกับโครงการ SATREPS ในกรุงเทพฯ รุ่นก่อนหน้า
.
โครงการ 3DTraffic ประกอบด้วยคณะทำงาน 4 กลุ่ม ดำเนินการในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการจราจรคู่ขนานกันไป ตั้งแต่เทคนิคการวิเคราะห์และการสร้างแบบจำลองทางข้อมูลการจราจร ไปจนถึงวิธีการจัดการจราจรและการควบคุมสัญญาณไฟจราจร หนึ่งในเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือการพัฒนาแบบจำลอง Digital Twin ต้นแบบซึ่งจะทำหน้าที่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเพื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการจัดการจราจรที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่จริง ในงานประชุมสัมมนาครั้งนี้คณะทำงานทั้ง 4 กลุ่มได้ทำการนำเสนอที่มาและแผนการวิจัย โดยคณะทำงาน 4 กลุ่มประกอบด้วย
● คณะทำงาน 1: Advanced Traffic Condition Estimation Methodology Using Data Fusion Techniques นำโดย Assoc. Prof. Toru Seo และ Asst. Prof. Garavig Tanaksaranond
● คณะทำงาน 2: Evaluation of Travel Demand Management Measures Using an Activity-based Microsimulation นำโดย Prof. Daisuke Fukuda และ Assoc. Prof. Veera Muangsin
● คณะทำงาน 3: Macroscopic Analysis of the Dynamic Traffic State on a City Scale นำโดย Assoc. Prof. Kentaro Wada และ Assoc. Prof. Chaodit Aswakul
● คณะทำงาน 4: Proposal and Application of an Intersection-level Microscopic Traffic Signal Control นำโดย Prof. Takashi Oguchi และ Assoc. Prof. Sorawit Narupiti
.
ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้ทางเว็ปไซต์ https://www.3dtraffic.t.u-tokyo.ac.jp/ หรือติดต่อได้ทางอีเมล admin@3traffic.t.u-tokyo.ac.jp (ภาษาญี่ปุ่น/ภาษาอังกฤษ) หรือ 3dtraffic@chula.ac.th (ภาษาไทย)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า