FACULTY

ทำเนียบ “ศักดิ์อินทาเนีย” : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล จอกแก้ว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล จอกแก้ว เป็นผู้อุทิศเวลาให้กับการให้คำปรึกษานิสิต ทั้งในด้านการเรียนและการทำกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมค่ายอาสา (ยุววิศวกรบพิธ และค่าสะพาน โรงเรียน ตชด.) ซึ่งอาจารย์ได้สละเวลาในการเยี่ยมค่ายทั้งสองอย่างสม่ำเสมอ นับได้ว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล จอกแก้ว เป็นผู้อุทิศตนให้กับงานกิจการนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์อย่างยิ่ง

ตำแหน่ง   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ A-4
สังกัด        ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
เริ่มปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ   1 ธันวาคม 2547
ประวัติการศึกษา    

พ.ศ. 2536 วศ.บ. (โยธา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2540 วศ.ม. (โยธา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2547 วศ.ด. (โยธา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผลงานด้านวิจัย
  • นพดล จอกแก้ว ชินธวัช ชินดีสุวรรณ และ ธนิต ธงทอง “ระบบการบริหารเพื่อการวางแผน ติดตามและควบคุมโครงการก่อสร้างแนวราบ”, เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 11, ภูเก็ต, 2549, หน้า 16
  • สมบูรณ์ วีรปกรณ์ นพดล จอกแก้ว และ ธนิต ธงทอง “สภาพและปัญหาการใช้เสาเอ็นและคานทับหลังแบบหล่อในที่สำหรับงานก่อสร้างอาคาร”, เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 11, ภูเก็ต, 2549, หน้า 15
  • มหาดไทย ชัยเกษม, นพดล จอกแก้ว (2550), การรื้อถอนอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้แรงงานคนเป็นหลักในประเทศไทย, เอกสารการประชุมทางวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 12, จ.พิษณุโลก, 6 หน้า
  • ธัชชัย จันทร์รัชชกูล, นพดล จอกแก้ว (2550), แนวทางในการจัดการวัสดุที่เกิดจากการก่อสร้างในประเทศไทย, เอกสารการประชุมทางวิชาการ วิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 12, จ.พิษณุโลก, 6 หน้า
ผลงานด้านกิจการนิสิต
  • พ.ศ. 2550 – 2552 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำ ณ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านแสนคำลือ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
  • พ.ศ. 2552 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมค่ายอาสาพัฒนาฯ ตณะวิศวกรรมศาสตร์ ในโครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาวประมาณ 30 เมตร ที่จังหวัดเลย
  • พ.ศ. 2551 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมค่ายอาสาพัฒนาฯ ตณะวิศวกรรมศาสตร์ ในโครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาวประมาณ 30 เมตร ที่จังหวัดลำพูน
  • พ.ศ. 2550 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมค่ายอาสาพัฒนาฯ ตณะวิศวกรรมศาสตร์ ในโครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาวประมาณ 30 เมตร ที่จังหวัดพิษณุโลก
  • พ.ศ. 2549 เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาชมรมค่ายอาสาพัฒนาฯ ตณะวิศวกรรมศาสตร์ ในโครงการก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ความยาวประมาณ 30 เมตร ที่จังหวัดบุรีรัมย์
  • พ.ศ. 2550 – 2551 เป็นอาจารย์ร่วมจัดในโครงการอบรมความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของอาจารย์ และนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ในการศึกษาวัฒนธรรมและโครงการก่อสร้างในประเทศไทย
เคล็ดลับความสำเร็จ / ความนัยจากใจเกี่ยวกับรางวัลนี้

ในการทำงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้น งานด้านกิจการนิสิตเป็นงานที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นงานที่ช่วยส่งเสริมให้นิสิตมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ในการเป็นนิสิต จุฬาฯ ในด้านต่างๆ ที่สมบูรณ์มากขึ้นโดยในการทำงานด้านกิจการนิสิตต้องให้ความเอาใจใส่และเห็นความสำคัญของการทำกิจกรรมของนิสิตในด้านต่างๆ

สำหรับรางวัลศักดิ์อินทาเนียนี้เป็นรางวัลที่น่าภาคภูมิใจสำหรับผู้ที่ได้รับ เป็นรางวัลที่สร้างกำลังใจสำหรับการทำงานด้านต่างๆ ต่อไป