FACULTY

ทำเนียบ “ศักดิ์อินทาเนีย” : อาจารย์ ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน

อาจารย์ ดร. บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน เป็นอาจารย์ที่รู้จักวางตัวเป็นแบบอย่างให้นิสิตยึดถือปฏิบัติ นอกจากจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดีของนิสิตแล้ว อาจารย์ยังช่วยเหลืองานส่วนรวมของคณะ โดยเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดนิทรรศการจุฬาวิชาการ เป็นกรรมการตัวแทนภาควิชาในหลายๆด้าน เช่น กรรมการกิจการนิสิต และ กรรมการวิรัชกิจ เป็นตัวแทนภาควิชาเข้าไปช่วยหลักสูตรนานาชาติในฐานะกรรมการหลักสูตรวิศวกรรมนาโน และเป็นประธานกีฬาบุคลากร คณะวิศวฯ ติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี อาจารย์เป็นผู้พร้อมให้คำแนะนำและชี้แนะในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานที่ดีขึ้น สมควรได้รับการยกย่อง และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรและนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ต่อไป

ตำแหน่ง  อาจารย์ A-5
สังกัด      ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ
เริ่มปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ 10 กรกฎาคม 2550
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2543 B.E. Materials Science and Engineering (Honors) Northwestern University, Evanston, IL, USA
พ.ศ. 2545 M.S. Materials Science California Institute of Technology, Pasadena, CA, USA
พ.ศ. 2550 Ph.D. Materials Science California Institute of Technology, Pasadena, CA, USA

ผลงานวิจัย (พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน)

ผลงานตีพิมพ์

  • Lohwongwatana B, and Nisaratanaporn E. On Hardness Invited speaker to the 24th SANTA FE SYMPOSIUM for jewelry manufacturing technology, Albuquerque, NM. May 16-19, 2010.
  • Lohwongwatana B, Nisaratanaporn E and Holstein J. Alloys By Design – Knowing the Answer before Spending money Invited speaker to the 22st SANTA FE SYMPOSIUM for jewelry manufacturing technology, Albuquerque, NM. May 18-21, 2008.
  • Suh JY, Lohwongwatana B, Garland C, Conner R, Johnson WL, and Suh D. Novel Thermoplastic Bonding Using Bulk Metallic Glass Solder SCRIPTA MATERIALIA, 59 (2008) 905-908. (Impact Factor 2.481)
  • Lohwongwatana B, Schroers J and Johnson WL. Hard 18K and .850 Pt. alloys that can be processed like plastics or blown like glass Invited speaker to the 21st SANTA FE SYMPOSIUM for jewelry manufacturing technology, Albuquerque, NM. May 20-23, 2007. (Received Outstanding Technical Presentation Award)
  • Lohwongwatana B, Schroers J and Johnson WL. Strain rate induced crystallization in bulk metallic glass-forming liquid PHYSICAL REVIEW LETTERS 96 (7): Art. No. 075503 FEB 24 2006 (Impact Factor 7.072)
  • Schroers J, Lohwongwatana B, Johnson WL and Peker A. Precious bulk metallic glasses for jewelry applications MATERIALS SCIENCE AND ENGINEERING A-STRUCTURAL MATERIALS PROPERTIES MICROSTRUCTURE AND PROCESSING 449: 235-238 MAR 25 2007 (Impact Factor 1.490)

สิทธิบัตร

  • Lohwongwatana B, Suh JY, Conner R, Johnson WL, and Suh D. Process for Joining Materials Using Bulk Metallic Glass. UNITED STATES PATENT APPLICATION or PCT INTERNATIONAL APPLICATION NUMBER 12/062,941 (2008).
  • Lohwongwatana B, Suh JY, Conner R, Johnson WL, and Suh D. Method of Joining Integrated Circuits and Electronic Components Using Metallic Glasses. UNITED STATES PROVISIONAL PATENT APPLICATION 60/921,805 (2007).

ผลงานประชุมทางวิชาการ

  • Visessonchok T, Pukalanant N, Srikiatkhachorn A, Israsena N, Medhisuwakul M, Witit-anun N, Bongsebandhu-phubhakdi S and Lohwongwatana B. On-media Axon Branching and Adhesion Investigation of Neurons as Stimulated by Modulated Potentials on Micro-patterned Gold Substrate. Symposium QQ: Biological Materials and Structures in Physiologically Extreme Conditions and Disease. The 2010 Materials Research Society (MRS) Spring Meeting. San Francisco, CA, USA. April 5-9, 2010.
  • Burana D, Yipyintum C, Srikiatkhachorn A, Israsena N, Medhisuwakul M, Witit-anun N, Bongsebandhu-phubhakdi S and Lohwongwatana B. Light Transmittance Study on Nanometer-scale Surface Architecture for Cell Proliferation Imaging. Symposium PP: Interfacing Biomolecules and Functional (Nano) Materials. The 2010 Materials Research Society (MRS) Spring Meeting. San Francisco, CA, USA. April 5-9, 2010.
  • Yoshmetha H, Surasondhi N, Srikiatkhachorn A, Israsena N, Medhisuwakul M, Witit-anun N, Bongsebandhu-phubhakdi S and Lohwongwatana B. Investigation of Cell Growth on in-itu Alloyed Biocompatible Thin Film Media. Symposium PP: Interfacing Biomolecules and Functional (Nano) Materials. The 2010 Materials Research Society (MRS) Spring Meeting. San Francisco, CA, USA. April 5-9, 2010.
  • Puncreobutr C, Lohthongkum G, Chongstitvattana P and Lohwongwatana B. Modeling of Reflow Temperatures and Wettability in Lead-free Solder Alloys using Hybrid Evolutionary Algorithms. Symposium of Pb-Free Solders and Emerging Interconnect and Packaging Technologies by the Minerals, Metals and Materials Society (TMS 2010). Seattle, USA. February 14-18, 2010.
  • Puncreobutr C, Lohwongwatana B and Chongstitvatana P. Genetic Programming Approach to Determining Thermal Properties of Lead-free Solder Alloys. Proceedings of National Computer Science and Engineering Conference (NCSEC2009). Bangkok, Thailand. November 4-6, 2009.
  • Puncreobutr C, Chongstitvattana P, Lohthongkum G and Lohwongwatana B. Combining Thermodynamic Modeling, Genetic Programming and Butler’s Equation to Predict Thermal and Wetting Properties of Lead-free Solder Alloy. TMETC3 Conference (The 3rd Thailand Metallurgy Conference), Bangkok, Thailand. OCT 26-27, 2009.
  • Lewan A, Nisaratanaporn E, Thanachayanont C, Chairuengsri T and Lohwongwatana B. Breakdown of Hall-Petch Grain Boundary Strengthening Effect in Nano-Crystalline Gold Alloy. TMETC3 Conference (The 3rd Thailand Metallurgy Conference), Bangkok, Thailand. OCT 26-27, 2009.
  • Lohwongwatana B and Lewan A. Nanometarial for Structural Application by in-situ Nanocrystallization of Bulk Metallic Glass. GERMAN-THAI SYMPOSIUM ON NANOSCIENCE AND NANOTECHNOLOGY GTSNN2009, Chiang Mai, Thailand. September 21-22, 2009.
  • Lohwongwatana B. Design and Synthesis of Gold Metallic Glass and Nano-composite. KEYNOTE SPEAKER THE GOLD CONFERENCE 2009 in Heidelberg, Germany , July 26-29, 2009.
  • Lohwongwatana B Transmission Electron Diffractometry in Amorphous and Nano-crystalline materials. วิทยากรรับเชิญ ในงานประชุม เทคนิคขั้นสูงทางจุลทรรศนศาสตร์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 6-7 กรกฎาคม 2552
  • Lohwongwatana B, Suh JY, Conner R, Johnson WL, and Suh D. Lead-free Solder Alternative — Thermoplastic Joining Processes Using Bulk Metallic Glasses The Materials Research Society 2007 Fall Meeting, Boston, MA. September 25-29, 2007.
ผลงานในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา
    • มีความรับผิดชอบ และอุทิศตน แนะนำนิสิตเกี่ยวกับการเรียน การลงทะเบียนเรียน การติดตามผลการศึกษา การสำเร็จการศึกษา ตามระเบียบและแนวปฏิบัติที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกำหนดไว้

 

      อาจารย์ ดร. บุญรัตน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทำหน้าที่แนะนำด้านการเรียนการสอนและการลงทะเบียนของนิสิตระดับปริญญาตรี ทั้งหลักสูตรของภาควิชา ฯ และหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ (ISE) ตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานอย่างดียิ่ง เป็นที่ปรึกษางานวิจัยในภาควิชาสำหรับวิทยานิพนธ์ของนิสิตระดับปริญญาตรีและโท ซึ่งอาจารย์ได้ทำหน้าที่อย่างขยันขันแข็งเอาใจใส่ ติดตามผลการเรียนและให้เวลากับนิสิตสม่ำเสมอ ด้านการลงทะเบียนเรียน อาจารย์จะสอบถามความก้าวหน้าและผลการเรียนเพื่อแนะนำให้ลงรายวิชาที่จะเป็นประโยชน์ต่อนิสิตถูกต้อง และสอดคล้องกับแผนการศึกษาต่อในระดับสูง หรือเหมาะสมกับการประกอบวิชาชีพในแนวทางที่นิสิตเลือก อาจารย์จะตักเตือนนิสิตที่ทำผิดกฎระเบียบของคณะ ฯ และมหาวิทยาลัย ด้วยกริยาที่สุภาพ ให้โอวาท ชี้แจงเหตุผล เพื่อให้นิสิตเข้าใจว่ากฎระเบียบที่กำหนดให้นิสิตปฏิบัติจะมีผลดีต่อนิสิตอย่างไร และจะเสริมสร้างบุคลิกที่ดีต่อภาพลักษณ์ของนิสิตในสังคม รวมถึงเป็นหน้าเป็นตาให้กับคณะ ฯ และมหาวิทยาลัย อาจารย์บุญรัตน์เป็นที่ปรึกษาด้านงานวิจัยของภาคนิพนธ์ทั้งระดับปริญญาตรีและโท ซึ่งพร้อมด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญ พร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์งานวิจัยให้กับนิสิต คอยติดตามผลการทดลอง มีการนัดประชุมกลุ่มวิจัยอย่างสม่ำเสมอ นิสิตได้มีการฝึกฝนการนำเสนอผลงาน มีการถกปัญหาและเสวนากันในกลุ่ม และนัดพูดคุยกับนิสิตรายบุคคล เพื่อสอบถามและติดตามงานวิจัย นิสิตบางคนที่จบและได้ทุนรัฐบาลเพื่อกลับมาเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาฯ ในระหว่างที่ยังไม่เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศได้มาขอคำแนะนำในการเรียน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำและให้ฝึกงานในเรื่องที่จะไปศึกษาต่อเพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจ จะได้ลดปัญหาในการศึกษาต่อที่ต่างประเทศ

 

      ผลงานที่ปรึกษาโดดเด่นที่สุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาคือ ในกรณีนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีความต้องการพิเศษ (มีปัญหาด้านสังคมและพฤติกรรม) ซึ่งไม่สามารถฝึกงานภายนอกตามปกติได้ อาจารย์ได้ช่วยเหลือแนะนำให้ฝึกงานในภาควิชาฯ โดยอาจารย์รับเป็นผู้ดูแลและแนะนำให้ฝึกงานในสิ่งที่นิสิตพอใจ สมัครใจที่จะทำ โดยเลือกทำกระบวนการวิจัยแบบ Finite Element โดยอาจารย์จะเอาใจใส่และให้เวลาเพื่อฝึกสอน และติดตามแก้ไขปัญหาโดยใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อสัปดาห์ และเมื่อนิสิตเลือกที่จะทำ Senior Project กับอาจารย์ต่อ อาจารย์ก็ยินดีรับด้วยความเต็มใจโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เพราะการดูแลนิสิตพิเศษลักษณะนี้ ต้องใช้ความใจเย็น อดทน ความเข้าใจที่สูงกว่าเด็กปกติ

 

    ในเวลาสองปีการศึกษาที่ผ่านมา อาจารย์ก็เป็นที่ปรึกษาร่วมกับท่านอาจารย์ประภาส จงสถิตวัฒนา จากภาคคอมพิวเตอร์ ดูแลนิสิตปริญญาโทจากภาคโลหการ คือนายเชษฐา พันธุ์เครือบุตร ซึ่งต่อมาก็ได้รับทุนจาก สกอ. เพื่อไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ที่มหาวิทยาลัย Imperial และจะกลับมาเป็นอาจารย์อันเป็นกำลังสำคัญของภาควิชาวิศวกรรมโลหการต่อไป ปัจจุบันอาจารย์ยังดูแลนิสิตปริญญาโทที่มีคุณภาพอีกคนหนึ่งของภาควิชา ฯ (จบปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทองคนที่ 2 ของภาควิชา ฯ ซึ่งเป็นเด็กที่ฉลาดมาก เป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิของภาควิชา ฯ และในอนาคตเมื่อศึกษาต่อระดับปริญญาเอกจนจบ อาจเป็นกำลังสำคัญของภาควิชา ฯ ต่อไป)
    • เกื้อหนุนให้นิสิตในที่ปรึกษาเกิด แรงบันดาลใจ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการศึกษาและผลิตผลงานทางวิศวกรรม

 

    อาจารย์ ดร. บุญรัตน์ เป็นอาจารย์รุ่นใหม่ไฟแรงเป็นที่ยอมรับทั้งของคณาจารย์และนิสิตในภาควิชา ฯ ในเรื่องความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทักษะในวิทยาการล้ำสมัย ประกอบด้วยคุณธรรมและการวางตัวที่เหมาะสมกับการเป็นอาจารย์ และเนื่องจากอาจารย์ยังมีอายุไม่มากนักทำให้เข้าใจความต้องการของนิสิตได้ดี จึงทำให้นิสิตเข้าหารือ ปรึกษาขอคำแนะนำ ทั้งการเรียนและงานวิจัย ตลอดจนสามารถพูดคุยและอบรมคุณธรรม การวางตัว ในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ ในปีการศึกษา 2552 อาจารย์ดูแลนิสิตปีที่ 4 จำนวน 6 คน ซึ่งจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท 3 คน และต้องกลับไปทำงานใช้ทุนที่บริษัท สหวิริยาสตีลลอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) 2 คน ส่วนที่เหลือ 1 คน จะเริ่มทำงานที่SCG ซึ่งอาจารย์ได้ติดตามความคืบหน้าตลอด สำหรับนิสิตปริญญาโทจำนวน 4 คน ในปีนี้มีจบ 2 คน ไปศึกษาต่อปริญญาเอก 1 คน ที่ Imperial College ส่วนอีกคนกลับไปช่วยงานกับครอบครัว

 

รางวัลที่เคยได้รับ
  • INVITED SPEAKER the 24th Santa Fe Symposium on Jewelry Manufacturing Technology, Albuquerque, NM. หน่วยงานที่ให้ The Santa Fe Symposium (2010)
  • ผลงานวิจัยยอดเยี่ยม ประเภทบรรยาย ในงานสัมมนาวิชาการ”นักวิจัยรุ่นใหม่..พบ..เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ครั้งที่ 9 ที่โรงแรม ฮอลิเดย์อินน์ รีสอร์ท รีเจนท์ บีช ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี หน่วยงานที่ให้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในวันที่ 15-17 ตุลาคม 2552. (2009)
  • KEYNOTE SPEAKER ในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ THE GOLD CONFERENCE 2009 in Heidelberg, Germany. July 26-29, 2009. หน่วยงานที่ให้ The World Gold Council and University of Heidelberg. (2009)
  • Best Presentation Award, Application Section, Thailand’s 3rd Metallurgy conference (TMETC) หน่วยงานที่ให้ (1) National Metals and Materials Science Center (MTEC), (2) Iron and Steel Institute of Thailand (ISIT), (3) Federation of Thai Industries (FTI), and Chulalongkorn University. (2009)
  • INVITED SPEAKER the 22nd Santa Fe Symposium on Jewelry Manufacturing Technology, Albuquerque, NM. หน่วยงานที่ให้ The Santa Fe Symposium (2008)
  • Outstanding Technical Presentation Award, the 21st Santa Fe Symposium on Jewelry Manufacturing Technology, Albuquerque, NM. หน่วยงานที่ให้ The Santa Fe Symposium (2008)
  • Best Presentation Award, Structure Section, Thailand’s 1st Metallurgy conference (TMETC) หน่วยงานที่ให้ (1) National Metals and Materials Science Center (MTEC), (2) Iron and Steel Institute of Thailand (ISIT), (3) Federation of Thai Industries (FTI), and Chulalongkorn University. (2007)
เคล็ดลับความสำเร็จ/ความนัยจากใจเกี่ยวกับรางวัลนี้

ชีวิตของผมมีความผูกพันกับ “วิศวะฯจุฬาฯ” มาตั้งแต่เด็กๆ คุณพ่อเป็นศิษย์เก่าวิศวะฯโยธา วศ.06 และเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาวิศวะฯสิ่งแวดล้อม(เกษียณปี2551) คุณแม่จบจากคณะอักษรฯจุฬาฯ ผมได้มีโอกาสมานั่งที่ลานเกียร์สมัยตอนเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นงานเลี้ยงศิษย์เก่า หรือนั่งรอพ่อสอนหรือประชุมตอนเย็นๆ ผมจำได้ว่าคุณพ่อมีเพื่อนหลายกลุ่ม แต่กลุ่มที่พบกันบ่อยที่สุด กินเลี้ยงกันบ่อยที่สุด ไปเที่ยวด้วยกันและสนิทกันมากที่สุด ก็เป็นเพื่อนกลุ่มวิศวะฯจุฬาฯนั่นเอง เป็นกลุ่มเพื่อนที่ผมรู้สึกว่า มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นห่วงกันมากที่สุด มีการติดต่อสื่อสารกัน มีการติดตามข่าวสาร ความเป็นไปของลูกๆหลานๆ ตัวผมเองก็มีเพื่อนสนิทหลายคนที่เป็นลูกๆของเพื่อนพ่อนี่เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ผมยิ่งได้เห็นถึงความเหนียวแน่นและความสามัคคีของกลุ่มวศ.06 (อาจเป็นเพราะหลายท่านเริ่มมีเวลามากขึ้นด้วย) มีการนัดพบสังสรรกันเกือบทุกเดือน มีเพื่อนของคุณพ่อหลายคน ที่ทำให้ผมรู้สึกได้เลยว่า ท่านเป็นเหมือนคุณลุง เหมือนคุณอาของผมจริงๆ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้ผมรู้สึกได้ว่า คณะของเรามีอะไรที่พิเศษมาก

ผมจำได้ว่า ตรงบริเวณสนามบาสเกตบอลหลังตึกโยธา ในสมัยก่อนนั้น เป็นหนองน้ำเล็กๆ ที่ดูรกและลึกลับน่ากลัวมาก ผมเคยมองลงมาจากห้องทำงานของพ่อ จากชั้นสองของตึกสิ่งแวดล้อมเก่า (ปัจจุบันคือตึกโยธา-สิ่งแวดล้อม) แล้วเคยเห็นงูตัวใหญ่เลื้อยผ่านทางเดินลัดที่ลัดเลาะไปโรงอาหารรัฐศาสตร์ ในปัจจุบันหนองน้ำนั้นได้กลายเป็นสนามบาสเกตบอล ตอนนี้ผมได้ลงไปเตะบอลกับเพื่อนคณาจารย์และลูกศิษย์ตอนเย็นตรงจุดที่งูตัวนั้นเลื้อยผ่านนั่นเอง เกือบทุกครั้ง ผมก็อดไม่ได้ที่จะมองกลับขึ้นไป แล้วย้อนนึกเห็นตัวเองตอนเด็กๆ ที่นั่งทำการบ้านอยู่ในห้องทำงานของพ่อ เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ตอนนี้ ผมได้มาเตะบอลกับลูกศิษย์ของผมเอง และพบว่า นิสิตของคณะได้มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกว่าไม่เปลี่ยนไปเลย ก็คือ สปิริต ความภาคภูมิใจในความเป็นวิศวะฯจุฬาฯ ความรักสถาบัน และความยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเองของบุคคลรอบๆตัวผม แม้ภาควิชาผม จะเป็นภาคเล็ก และอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันบ้าง แต่ผมก็รู้สึกได้ว่า ทุกคนรักวิศวะจุฬาฯ และอาจารย์ทุกท่านก็มุ่งเน้นที่จะผลิตนิสิตที่มีคุณภาพ ตัวผมเองไม่มีประสบการณ์ความเป็นครูมากนัก แต่ผมก็ดีใจที่อาจารย์ทุกๆท่านและบุคคลากรรอบตัวผมยินดีที่จะช่วยตอบคำถาม ให้คำแนะนำ และเข้ามาช่วยผมด้วยตนเองเลยก็มีหลายครั้ง ผมรู้สึกโชคดีที่ได้มาอยู่ในคณะของเราที่ทุกคนมีความรักใคร่ มีวัฒนธรรมองค์กรที่พิเศษ มีประวัติและประเพณีอันยาวนาน

สำหรับตัวผมเองและการดูแลลูกศิษย์ ความจริงก็ไม่มีอะไรมากมายครับ เพียงให้พยายามมองอยู่ตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรงานหรือกิจกรรมของเราจะบรรลุผล และขยายตัวได้อย่างยั่งยืน ผมจะถามลูกศิษย์ผมตั้งแต่เริ่มรู้จักกันว่า พวกคุณมีฝันไหม ในอนาคตอันใกล้อยากเป็นอะไร (ส่วนใหญ่เขาก็จะตอบได้ทันทีซึ่งผมก็จะใช้ฝันของเขาเองเป็นตัวกระตุ้นเตือนใจนิสิตต่อไป) แต่ที่นิสิตตอบยากกว่าก็คือ คำถามที่ว่า แล้วในอนาคตอันไกล พวกคุณมีฝันไหม มองเห็นตัวเองเป็นใคร มีบทบาทอะไรในสังคมที่ทำให้พวกคุณรู้สึกได้ว่าประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว

สำหรับนิสิตในที่ปรึกษา นอกจากจะต้องสร้างบรรยากาศให้ทุกคนตื่นตัว สนุกเป็นกันเองแล้ว ทุกอย่างมันมีเหตุและผลของมัน เราจึงต้องศึกษาเอาใจใส่กันอย่างจริงจัง ปรึกษาหารือกันเมื่อมีโอกาส เราก็จะเข้าใจในหลักการและเหตุผล เกิดแนวความคิดใหม่ๆ นำไปสู่การลองผิดลองถูก สักวัน ก็จะประสบความสำเร็จได้ สำหรับความในใจ กับการได้รับเกียรติในครั้งนี้ ผมรู้สึกยินดี และเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ซึ่งผมถือว่า เป็นก้าวแรกของความเป็นครูที่ดีคนหนึ่ง ที่ผมฝันและหมายมั่นจะได้เป็น เพื่อทดแทนบุญคุณต่อประเทศชาติ ที่ได้ให้โอกาสแก่ผม โดยส่งผมไปศึกษาต่อในต่างประเทศ อย่างยาวนานถึง 11 ปี ผมจะตั้งใจ ที่จะประพฤติปฏิบัติตนอย่างที่ครูที่ดีจะพึงกระทำ ต่อไปครับ