FACULTY

ทำเนียบ “ศักดิ์อินทาเนีย” : ศาสตราจารย์ ดร.ประภาส จงสถิตย์วัฒนา

ตำแหน่ง    ศาสตราจารย์ A-2
สังกัด        ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เริ่มปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ 19 พฤษภาคม 2537
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2523 วศ.บ. (ไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2537 Ph.D. (Computer Eng.) Edinburgh Univ., U.K.

รางวัลที่ได้รับ

นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศน์ศาสตร์

หน่วยงานที่ให้รางวัล สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ความสำคัญ / ความเป็นมาของรางวัล

“นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ” คือนักวิจัยซึ่งได้อุทิศตนให้แก่การวิจัยในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง ในกลุ่มวิชาการหรือสหวิทยาการอย่างต่อเนื่อง มีผลงานวิจัยดีเด่นที่แสดงถึงความคิดริเริ่มและเป็นผลงานวิจัยที่ทำสะสมมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งเป็นผู้ที่มีจริยธรรมของนักวิจัยจนเป็นที่ยกย่องในวงวิชาการนั้นๆ โดยผลงานวิจัยสร้างคุณูปการต่อวงวิชาการและประชาชน สมควรเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยผู้อื่นได้

รางวัลอื่นๆที่เคยได้รับ
  • พ.ศ. 2527 รางวัลที่ 2 ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เรื่อง “ขั้นตอนวิธีการประมวลผลภาษาไทยและการสังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย”, สภาวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2528 รางวัลงานวิจัย จากสถาบันวิจัย ม.เกษตรศาสตร์ เรื่อง “ขั้นตอนวิธีการประมวลผลภาษาไทยและการประยุกต์”
  • พ.ศ. 2529 รางวัลที่ 3 ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เรื่อง “การประยุกต์ โปรแกรมระบบผู้ชำนาญการ”, สภาวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2530 รางวัลที่ 3 ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เรื่อง “ระบบประมวลผลและพิมพ์ภาษาไทย”, สภาวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2531 รางวัลที่ 3 ผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ เรื่อง “โปรแกรมระบบของ Basic Input Output System (BIOS) สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ 16 บิต”, สภาวิจัยแห่งชาติ
เคล็ดลับความสำเร็จ
  • การเคารพความรู้ และแสวงหาความรู้โดยปราศจากอคติ สามารถทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
  • มีความคิดริเริ่ม และการอุทิศตนเพื่อการวิจัยอย่างต่อเนื่อง
  • มีจริยธรรมและการปฏิบัติตนที่น่าเป็นแบบอย่างแก่นักวิจัยอื่น

อาชีพอาจารย์ในมหาวิทยาลัย มีความรับผิดชอบอย่างสูงในการผลิตบัณฑิต เพื่ออนาคตของประเทศ งานสอนจึงเป็นภาระที่สำคัญอย่างมาก การทำวิจัยได้ถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อvถ่ายทอดให้นิสิตนักศึกษารู้จักคิดและค้นคว้า ในการทำงานวิจัยที่ต่อเนื่องยาวนาน ผู้ร่วมวิจัย ไม่ว่าจะอยู่สถาบันเดียวกัน หรือต่างสถาบัน ต่างก็มีความเคารพซึ่งกันและกัน มีการเกื้อกูลกันอย่างเสมอต้นเสมอปลาย แสดงให้เห็นถึงความจริงใจและจริงจัง ในความเชื่อที่ว่า การเคารพความรู้ และแสวงหาความรู้โดยปราศจากอคติ สามารถทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข