FACULTY

ทำเนียบ “ศักดิ์อินทาเนีย”: ศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว

ตำแหน่ง   ศาสตราจารย์ ระดับ 11
สังกัด       ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
เริ่มปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2517
ประวัติการศึกษา      พ.ศ. 2512 ปริญญาตรี วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2514 ปริญญาโท วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. 2517 ปริญญาเอก วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
โดยได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่นตลอดการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-โท-เอก

รางวัลที่ได้รับ

บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำพุทธศักราช 2553

หน่วยงานที่ให้รางวัล

สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ความสำคัญ/ความเป็นมาของรางวัล

ผู้ริเริ่มร่วมบุกเบิกเกี่ยวกับการวิจัยด้านเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นเวลากว่า 30 ปี และเป็นผู้ริเริ่มงานด้าน นาโนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยได้ศึกษาถึงโครงสร้างควอนตัมดอต การวิจัยในเรื่องนี้สามารถนำมา ใช้ในสิ่งประดิษฐ์ที่มีสมรรถนะสูง ทำงานได้ด้วยความเร็วสูง แต่ใช้พลังงานน้อย จากคุณสมบัตินี้เป็นที่ต้อง การของสิ่งประดิษฐ์ยุคใหม่ที่พลังงานมีราคาแพง นับว่าเป็นผู้บุกเบิกการสร้างผลงานด้านนาโนอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ให้อยู่ในระดับเดียวกับเทคโนโลยีระดับสูงของนานาชาติ

รางวัลอื่น ๆ ที่เคยได้รับ
  • พ.ศ. 2522 รางวัลสิ่งประดิษฐ์ “เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดช้อตกี้แบเรียร์” จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2524 รางวัลสิ่งประดิษฐ์ “เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์” จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2525 รางวัลสิ่งประดิษฐ์ “แผงเซลล์แสงอาทิตย์” จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2529 รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2535 รางวัลสิ่งประดิษฐ์ “เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอน” จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2535 รางวัลสิ่งประดิษฐ์ “บัตรประจำตัวแบบโฮโลกราฟิค” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2536 รางวัลสิ่งประดิษฐ์ “โฮโลแกรมซ้อน” จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2536 นักวิชาการดีเด่น จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2539 รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากมูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย (ประเภทหน่วยงาน)
  • พ.ศ. 2540 นักวิจัยดีเด่นแห่งปี ’40 จากทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2540 วิศวกรดีเด่นแห่งปี ’40 จากสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2542 รางวัลนักวิจัยดีเด่น ปี ’42 จากสมาคมอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2546 ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 14 วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ด้านโฟโตโวตาอิค (PVSEC-14)
  • พ.ศ. 2546 รางวัล PVSEC ในการวิจัยด้านเซลล์แสงอาทิตย์
  • พ.ศ. 2546 เมธีวิจัยอาวุโส จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • พ.ศ. 2546 รางวัลดีเด่นด้านโปสเตอร์วิจัย เรื่อง “ควอนตัมดอทที่เป็นระเบียบ” จากการประชุมนานาชาติด้านวิศวกรรมไมโคร-นาโน ปี 2004
  • พ.ศ. 2546 รางวัลบทความวิจัยดีเด่น เรื่อง “ควอนตัมดอทโมเลกุลสำหรับควอนตัมคอมพิวเตอร์” จากการประชุมด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 27
  • พ.ศ. 2549 รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากมูลนิธิโทเร เพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย (ประเภทบุคคล)
  • พ.ศ. 2549 อาจารย์แบบอย่างของสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ จากสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2551 รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาวิศวกรรมศาสตร์
เคล็ดลับความสำเร็จ

จินตนาการ