FACULTY

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์

ตำแหน่ง    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ A-4
สังกัด        ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
เริ่มปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ   26 เมษายน 2547
ประวัติการศึกษา    

พ.ศ. 2539 วท.บ. (วัสดุศาสตร์) (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2542 M.S. (Macromolecular Science and Engineering) University of Michigan, U.S.A.
พ.ศ. 2546 Ph.D. (Macromolecular Science and Engineering) University of Michigan, U.S.A.

ผลงานด้านการเรียนการสอน
  • เอกสารประกอบการสอนวิชา Physical Chemistry for Chemical Engineers (เคมีฟิสิกส์)
สิทธิบัตร
  • “ฟิล์มพอลิเมอร์/ดินเหนียวนาโนคอมโพสิต” วันยื่นคำขอ 26 มีนาคม 2552 และมีเลขที่คำขอ 0901001350 แหล่งทุน IRPUS สกว, MRG สกว
  • “ฟิล์มบรรจุภัณฑ์คอมโพสิตของพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ-ซิโอไลต์ที่สามารถยืดอายุผลิต ผลสด” วันยื่นคำขอ 24 เมษายน 2552 และมีเลขที่คำขอ 0901001831 แหล่งทุน MAG ขณะนี้อยู่ ในขั้นตอนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาสิทธิบัตร
  • “วิธีการประกอบวัสดุไมโครอิเลคทรอนิกส์แบบฟลิปชิปโดยให้ความร้อนขั้นตอนเดียว” วันยื่นคำขอ 5 เมษายน 2555 และมีเลขที่คำขอ 1201001607 แหล่งทุน บริษัท เม็กเท็ค แมนูแฟคเจอริ่ง คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
  • “วัสดุรีโฟลว์เอนแคปซูเลนท์ที่มีสมบัติในการชะโลหะออกไซด์” วันยื่นคำขอ 5 เมษายน 2555 และมี เลขที่คำขอ 1201001608 แหล่งทุน บริษัท เม็กเท็ค แมนูแฟคเจอริ่ง คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
  • “ฟิล์มและชีทบรรจุภัณฑ์ของพอลิเมอร์ผสมระหว่างยางพาราและพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทาง ชีวภาพ” แหล่งทุน โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ ยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีนาคม 2555
  • “ฟิล์มและชีทบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ” แหล่งทุน โครงการภายใต้แผนปฏิบัติ การไทยเข้มแข็ง 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีนาคม 2555
  • “ฟิล์มและชีทบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพที่มียางพาราเป็นส่วนประกอบ” แหล่งทุน โครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ของกระทรวงศึกษาธิการ ได้ยื่นขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ มีนาคม 2555
สารานุกรม
  • Michael J. Solomon and Anongnat Somwangthanaroj, “Intercalated Polypropylene Nanocomposites,” Dekker Encyclopedia of Nanoscience and Nanotechnology, 1st ed. New York: Marcel Dekker Inc., 2004, p 1483 – 1490.
บทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ
  • Anongnat Somwangthanaroj, Khamkaew Photyotin, Sarintorn Limpanart, Wiwut Tanthapanichakoon, “Effect of type of surfactants and organoclay loading on the mechanical properties of EVOH/clay nanocomposite films” accepted to be published in Polymer-Plastics Technology and Engineering. (IF = 0.557)
  • Anongnat Somwangthanaroj , Mongkol Tantiviwattanawongsa and Wiwut Tanthapanichakoon, “Mechanical and gas barrier properties of nylon 6/clay nanocomposite blown films” Engineering Journal, V16 (2), 2012, p 93 – 105.
  • Sarawut Rimdusit, Kanokwan Punson, Isala Dueramae, Anongnat Somwangthanaroj, Sunan Tiptipakorn, “Rheological and thermomechanical characterizations of fumed silica-filled polybenzoxazine nanocomposites” Engineering Journal, V15 (3), 2011, p 27 – 38.
  • Anongnat Somwangthanaroj, Walailak Ubankhlong and Wiwut Tanthapanichakoon “Solid-state Mechanical Properties of Polypropylene/Nylon 6/Clay Nanocomposites” Journal of applied polymer science, V118, 2010, p 538 – 546. (IF = 1.240)
  • Anongnat Somwangthanaroj, Kamonwan Suwanchatchai, Shinji Ando and Wiwut Tanthapanichakoon, “Effect of zinc precursor on thermal and light emission properties of ZnO nanoparticles embedded in polyimide films,” Materials Chemistry and Physics V114, 2009, p 751 – 755 (IF = 2.356)
  • Anongnat Somwangthanaroj, Chathatai Phanthawonge, Shinji Ando and Wiwut Tanthapanichakoon, “Effect of the origin of ZnO nanoparticles dispersed in polyimide films on photoluminescence and thermal stability,” Journal of applied polymer science V110, 2008, p 1921 – 1928. (IF = 1.240)
  • Supong Arunvisut, Suttipat Phummanee and Anongnat Somwangthanaroj, “Effect of clay on mechanical and gas barrier properties of blown film LDPE/clay Nanocomposites,” Journal of applied polymer science V106, 2007, p 2210-2217 (IF = 1.240)
  • Adivaraha Jayasankar, Anongnat Somwangthanaroj, Zezhi J. Shao and Nair Rodrí guez-Hornedo, “Cocrystal Formation during Cogrinding and Storage is Mediated by Amorphous Phase,” Pharmaceutical Research, V23, N10, 2006, p 2381 – 2392. (IF = 4.456)
  • Anongnat Somwangthanaroj, Ellen C. Lee and M. J. Solomon, “Early stage quiescent and flow-induced crystallization of intercalated polypropylene nanocomposites by depolarized light scattering,” Macromolecules, V36, 2003, p 2333 – 2342. (IF = 4.838)
  • Michael J. Solomon, Abdulwahab S. Almusallam, Kurt F. Seefeldt, Anongnat Somwangthanaroj and Priya Varadan, “Rheology of Polypropylene/Clay Hybrid Materials,” Macromolecules, V34, 2001, p 1864 – 1872. (IF = 4.838)
บทความในงานประชุมวิชาการ (Proceedings)

จำนวน 54 บทความ

งานด้านบริหาร
  • รองหัวหน้าภาคฝ่ายกิจการพิเศษ พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน
  • กรรมการบริหารภาควิชา พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน
  • กรรมการบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเคมี พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน
รางวัลที่เคยได้รับ
  • รางวัลชมเชยผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 47 เรื่อง การพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์พอลิเอทธิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ-ซิโอไลต์เพื่อยืดอายุการเก็บ รักษามะนาว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 ณ ห้องประชุมสุธรรมอารีกุล
  • รางวัลลอรีอัลประเทศไทยเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ปีที่ 7 (ปี 2552) โดยการสนับสนุนของ สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่ง สหประชาชาติ เรื่อง “การพัฒนาฟิล์มพอลิแลคไทด์/ดินเหนียว นาโนคอมโพสิตเพื่อประยุกต์ ใช้ใน งานด้านบรรจุภัณฑ์อย่างอ่อน”
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จากโครงการ PTT Chemical Green Innovation award ปี 2551 เรื่อง “การใช้ฟิล์มวัสดุประกอบแต่งนาโนในงานบรรจุภัณฑ์อย่างอ่อน”
  • รางวัลชมเชยอันดับหนึ่ง ประเภท Professional Vote จาก IRPUS สกว ปี 2551 (จากโครงการ ทั้งหมด 850 โครงการ) เรื่อง “การพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์ โดยใช้พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่น ต่ำ/ดินเหนียว นาโนคอมโพสิตและศึกษาความเป็นไปได้ในการนำดินเหนียวในประเทศไทยมาใช้”
  • ผ่านการคัดเลือกระดับภูมิภาค ของโครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย (นวท) ครั้งที่ 8 ปี 2551 เรื่อง “การเพิ่มคุณภาพของฟิล์มบรรจุภัณฑ์ โดยใช้นาโนเทคโนโลยีที่มีราคาไม่แพง สามารถใช้ขบวนการผลิตในปัจจุบัน และใช้อนุภาคนาโนจากแหล่งดินเหนียวในประเทศไทย”
  • Xerox Corporation Award in recognition of academic excellence, University of Michigan ปี 2545
  • Macro’s Rackham Block Grant Fellowship, University of Michigan ปี 2543
  • Sloan Summer Fellowship, The Alfred P. Sloan Foundation ปี 2542
  • Sloan Summer Fellowship, The Alfred P. Sloan Foundation ปี 2541
เคล็ดลับความสำเร็จ/ความนัยจากใจเกี่ยวกับรางวัลนี้

งานต่างๆ ไม่มีทางสำเร็จได้ด้วยคนเพียงคนเดียว รางวัลที่ได้รับนี้มีผู้ที่อยู่เบื้องหลังมากมาย การได้รับโอกาสที่ ดีจากผู้ใหญ่หลายๆ ท่านทั้ง ศ.ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม ที่ให้โอกาสร่วมทำโครงการของบริษัทเม็กเท็คฯ และคณะ ที่ให้โอกาสทำโครงการฟิล์มบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 การมีผู้ร่วมงานที่ดี ทั้งอาจารย์ ในภาควิชาและนักวิจัยของบริษัททำให้งานไปได้ด้วยดี ในการพัฒนาฟิล์มบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้รับความ ร่วมมือจาก ดร. อภิตา บุญศิริ จากศูนย์เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นอกจากนี้อาจารย์อาทร วิจิตรอมรเลิศ อาจารย์พิเศษภาควิชาวัสดุ ศาสตร์ สาขาพอลิเมอร์และสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้คำแนะนำในเรื่องเทคนิคการขึ้นรูปและข้อคิดที่น่าสน ใจ และที่สำคัญนิสิตในที่ปรึกษาด้านงานวิจัยทุกคนที่ ณ วันนี้เป็นมหาบัณฑิตแล้ว 26 คน และบัณฑิต 23 คน

ดิฉันมองว่าการที่นิสิตทำวิจัยในโครงการของบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ เป็นสถานการณ์ที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย โดยหัวข้องานวิจัยเป็นเครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการพัฒนานิสิต ในยุคนี้การหาความรู้ไม่ใช่เรื่องยาก หนังสือดีๆสื่อการเรียนการสอนดีๆ มีมากมาย ดิฉันมองว่าบทบาทของอาจารย์ ไม่ได้มีเพียงการป้อนความรู้ให้นิสิต แต่เป็นการส่งเสริมให้นิสิตสามารถประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้งานได้ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเป็น ทำงานเป็นทีมได้ดี สื่อสารได้ดีทั้งไทยและอังกฤษ มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์และรับผิดชอบ นอกจากนี้การทำวิจัยในโครงการที่ต้องใช้ความรู้หลากหลายสาขาทำให้นิสิตได้พัฒนาทักษะในหลายด้านและมองภาพรวมของงานต่างๆ ได้ดีขึ้น