FACULTY

รองศาสตราจารย์ ดร.มานะ ศรียุทธศักดิ์

ตำแหน่ง  รองศาสตราจารย์ A-3
สังกัด        ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
เริ่มปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อ   14 กรกฎาคม 2532
ประวัติการศึกษา    

พ.ศ. 2527 B.ENG. (Electrical & Electronic ENG.) Tokyo Institute of Technology, Japan
พ.ศ. 2529 M.ENG. (Electrical & Electronic ENG.) Tokyo Institute of Technology, Japan
พ.ศ. 2532 D.ENG. (Electrical & Electronic ENG.) Tokyo Institute of Technology, Japan

ลักษณะงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  • สอนรายวิชาของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า,หลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช
กิจกรรมของคณะที่เข้าร่วม หรือมีส่วนในการดำเนินงาน
  • รายการพูดจาประสาช่าง เรื่อง วิศวกรกับสาธารณสุขชุมชนและสิ่งแวดล้อม ออกอากาศเมื่อวัน อาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 08.30-09.00 น.ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz
  • สัมมนา Faculty Talk ครั้งที่ 33 เรื่อง “การพิมพ์ตำรากับสำนักพิมพ์แห่งจุฬาฯ” เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 ห้อง 202 อาคารอรุณสรเทศน์
  • บทสัมภาษณ์ ในวารสารช่างพูดฉบับที่ 4/54 เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2554 คอลัมน์ ช่าง ถาม-ช่างตอบ เรื่อง งานนิทรรศการทางวิศวกรรม หน้า 5-7
  • “วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมฝ่าวิกฤตน้ำท่วมใหญ่” โดยได้จัดทำ “Wristband อุปกรณ์ติดตามผู้สูญหาย สำหรับผู้อพยพ เพื่อใช้ในศูนย์อพยพ” และเผยแพร่วิธีการใช้งานผ่านรายการโทรทัศน์ “ฝ่าวิกฤตน้ำ ท่วม” ทางสถานีประชาชน ช่อง Thai PBS เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2554 เวลา 15.00-15.20 น.
  • โครงการเปิดโลกลานเกียร์หัวข้อ “การฟื้นฟูเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมหลังอุทกภัยครั้งที่ 1” เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554
  • โครงการเปิดโลกลานเกียร์หัวข้อ “การฟื้นฟูเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมหลังอุทกภัยครั้งที่ 2” เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2554
  • โครงการเปิดโลกลานเกียร์หัวข้อ “การฟื้นฟูเครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรมหลังอุทกภัยครั้งที่ 3” เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555
แรงจูงใจที่ทำให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของคณะฯ

ตามที่ผู้บริหารคณะฯ และคณบดีได้มีโครงการรณรงค์จิตอาสาต่างๆ และมีบุคลากรของคณะฯ เข้าร่วม โดยได้นำความรู้และเทคโนโลยีมาปรับใช้กับงานและสถานการณ์ต่างๆ ทั้งใน และ นอกคณะฯ ตลอดจนสังคม ส่วนรวม โดยที่เมื่อเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน-ธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยในประเทศไทย มีจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วมกว่า 43 จังหวัด ในการนี้มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับเครื่องจักร/อุปกรณ์ที่จม น้ำและต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากในการหาเครื่องจักร/อุปกรณ์ ใหม่มาทดแทนหรือซ่อมแซมฟื้นฟู เครื่องจักร ซึ่งเป็นภาระอย่างสูงกับโรงงานเหล่านี้ จึงได้ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นและนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยี มาใช้ในการจัดทำโครงการฟื้นฟูเครื่องจักร/อุปกรณ์หลังจากน้ำท่วม โดยร่วมกับคณะทำงานค้นคว้านวัตกรรม เพื่อใช้ทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักร/อุปกรณ์หลังน้ำท่วมรวมถึงกระบวนการฟื้นฟู เพื่อช่วย ให้เครื่องจักรสามารถทำงานต่อไปได้

การอุทิศตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม (ทั้งระดับหน่วยงาน คณะ มหาวิทยาลัย และภายนอกมหาวิทยาลัย)
    • การจัดทำโครงการฟื้นฟูเครื่องจักรอุปกรณ์หลังอุทกภัย โดยได้ร่วมกับคณะทำงานค้นคว้านวัตกรรม เพื่อใช้ทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นกับเครื่องจักร/อุปกรณ์หลังน้ำท่วมแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
      1. นิคมอุตสาหกรรมนวนคร 1 ครั้ง สวทช. เป็นผู้จัดงาน
      2. นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี 1 ครั้ง นิคมอุตสาหกรรมบางกะดีเป็นผู้จัดงาน
      3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 3 ครั้ง 69 หน่วยงาน 129 คน
      4. ชุมชนวังน้อย 1 ครั้ง 5 หน่วยงาน 20 คน
      5. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 1 ครั้ง 23 หน่วยงาน 79 คน
      • สารละลายสำหรับทำความสะอาดเครื่องจักร/อุปกรณ์ที่ประสบภัยน้ำท่วม
      • กระบวนการฟื้นฟูเครื่องจักร/อุปกรณ์ที่ประสบภัยน้ำท่วมโดยเฉพาะ มอเตอร์ แผงวงจร อิเล็กทรอนิกส์

ซึ่งคณะทำงานได้เผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน บริษัท หน่วยงานที่ประสบอุทกภัยระหว่างเดือน ธันวาคม พ.ศ.2554 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 รวม 7 ครั้ง มีผู้เข้ารับการอบรม มาจาก 100 กว่า อุตสาหกรรมจำนวนประมาณ 200 กว่าคน

  • โครงการพัฒนาไม้เท้า เพื่อพัฒนาชีวิตของผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการดังกล่าวสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงสนพระทัยและให้จัดตั้งกองทุน “ไม้เท้าพาร์กินสันพระราชทาน” เปิดรับ ลงทะเบียนผู้ป่วยเพื่อขอรับไม้เท้าตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2553 เป็นต้นมา
  • ห้การสนับสนุนโครงงานวิจัย “แขนกลคนพิการ”ของ นายสิขรรณ วรรธนะสาร ซึ่งโครงงาน ดังกล่าวได้รับรางวัลสุดยอดอัจฉริยะ BRAND’S Gen ปี 2009
  • พัฒนาระบบ CU Tracking system for tracking missing persons แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
    • ระบบที่ 1 สำหรับใช้งานนอกสถานที่ (ใช้ QR Code)
    • ระบบที่ 2 สำหรับใช้งานในศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย (RFID)
      โดยระบบที่ 1 นำมาช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการของโรคอัลไซม์เมอร์
ผลงาน/รางวัลที่เคยได้รับ
  • รางวัลชมเชย ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสาขาเทคโนโลยี สารสนเทศและ นิเทศศาสตร์ อุปกรณ์และซอฟต์แวร์สำหรับคนพิการแขนและ/หรือขาและคนเป็นอัมพาตในการใช้ คอมพิวเตอร์ จากสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ความนัยจากใจเกี่ยวกับรางวัลนี้

ขอขอบคุณที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้มอบรางวัล “ศักดิ์อินทาเนีย” พ.ศ. 2555 ด้านบริหารและบริการ ประเภทน้ำใจยอดเยี่ยม และขอบคุณคณะฯ ที่ให้โอกาสในการทำงาน ตลอดจนการสนับสนุนจาก

  • รองศาสตราจารย์.ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์ (คณบดี)
  • คุณกฤษณ มุฑิตานันท์ (กรรมการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์)
  • ศาสตราจารย์ ดร.โสภณ เริงสำราญ
  • อาจารย์ ดร.บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน

ในการดำเนินการ และขอบคุณ

ครูไพโรจน์ อนันตะเศรษฐกูล
อาจารย์ เดโช ทองอร่าม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงศ์ สุวรรณกวิน
อาจารย์ ดร.อภิวัฒน์ เล็กอุทัย
ครูจันทวรรณ ตันเจริญ
คุณบัญชา อุนพานิช
คุณกิจชัย กาญจนประภากุล
คุณภูวิศร์ ขันต
คุณทิพยมาศ บัวคำ

ที่ร่วมดำเนินงานฟื้นฟูเครื่องจักรมาโดยตลอด

ขอขอบคุณ

คุณดวงตา ใบโคกสูง
คุณธนกฤต สินเปรม
คุณจินตนา อมรลักษณ์
คุณกัญญณัช พลอยสุข
คุณจรรยา อัคโกศล
คุณอติวรรณ พวงวัฒนา
คุณลลิตา ศรีเสริมโภค
คุณวุฒิสาร ใยบัว
คุณรัตนา ประสิทธิเขตกิจ
คุณกรรณิการ์ สวรรค์ โพธิพันธุ์
คุณศิริกัญญา พงษ์ทองเจริญ
คุณธันนี พุ่มอยู่
คุณวรวรรณ หมู่ตระกูลเจริญ
คุณวะรีทิพย์ เจริญไว้สมบัติ
คุณศศิธร กาญจนาโน

และขอขอบคุณ นิสิตจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและนิสิตหลักสูตรวิศวกรรมชีวเวช ที่ช่วยเหลือในการ เตรียมสารละลายเพื่อแจกจ่ายให้ภาคอุตสาหกรรม

ขอขอบคุณ

คุณกรรณิการ์ มาสมาน
คุณพรมม์ปภัส ภัครพรพรรณ์
คุณศิรประภา บุญสุข
คุณบุญยง ดีพร้อม

ในการประชาสัมพันธ์ โครงการฯ