
📢📢 ขยายเวลาการส่งผลงานถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2564
ด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำ “โครงการประกวดออกแบบมาสคอต (Mascot) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ขึ้น โดยเล็งเห็นว่าการสร้างมาสคอต (Mascot) จะเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนที่เป็นเอกลักษณ์ของคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในการเป็นสื่อกลางบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ สร้างการรับรู้ การจดจำ และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ผ่านทางสื่อประชาสัมพันธ์และกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะฯ สู่สาธารณชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
มาสคอต (Mascot) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะต้องสื่อเอกลักษณ์ความเป็น “วิศวฯ จุฬาฯ” ภายใต้แนวคิด “Chula Engineering : Innovation toward Sustainability” หรือ “นวัตกรรมสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นคำขวัญใหม่ของคณะฯ แสดงถึงความมุ่งมั่นของวิศวฯ จุฬาฯ ในการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมส่งต่อออกสู่สังคมเพื่อเป้าหมายในการสร้างความยั่งยืนภายใต้ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดย “Innovation” หรือนวัตกรรม ผลงานที่ถูกคิดค้นพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากความร่วมมือของทั้งคณาจารย์ นิสิต บุคลากร และหน่วยงานเครือข่าย “2” ที่พ้องเสียงกับคำว่า “Toward” ที่สื่อถึงการก้าวสู่ “ศตวรรษที่สอง” ของคณะวิศวฯ จุฬาฯ ที่ไม่เคยหยุดพัฒนาเพื่อที่จะนำไปสู่ “SD” ที่มาจาก “Sustainable Development” การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งถือเป็นส่วนสรุปที่สำคัญในการทำงาน และเป้าหมายความทุ่มเทของคณะวิศวฯ จุฬาฯ ในฐานะฟันเฟืองหนึ่งของสังคม
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างมาสคอต (Mascot) ที่เป็นเอกลักษณ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างการจดจำและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เพื่อนำมาสคอต (Mascot) ไปใช้สำหรับการประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งการประชาสัมพันธ์ภายในประเทศและต่างประเทศ
หลักเกณฑ์ในการประกวดออกแบบมาสคอต (Mascot)
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
- นิสิตปัจจุบันทุกระดับของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิสิตเก่าทุกหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์หรือบุคลากรปัจจุบันของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ผู้เข้าประกวด 1 ท่าน มีสิทธิ์ส่งผลงานได้ไม่จำกัดจำนวน
เงื่อนไขผลงานมาสคอต (Mascot) ที่เข้าประกวด
- มาสคอต (Mascot) ต้องสื่อความเป็น “วิศวฯ จุฬาฯ” ภายใต้แนวคิด “Chula Engineering : Innovation toward Sustainability” หรือ “นวัตกรรมสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน”
- มาสคอต (Mascot) เป็นคน สัตว์ สิ่งของ และมีรูปทรงอย่างไรก็ได้ แต่ต้องมีรูปร่างที่มีเอกลักษณ์ ไม่เฉพาะเจาะจงเพศใดเพศหนึ่ง
- มาสคอต (Mascot) ต้องมีชื่อที่มีความหมาย
- ผู้เข้าประกวดต้องออกแบบมาสคอต (Mascot) ที่มองเห็นใน 3 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง
- ผู้เข้าประกวดต้องออกแบบมาสคอต (Mascot) ใน 3 อิริยาบถ คือ สวัสดี กด Like และโบกมือ
- ผู้เข้าประกวดต้องออกแบบด้วยโปรแกรมออกแบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น เช่น Photoshop, Illustrator หรือ 3D เป็นต้น โดยสามารถออกแบบมาสคอต (Mascot) เป็นภาพสเก็ตพร้อมลงสี หรือ มาสคอต (Mascot) ที่เสร็จสมบูรณ์
- ผู้เข้าประกวดต้องออกแบบมาสคอต (Mascot) เป็นรูปแบบภาพสีอยู่ในพื้นกระดาษสีขาว พร้อมทั้งระบุชื่อ-นามสกุลผู้เข้าประกวด ด้านล่างสุดของกระดาษ
- ผู้เข้าประกวดต้องส่งคำอธิบายสั้น ๆ ของชื่อและความหมายของมาสคอต (Mascot) พร้อมเล่าถึงแนวความคิด แรงบันดาลใจหรือเรื่องราวที่สร้างสรรค์ขึ้น
- การออกแบบและสร้างสรรค์มาสคอต (Mascot) ขึ้นโดยผู้เข้าประกวดห้ามลอกเลียนแบบหรือการนำภาพหนึ่งภาพใดมาตกแต่งต้องไม่ซ้ำกับผลงานที่เคยมีการเผยแพร่หรือเป็นที่รู้จักมาแล้ว หรือเคยได้รับรางวัลใด ๆ มาก่อน หากมีผู้ทักท้วงหรือทราบว่าเป็นการลอกเลียนแบบ การสมัครหรือการรับรางวัลถือเป็นโมฆะ รวมทั้งขอคืนเงินรางวัลได้ และผู้ส่งผลงานต้องรับผิดชอบ หากผลงานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิ์อื่นใดของบุคคลอื่น
- ผลงานมาสคอต (Mascot) ทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ไม่ว่าจะได้รับรางวัลหรือไม่ก็ตาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถใช้สิทธิ์ในการปรับแก้ ดัดแปลงผลงาน โดยไม่ต้องแจ้งให้เจ้าของผลงานรับทราบ และขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อประโยชน์ในการใช้งานจริงต่อไป
หลักเกณฑ์ในการตัดสินการประกวดออกแบบมาสคอต (Mascot)
- ผลงานมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการประกวดออกแบบมาสคอต (Mascot)
- มีความเป็นเอกลักษณ์ โดดเด่น สวยงาม จดจําง่าย มีความคิดสร้างสรรค์ และทันสมัย
- แนวคิดและการสื่อความหมายอย่างเหมาะสม
- มีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้จริงในการประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการประชาสัมพันธ์ภายในประเทศและต่างประเทศ และสามารถนำไปใช้ทั้งในรูปแบบภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
รางวัลการประกวดออกแบบมาสคอต (Mascot)
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล
ได้รับเงินรางวัล 20,000.00 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) พร้อมประกาศนียบัตร
การสมัครและส่งผลงานการประกวดออกแบบมาสคอต (Mascot) เข้าร่วมประกวด
- ผู้เข้าประกวดต้องส่งเอกสารและผลงาน รายละเอียดดังต่อไปนี้
- ผู้เข้าประกวดต้องส่งใบสมัครและกรอกรายละะเอียดในใบสมัครให้ครบถ้วน
- ผู้เข้าประกวดต้องส่งมาสคอต (Mascot) เป็นไฟล์นามสกุล .jpg .psd, .ai หรือ .pdf ความละเอียดต้องไม่น้อยกว่า 300 pdi โดยตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อผู้เข้าประกวด
- ผู้ประกวดต้องส่งไฟล์เอกสารเกี่ยวกับผลงานที่ส่งเข้าประกวด โดยระบุคำอธิบายสั้น ๆ ของชื่อและความหมายของมาสคอต (Mascot) พร้อมเล่าถึงแนวความคิด แรงบันดาลใจหรือเรื่องราวที่สร้างสรรค์ขึ้น
- ผู้เข้าประกวดต้องส่งไฟล์เอกสารและผลงานทางอีเมลเท่านั้น โดยส่งมาที่ engcucontest@gmail.com พร้อมระบุหัวข้ออีเมล “ประกวดออกแบบมาสคอตคณะวิศวฯ จุฬาฯ”
- ผู้เข้าประกวดสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2564 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2564
กำหนดการ
วันที่ 29 มีนาคม – 23 เมษายน 2564 | ประกาศรับสมัครและส่งผลงานเข้าประกวดออกแบบมาสคอต (Mascot) |
วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 | คณะกรรมการฯ พิจารณาผลงานที่เข้าประกวด และประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก ผ่านทาง Social Media ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
วันที่ 10-19 พฤษภาคม 2564 | คณะกรรมการฯ พิจารณาผลงานที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก |
เปิดให้บุคคลทั่วไปร่วมโหวตให้คะแนนผ่านทาง Social Media ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3 ช่องทาง ได้แก่ Facebook : Chula Engineering Twitter : ChulaEngineering_Official (@cueng_official) Instagram : chulaengineering_official | |
วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 | ประกาศผลการตัดสินผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ทาง Social Media ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
วันที่ 1 มิถุนายน 2564 | พิธีมอบรางวัลและประกาศนียบัตรให้กับผู้ชนะเลิศ ในวันคล้ายวันสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบรอบ 108 ปี |
ประกาศผลการประกวดออกแบบมาสคอต (Mascot)
ประกาศผลการตัดสินผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ทาง Social Media ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 ช่องทาง ได้แก่
- เว็บไซต์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (www.eng.chula.ac.th)
- Facebook : Chula Engineering
- Twitter : ChulaEngineering_Official (@cueng_official)
- Instagram : chulaengineering_official
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ภารกิจบริหารและธุรการ ด้านสื่อสารองค์กร อาคาร 3 ชั้น 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 0-2218-6337 หรือ 0-2218-6694
ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564