คณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ สถานีวิทยุจุฬาฯ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ BOOTCAMP ภายใต้โครงการภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 (ENVI Mission 4) โดยในปีนี้จัดในธีม “Decode the Pipeline : Electrify the Future รวมพลังคิด(ส์) ฝ่าวิกฤตพลังงาน”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ BOOTCAMP ภายใต้โครงการภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 (ENVI Mission 4) โดยในปีนี้จัดในธีม “Decode the Pipeline : Electrify the Future รวมพลังคิด(ส์) ฝ่าวิกฤตพลังงาน” สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจให้กับเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ เกี่ยวกับสภาพปัญหา ความสำคัญ และแนวทางการใช้พลังงานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามบริบททางสังคม วัฒนธรรมของประเทศไทย เพื่อให้เยาวชนและอาจารย์ที่ปรึกษาจากทุกภูมิภาคของประเทศไทยได้นำความรู้ความสามารถนำไปต่อยอดใช้จริงในท้องถิ่นของตนเอง ในวันที่ 9-11 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี

โดยกิจกรรมครั้งนี้นำทีมโดย ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนุล รองคณบดี ร่วมถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงาน เรื่อง Carbon footprint และกิจกรรม Your Decarbonized Life: Energy Sector และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตร พร้อมทั้งให้โอวาทแก่น้อง ๆ นักเรียน และคณาจารย์ที่ปรึกษาที่เข้าร่วม BOOTCAMP ในการปลูกฝังแนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้เยาวชนและอาจารย์นำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการฯ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนของตนเองผ่านการทำโครงงานให้เกิดความยั่งยืนสืบไป

คณะวิศวกรรมศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.ศราวุธ ริมดุสิต อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรเมธีวิจัยอาวุโส วช. ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2566 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ครั้งที่ 18 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลถ้วยรางวัลให้กับนักวิจัยที่ได้รับรางวัลประเภท Platinum Award จำนวน 2 รางวัล และพระราชทานเกียรติบัตร ให้แก่นักวิจัยศักยภาพสูง ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น วช. และเมธีวิจัยอาวุโส วช. จำนวน 18 ราย เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งเพื่อเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ที่ได้ค้นคว้าวิจัย และคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ ดร.ศราวุธ ริมดุสิต อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรเมธีวิจัยอาวุโส วช. ประจำปี 2566

 

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ ประเสริฐธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี ในโอกาสที่ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566 ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม ซี โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว กรุงเทพฯ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภฤกษ์ ประเสริฐธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566 จากการคิดค้นและพัฒนางานวิจัยในหัวข้อ “วิศวกรรมการเร่งปฏิกิริยาเชิงคำนวณเพื่อการคัดกรองตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์และสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยใหม่ในภาคการศึกษาขั้นสูงและอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี มอบโล่รางวัลแก่ผู้ที่ได้รับรางวัล ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเทพ เขียวหอม หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี และศาสตราจารย์ ดร.ปิยะสาร ประเสริฐธรรม อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงความยินดี
ผลงานวิจัยในหัวข้อ “วิศวกรรมการเร่งปฏิกิริยาเชิงคำนวณเพื่อการคัดกรองตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์และสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยใหม่ในภาคการศึกษาขั้นสูงและอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก” มีจุดมุ่งหมายหลักในการทำความเข้าใจปรากฎการณ์การเร่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบนตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดวิวิธพันธุ์ (Heterogeneous Catalysts) ซึ่งเป็นชนิดหลักในภาคอุตสาหกรรม ให้มีความว่องไว มีเสถียรภาพและการเลือกเกิดจำเพาะที่สูงขึ้น โดยสร้างฐานข้อมูลสาธารณะของตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถใช้ต่อยอดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งความรู้นี้จะช่วยลดช่องว่างในการวิจัยที่เกิดจากความไม่พร้อมของเครื่องมือทำวิจัยในต่างมหาวิทยาลัย รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ได้ริเริ่มโครงการวิจัยได้โดยไม่ต้องลงทุนเป็นจำนวนมาก

พิธีเปิดโครงการพัฒนาทักษะการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 33 (International Design Contest: IDC RoBoCon 2023)

พิธีเปิดโครงการพัฒนาทักษะการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 33 (International Design Contest: IDC RoBoCon 2023)

 

 

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) จัดพิธีเปิดโครงการพัฒนาทักษะการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ครั้งที่ 33 (International Design Contest: IDC RoBoCon 2023) ซึ่งเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาระดับนานาชาติ แข่งขันต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 โดยเริ่มต้นเป็นความร่วมมือระหว่าง Tokyo Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น และ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางด้านการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ให้กับนิสิตและนักศึกษาที่สนใจ โดยที่ผ่านมาได้จัดการแข่งขันมาแล้วทั้งหมด 32 ครั้ง โดยหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนเจ้าภาพตามประเทศที่ร่วมเข้าสมาชิก

ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรัฐ ขวัญเมือง ผู้ช่วยคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ Prof. Masaki Yamakita, Tokyo Institute of Technology, Japan พร้อมด้วยคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ร่วมพิธี

โดยในปีนี้ ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน IDC RoBoCon 2023 ซึ่งจัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ระหว่างวันที่ 7-19 สิงหาคม 2566 ณ อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งกิจกรรมจัดในรูปแบบไฮบริด มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันมากกว่า 80 คน ทั้งในรูปแบบ Onsite & Online จาก 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เม็กซิโก สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไทย

คณะวิศวฯ จุฬาฯ ขอเป็นกำลังใจให้นิสิตนักศึกษาตัวแทนประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ด้วย

 

รับชมพิธีเปิด IDC RoBoCon 2023 ได้ที่ Facebook : RDCThailand

https://fb.watch/mhw1BiYLcI/

 

ยินดีต้อนรับนิสิตใหม่ INTANIA 107 เข้าสู่รั้วปราสาทแดง

ยินดีต้อนรับนิสิตใหม่ INTANIA 107 เข้าสู่รั้วปราสาทแดง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี และ ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
รับชมได้ที่ https://youtu.be/xmgIgD7ZlS4

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมกับโปรตีนไหมไทย เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยาของการรักษา โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม การผลิตหลอดเลือดเทียม เส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม การพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติ การทำเปลือกตาเทียม ทำแผ่นปิดแผลนำส่งยา การทำผิวหนังเทียม และกระดูกเทียม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีวิศวกรรมกับโปรตีนไหมไทย เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและระบบนำส่งยาของการรักษา โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม การผลิตหลอดเลือดเทียม เส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม การพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติ การทำเปลือกตาเทียม ทำแผ่นปิดแผลนำส่งยา การทำผิวหนังเทียม และกระดูกเทียม

 

 

ความร่วมมือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมหม่อนไหม เป็นโครงการที่ได้ร่วมมือกันมา 17 ปี และที่ผ่านมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ โคราช ที่สนับสนุนด้านองค์ความรู้ มาโดยตลอด ทำให้สามารถผลิตผลงานวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้ไหมไทยในงานทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก จากผลงานวิจัยเหล่านี้ วันนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำมาต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อให้เกิดการนำงานวิจัย จากหิ้งมาสู่ห้าง โดยมีบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัท spinoff ที่บริษัท CU Enterprise และบริษัท CU Engineering Enterprise ร่วมถือหุ้น มาสานต่อการนำไหมไทยออกสู่ตลาดและการประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์ โดยบริษัท เอนจินไลฟ์ ดำเนินโครงการตั้งแต่ต้นน้ำ คือ กระบวนการปลูกหม่อนอินทรีย์ เพื่อให้ได้คุณภาพทางการแพทย์ และได้รับการรับรองมาตรฐาน สร้างโรงเรือนเลี้ยงหนอนไหมและผลิตรังไหมอินทรีย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมหม่อนไหมเป็นที่แรกของประเทศไทย ที่เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้รับความร่วมมือจากกรมหม่อนไหมในการร่วมพัฒนาแปลงหม่อนอินทรีย์ รวมถึงกระบวนการผลิตรังไหมสาหรับการใช้งานทางการแพทย์ ที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี โครงการกลางน้ำ คือ การสร้างโรงงานสกัดโปรตีนจากรังไหมตามมาตรฐาน ISO13485 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และการทดสอบความปลอดภัยตามมาตรฐาน ISO10993 และโครงการปลายน้ำ คือ การผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีความร่วมมือกับภาคเอกชน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ทุกส่วนของรังไหมให้เกิดประโยชน์สูงสุด แบบครบวงจร รวมไปถึงการพัฒนาอาหารฟังก์ชั่นจากดักแด้หนอนไหม ซึ่งเป็นอาหารที่ทาจากแมลงที่กำลังเป็นที่นิยมเพราะให้สารอาหารโปรตีนสูง

 

 

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า “ถือเป็นความภูมิใจและความสำเร็จที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ทำการวิจัยค้นคว้า เป็นผลสัมฤทธิ์ที่เป็นที่ประจักษ์ สามารถนำงานวิจัยมาพัฒนาเพื่อการสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกร ได้มีความรู้ ความสามารถ และยกระดับมาตรฐานในอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงหม่อนไหมได้อย่างดียิ่ง ทั้งยังเป็นการสร้างนวัตกรรมให้กับทางการแพทย์ ให้มีศักยภาพในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยงานวิจัยที่เป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ”

 

นายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม ได้กล่าวว่า “เป็นการนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย มาสู่ชาวเกษตรกรเลี้ยงหม่อนไหม อย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืน สร้างคุณค่าให้กับประเทศ กรมหม่อนไหม มีงานวิจัยอย่างต่อเนื่องในการแก้ปัญหาให้กับชุมชน และเกษตรกร และนี่เป็นอีกหนึ่งโครงการที่กรมหม่อนไหมได้รับความร่วมมือจากสถาบันชั้นนำอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการยกระดับอาชีพเกษตรกร และเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าให้อาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมได้รับประโยชน์ และมีองค์ความรู้เพิ่มเติมจากการที่จะบ่มเพาะเลี้ยงตัวไหมให้มีคุณภาพเพื่อใช้งานทางการแพทย์ และนอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมและต่อยอดงานทางด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมของต้นหม่อนที่มีอยู่กว่า 200 พันธุ์ เป็นการขยายผลและต่อยอดงานด้านภูมิปัญญาด้านหม่อนไหม งานด้านวิชาการ และ เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะให้การตลาดนำการผลิต

 

 

งานวิจัยเรื่องไหมไทยสำหรับการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์นี้ ริเริ่มโดย ศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ดำรงศักดิ์กุล และ รองศาสตราจารย์ ดร.โศรดา กนกพานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเห็นความสำคัญของไหมไทย ที่เป็นวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญ และมีสมบัติที่ดีเหมาะสมสำหรับการนำมาใช้ทางการแพทย์ จึงได้ดำเนินงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้ บริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้มา และมีพันธกิจร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนำ “ไหมไทย”สู่การเป็นวัตถุดิบทางการแพทย์ พัฒนาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่นำไป ใช้งานได้จริง และที่สำคัญคือการช่วยยกระดับเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ให้สามารถเลี้ยงไหมที่มีมูลค่าสูงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

ความร่วมมือในโครงการ “ไหมไทย” จากอุตสาหกรรมสิ่งทอสู่นวัตกรรมเพื่อการแพทย์นี้ ดำเนินการโดย บริษัท เอนจินไลฟ์ จากัด (EngineLife) ซึ่งเป็นบริษัท ที่อยู่ภายใต้การบ่มเพาะของ CU Engineering Enterprise ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจาก CU Innovation Hub ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 คอนกรีตมวลเบา ประเภทเบาที่สุด จากโครงการแข่งขันคอนกรีตมวลเบาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 16 (16th Structural Lightweight Concrete Competition)

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวฉัตนภัส แสงรัตนรัฐ นายกฤตนัน อภิศักดิ์ศิรกุล และนายปัณณทัต พันธ์แดง นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และนางสาวจณิสตา สุนทรทวีแสง นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 คอนกรีตมวลเบา ประเภทเบาที่สุด จากโครงการแข่งขันคอนกรีตมวลเบาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 16 (16th Structural Lightweight Concrete Competition) ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร.วิทิต ปานสุข รองศาสตราจารย์ ดร.พิชชา จองวิวัฒสกุลและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชยุตม์ งามโขนง อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และนายอดิศร ชวนปี เจ้าหน้าที่ผู้ช่วย นำทีมเข้าร่วมแข่งขัน เมื่อวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

คณะวิศวฯ ขอแสดงความยินดีกับ ผศ. ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโลหการ ในฐานะนักวิจัยผู้คิดค้นนวัตกรรม และคุณพีระนุช โล่ห์วงศ์วัฒน บริษัท เมติคูลี่ จำกัด ในฐานะบริษัทที่นำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบสูง ผ่านผลงาน “แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล สําหรับผู้ป่วยกะโหลกศีรษะยุบ” ที่ได้รับมอบประกาศเชิดชูเกียรติ “งานวิจัยและนวัตกรรมตัวอย่างที่สร้างผลกระทบสูง: Success Case for Research Utilization with High Impact”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชษฐา พันธ์เครือบุตร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวฯ จุฬาฯ ในฐานะนักวิจัยผู้คิดค้นนวัตกรรม พร้อมด้วย คุณพีระนุช โล่ห์วงศ์วัฒน บริษัท เมติคูลี่ จำกัด ในฐานะบริษัทที่นำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบสูง ผ่านผลงาน “แผ่นปิดกะโหลกเทียมไทเทเนียมเฉพาะบุคคล สําหรับผู้ป่วยกะโหลกศีรษะยุบ” ที่ได้รับมอบประกาศเชิดชูเกียรติ “งานวิจัยและนวัตกรรมตัวอย่างที่สร้างผลกระทบสูง: Success Case for Research Utilization with High Impact” เพื่อยกย่อง และสร้างความตระหนักในคุณค่าของผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นต้นแบบของผลงานที่สร้างผลกระทบสูง ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

ตามที่ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัย และองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งจากภาครัฐและเอกชน กําหนดจัดงาน “มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจําปี 2566 (TRIUP FAIR 2023)” ขึ้นภายใต้แนวคิด “Journey to Impact : เส้นทางจากงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ” ที่มุ่งเน้น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ เกษตรและอาหารมูลค่าสูง Net zero emission และอื่น ๆ ระหว่างวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2566 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

 

 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในระบบนิเวศทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่จะร่วมกันขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาสําคัญของประเทศสู่การสร้างผลกระทบจากฐานวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงเป็นเวทีส่งเสริมการเชื่อมโยง/จับคู่และต่อยอดธุรกิจ (Business matching) พร้อมโอกาสในการขยายผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์จากกลไกการสนับสนุนของหน่วยงานสําคัญมากกว่า 50 หน่วยงาน ให้เจ้าของผลงานหรือผู้ที่มีผลิตภัณฑ์บริการนวัตกรรมที่สามารถช่วยแก้ปัญหาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงผลงานให้กับภาคเอกชนและผู้เข้าร่วมงานที่สนใจ และเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อน พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ให้บรรลุเจตนารมณ์

 

 

 

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะวิศวฯ ที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันกิจกรรม STECON Construction Innovation Challenge 2023 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันกิจกรรม STECON Construction Innovation Challenge 2023 จัดโดย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ ผู้ช่วยคณบดี เป็นผู้แทนคณบดีคณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกล่าวเปิดงาน และ รองศาสตราจารย์ ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมเป็นคณะกรรมการฯ มีนิสิตที่ได้รับรางวัล ดังนี้
รางวัลที่ 2 ทีม Gherkins Con
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา
– นายธนวัฒน์ ชูชาติวรรณกุล
– นายธนัท กมลศิริ
– นายเสฏฐวุฒิ รัตนอุดม
– นายชญานนท์ พรเจริญ
– นายเจตณัฐ ประภพรัตนกุล
– นายภูริเดช ศิลป์ไพบูลย์พานิช
– นางสาวอรวรา ภวลักษณาวัติ
– นายธนิน เศวตกิติธรรม
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์ และรองศาสตราจารย์ ดร. วิทิต ปานสุข อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธาเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
รางวัลที่ 3 ทีมห่อหมก
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
– นางสาวชมพูนุท เลิศอานันท์ภร
– นางสาวศรีรัตน์ โชคชัยวรดิลก
– นางสาวชนิสา กระแสสินธุ์
– นายสาวธัชพล เอื้อวิบูลย์ทรัพย์
– นายบุลเสฏฐ์ ชัยนนทรัตน์
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
– นายวิศนา อัศวรักษ์
โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.มนัสกร ราชากรกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
รางวัลชมเชย ทีม CONCRETE+
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
– นางสาวพิมพ์ลักษณ์ชญา วาทีรักษ์
– นางสาวน.ส.วรัชยา จตุรประเสริฐ
นิสิตภาควิชาวิศวกรรมโยธา
– นางสาวพิมพ์ลภัส อุษาโชคเจริญ
– นายพิชญะ ทองกู้เกียรติกูล
โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุเชษฐ์ ลิขิตเลอสรวง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา และ รองศาสตราจารย์ ดร.ดาว สุวรรณแสง จั่นเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
Construction Innovation Challenge เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาใช้ความรู้ด้านวิศวกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ค้นหานวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดผลกระทบต่อสังคม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยเป้าหมายที่ 4 ในการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 9 ว่าด้วย “การส่งเสริมนวัตกรรม” อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาการก่อสร้างต่อไป
ขอขอบคุณรูปจาก
Sino-Thai Engineering and Construction Public Company Limited

คณะวิศวกรรมศาสตร์จัดงานปฐมนิเทศและพบอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตใหม่ ปีการศึกษา 2566 ระดับปริญญาตรี (INTANIA 107) เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม 117 ห้อง 315, 415 ตึก 3 และห้องประชุมตึก 4 ชั้น 2

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานปฐมนิเทศและพบอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตใหม่ ปีการศึกษา 2566 ระดับปริญญาตรี (INTANIA 107) ณ ห้องประชุม 117 ห้อง 315, 415 ตึก 3 และห้องประชุมตึก 4 ชั้น 2 โดยกิจกรรมในช่วงเช้าได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี กล่าวเปิดการปฐมนิเทศและให้โอวาทแก่นิสิตใหม่ คุณศักดิ์ชัย ยอดวานิช นายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะกรรมการสมาคมฯ ร่วมกล่าวต้อนรับนิสิตใหม่ จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.เกษม ชูจารุกุล รองคณบดีฝ่ายบริหาร ได้มาแนะนำอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในคณะฯ ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ชรินพาณิชกุล รองคณบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวถึงหลักสูตร การลงทะเบียนเรียน การเรียนการสอน และการประเมินผล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ บาลมงคล ผู้ช่วยคณบดีและประธานกรรมการสอบ กล่าวถึงข้อบังคับ จุฬาฯ ว่าด้วย การศึกษาชั้นปริญญาตรี และระเบียบการสอบของนิสิต รองศาสตราจารย์ ดร.โปรดปราน บุณยพุกกณะ Chief Learning Innovation officer ได้แนะนำ My CourseVille และคอร์สออนไลน์สำหรับนิสิตจุฬาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา ได้กล่าวถึงโอกาสศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้วยทุนอานันทมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต กล่าวถึงสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับกิจการนิสิต คุณกุลปริยา ศิริพานิช และคุณคีตา มากศิริ จาก Chula Student Wellness มาบรรยายในเรื่อง เสริมภูมิต้านทานของใจก่อนเปิดเทอม ปิดท้ายด้วย กิจกรรมแนะนำคณะกรรมการนิสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์

จากนั้นในช่วงบ่าย นิสิตใหม่ได้พบปะทำความรู้จักกับอาจารย์ที่ปรึกษา และลงทะเบียนเรียนแบบออนไลน์ โดยมีนิสิตรุ่นพี่ให้การแนะนำ

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้

บันทึกการตั้งค่า